สถานการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของโรงพยาบาลเอกชน

ผู้แต่ง

  • รังสิมา ไชยาสุ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาสถานพยาบาล กองสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

แนวทาง PLEASE, การใช้ยาอย่างสมเหตุผล, โรงพยาบาลเอกชน

บทคัดย่อ

การประเมินสถานการณ์การใช้ยาอย่างสมเหตุผลของโรงพยาบาลเอกชนทั่วประเทศยังไม่เคยถูกรายงาน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดำเนินงานด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของโรงพยาบาลเอกชน และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงาน โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564–2567 และใช้สถิติเชิงพรรณนา แบบสอบถามแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1) ข้อมูลทั่วไปของโรงพยาบาล 2) การดำเนินงานด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ตามแนวทางของโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (แนวทาง PLEASE: pharmacy and therapeutic committee, labeling, essential tools, awareness, special populations, ethics in prescription) และ 3) คำถามปลายเปิดเฉพาะปี พ.ศ. 2567 ขอความเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของโรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาลเอกชนให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามเพิ่มขึ้นทุกปีจากร้อยละ 27.8 เป็น 38.1, 39.1 และ 49.3 ตามลำดับ ผลการดำเนินงานด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของโรงพยาบาลเอกชนตามแนวทางของโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (แนวทาง PLEASE) ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคิดเป็นร้อยละ 65.7, 68.8, 71.6 และ 74.2 ตามลำดับ หัวข้อที่โรงพยาบาลสามารถดำเนินการได้มากที่สุด คือ การจัดทำฉลากยา ฉลากยาเสริมและข้อมูลยาสู่ประชาชน (ร้อยละ 83.0-93.7) ทั้งนี้อาจเนื่องจากการจัดทำฉลากยาถูกบังคับด้วยกฎหมายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 ในขณะที่การจัดทำหรือจัดหาเครื่องมือจำเป็นที่ช่วยให้เกิดการสั่งใช้ยาอย่างสมเหตุผล (ร้อยละ 57.9-68.4) และการสร้างความตระหนักรู้ของบุคลากรทางการแพทย์และผู้รับบริการต่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (ร้อยละ 65.1-70.2) เป็นสองหัวข้อที่โรงพยาบาลเอกชนดำเนินงานได้น้อยที่สุด ความร่วมมือและการทำงานเป็นทีมของบุคลากรทางการแพทย์ นโยบาย บทบาทและการสนับสนุนของผู้บริหารโรงพยาบาล เทคโนโลยีที่สนับสนุนงานบริการในโรงพยาบาล ทัศนคติของผู้รับบริการ ตลอดจนนโยบายและการควบคุมกำกับจากหน่วยงานส่วนกลางเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการดำเนินงานด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของโรงพยาบาลเอกชน ผลที่ได้จากงานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของโรงพยาบาลเอกชนทั่วประเทศ เพื่อยกระดับโรงพยาบาลเอกชนให้มีมาตรฐานด้านระบบยา ส่งผลให้ประชาชนผู้รับบริการมีความปลอดภัยจากการใช้ยาและลดค่าใช้จ่ายด้านยาโดยไม่จำเป็น

References

World Health Organization. Promoting rational use of medicines [internet]. No date [cited 2024 Dec 14]. Available from: https://www.who.int/activities/promoting-rational-use-of-medicines.

National Health Commission Office. Cooperation between the government and people to achieve country having RDU [internet]. 2020 [cited 2025 Mar 6]. Available from: https://www.samatcha.org/site/news/b41ce53c-9813-4209-b1d9-845784443da9/detail. (in Thai)

Subcommittee on the Promotion of Rational Use of Medicines. In: Chayakul C, Jongtrakul P, Wananukul W, Punnupurot P, Kanjanarat P, Yotsombat K et al, editors. Rational drug use hospital manual 1. Nonthaburi: The Agricultural Co-Operation Federation of Thailand; 2015. p.3. (in Thai)

Health Administration Division. Office of Permanent Secretary. Ministry of Public Health. In: Chankunapas P, Boonyarit P, Srisupan W, Leungruaengrong P, Prapaso N, editors. Service plan: rational drug use 1. Nonthaburi: Public Sector Development Group, Health Administration Division, Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health; 2016. p. 1. (in Thai)

National Drug Policy Division, Food and Drug Administration, Ministry of Public Health. Situation of rational drug use, problems, and related factors [internet]. 2016 [cited 2024 Dec 14]. Available from: https://ndi.fda.moph.go.th/uploads/policy_file/20170801152053.pdf. (in Thai)

Thammatacharee N, Tomacha N, Pannarunothai S. Advocacy on rational drug use policy in Thailand. Editorial. Journal of Health Systems Research 2022;16(3):281-8. (in Thai)

Angkoonsit D. Evaluation of rational drug use practice for private hospitals in Samut Sakhon Province. Journal of Health Consumer Protection 2023;3(2):75-88. (in Thai)

Charoenphong S. Perception towards rational drug use among personnel in private hospitals in Lamphun province. Journal of Health Consumer Protection 2024;4(1):26-42. (in Thai)

Sanatorium and Art of Healing Division, Department of Health Service Support, Ministry of Public Health. Guidelines for developing a health service system regarding the rational drug use in private hospitals [internet]. 2022 [cited 2024 Dec 14]. Available from: https://mrd.hss.moph.go.th/mrd1_hss/wp-content/uploads/2025/01/Guidelines-RDU-Private-Hospitals-Ver.2-010665.pdf. (in Thai)

Sanatorium and Art of Healing Division, Department of Health Service Support, Ministry of Public Health. Self-assessment form on rational drug use for overnight patient admission hospitals (general hospitals, specialized hospitals and hospitals for specific types of patients) [internet]. 2022 [cited 2024 Dec 14]. Available from: https://mrd.hss.moph.go.th/mrd1_hss/wp-content/uploads/2025/01/Self-Assessment-RDU-medical-Hospitals-Ver.2-010665.pdf. (in Thai)

Pumtong S, Duangchan P, Anuwong K, Sumpradit N. Lessons learnt from scaling up to sustainability of Antibiotics Smart Use (ASU). Journal of Health Systems Research 2017;11(4):500-15. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-06-2025

How to Cite

1.
ไชยาสุ ร. สถานการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของโรงพยาบาลเอกชน. J Health Syst Res [อินเทอร์เน็ต]. 26 มิถุนายน 2025 [อ้างถึง 4 กรกฎาคม 2025];19(2):97-116. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/j_hsr/article/view/2797