การสำรวจความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความก้าวหน้าในวิชาชีพของนักกายภาพบำบัดในสถานพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย
คำสำคัญ:
เส้นทางความก้าวหน้าทางวิชาชีพ, ข้าราชการ, กระทรวงสาธารณสุข, การพัฒนาวิชาชีพบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างตำแหน่งและเส้นทางความก้าวหน้าในวิชาชีพของนักกายภาพบำบัดในสถานพยาบาลภาครัฐ กระทรวงสาธารณสุข ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับระดับความรู้ความเข้าใจ และสำรวจอุปสรรคต่อความก้าวหน้าในวิชาชีพ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างนักกายภาพบำบัด 534 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาคและขนาดโรงพยาบาล ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ความเข้าใจด้านโครงสร้างตำแหน่งและเส้นทางความก้าวหน้ามีคะแนนเฉลี่ย 3.12 ± 0.78 (คะแนนเต็ม 5 คะแนน) และด้านการจัดทำผลงานวิชาการมีคะแนนเฉลี่ย 2.83 ± 0.84 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลทุกด้านมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำมากกับระดับความรู้ความเข้าใจ โดยพบความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญ ทางสถิติระหว่างประสบการณ์การทำงานกับความรู้ความเข้าใจ ด้านคุณสมบัติเฉพาะและเส้นทางความก้าวหน้า (rs = -0.0991, p < 0.05) และระหว่างตำแหน่งงานกับความรู้ความเข้าใจด้านการเขียนผลงานวิชาการ (rs = 0.0867, p < 0.05) อุปสรรค สำคัญที่พบ ได้แก่ โครงสร้างและระบบการบริหารงาน ภาระงานและการจัดการเวลา และความรู้และทักษะในการทำผลงาน วิชาการ ผลการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาระบบสนับสนุนที่เข้มแข็ง การปรับสมดุลภาระงาน และการเสริมสร้างทักษะด้านวิชาการเพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าในวิชาชีพกายภาพบำบัดอย่างยั่งยืน
References
Ministry of Public Health. Strategic plan for health workforce 2020-2024. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2020. (in Thai)
Brekelmans G, Maassen S, Poell RF, Wijk K. Professional development in healthcare: a systematic review. Nurse Educ Today 2019;85:104258.
Office of the Civil Service Commission. Criteria and methods for evaluating individuals to be appointed to academic po sitions. Nonthaburi: Office of the Civil Service Commission; 2021. (in Thai)
Maslow AH. Motivation and personality. 3rd ed. New York: Harper & Row; 1987.
Halcomb E, Smyth E, McInnes S. Job satisfaction and career intentions of registered nurses in primary health care: an integrative review. BMC Fam Pract 2018;19(1):136.
Yamane T. Statistics: an introductory analysis. 2nd ed. New York: Harper & Row; 1967.
Division of Strategy and Planning, Office of the Permanent Secretary. Annual report on public health personnel 2023. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2023. (in Thai)
Dessler G. Human resource management. 16th ed. London: Pearson; 2020.
Bloom BS, Engelhart MD, Furst EJ, Hill WH, Krathwohl DR. Taxonomy of educational objectives. New York: David McKay; 1956.
Anderson LW, Krathwohl DR. A taxonomy for learning, teaching, and assessing. New York: Longman; 2001.
Best JW. Research in education. 3rd ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall; 1977.
Hinkle DE, William W, Stephen GJ. Applied statistics for the behavioral sciences. 4th ed. Boston: Houghton Mifflin; 1998.
Brekelmans G, Poell RF, van Wijk K. Factors influencing continuing professional development: a systematic review. Eur J Train Dev. 2018;42(7/8):400-16.
Thompson RJ, Martinez D. Career development in healthcare: a mixed-methods study. J Healthc Manag 2023;68(2):122-34.
Anderson K, Sullivan B. Barriers to professional advancement in healthcare settings: a qualitative study. Health Serv Manage Res 2023;36(1):45-52.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิจัยระบบสาธารณสุขอยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น