การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคที่เกิดจากฝุ่นละออง PM2.5 ในจังหวัดนครพนม ประเทศไทย: การศึกษานำร่อง
คำสำคัญ:
ฝุ่นละออง PM2.5, รหัสจำแนกโรคระหว่างประเทศ, ระบบเฝ้าระวัง, การประเมิน, จังหวัดนครพนมบทคัดย่อ
ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหามลพิษทางอากาศจากฝุ่นละออง PM2.5 (particulate matter ขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมโครเมตร) ที่เกินมาตรฐานทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดนครพนมซึ่งอยู่ในเขตสุขภาพที่ 8 นั้นได้รับผลกระทบอย่างมาก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระบบเฝ้าระวัง PM2.5 ในจังหวัดนครพนมทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เพื่อพัฒนา นโยบายและแนวทางการดำเนินงาน และเป็นกรณีศึกษาสำหรับเขตสุขภาพที่ 8 การศึกษานี้ ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน โดยสัมภาษณ์เชิงลึกกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้เกี่ยวข้อง 11 ราย และทบทวนเวชระเบียนของผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรค ที่เกี่ยวข้องกับ PM2.5 จำนวน 508 ฉบับ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 31 มีนาคม 2566 ที่โรงพยาบาลนครพนม ผลการศึกษา ในเชิงคุณภาพ พบว่า ระบบเฝ้าระวังได้รับการยอมรับสูง เนื่องจากความกังวลของสาธารณชนเกี่ยวกับมลพิษ ทางอากาศ และระบบมีความง่ายและมีความยืดหยุ่นที่เหมาะสม ผลการศึกษาในเชิงปริมาณ พบว่า จากเวชระเบียนผู้ป่วย 485 ราย ที่เข้าเกณฑ์รหัสการจำแนกโรคระหว่างประเทศ ฉบับที่ 10 (International Classification of Disease tenth revision: ICD-10) มี 442 ราย ตรงตามนิยามการรายงาน และ 355 ราย ตรงตามนิยามโรค ระบบมีความครอบคลุมสูง (ร้อยละ 90.7) แต่มีค่าพยากรณ์บวกปานกลาง (ร้อยละ 72.9) เนื่องจากผู้ป่วยรายงานโรคที่เกิดจากการสัมผัส PM2.5 มาด้วย อาการอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับ PM2.5 แต่ถูกรวบรวมเข้ามาจากการลงการวินิจฉัยโรคร่วมหรือการวินิจฉัยอื่น นอกจากนี้ ยังไม่ พบความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างระดับ PM2.5 กับจำนวนผู้ป่วย เนื่องจากเกณฑ์การวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวข้องกับ PM2.5 ไม่ชัดเจน ส่งผลกระทบต่อการวิเคราะห์และความถูกต้องของข้อมูล สรุป ระบบเฝ้าระวังโรคจากการสัมผัส PM2.5 ในจังหวัดนครพนม มีสถานะอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ด้วยความครอบคลุมสูงและความถูกต้องของข้อมูล อย่างไรก็ตาม ควรปรับปรุงเกณฑ์การ วินิจฉัยโรคที่เกี่ยวข้องกับ PM2.5 และควรพัฒนาระบบการลงรหัสโรค Z58.1 โดยใช้ machine learning การปรับปรุงและ การพัฒนาเหล่านี้จะสามารถเพิ่มศักยภาพของระบบและนำไปสู่ผลลัพธ์ด้านสาธารณสุขที่ดีขึ้นได้
References
Ministry of Public Health. Manual for medical and public health operations in the case of particulate matter not exceeding 2.5 microns (PM2.5) 2023 [internet]. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2023 [cited 2024 Oct 17]. Available from: https://multimedia.anamai.moph.go.th/associates/ebook/. (in Thai)
Office of the Inspector General, Office of the Permanent Secretary, Prime Minister’s Office. Information and guidelines for monitoring the resolution of public distress caused by natural disasters by the Inspector General, Office of the Prime Minister, Fiscal Year 2024 [internet]. Bangkok: Prime Minister’s Office; 2024 [cited 2024 Oct 17]. Available from: https://shorturl-ddc.moph.go.th/RwKZM. (in Thai)
Office of the Secretariat of the Cabinet. Announcement of the National Environment Board on the determination of the standard for particulate matter not exceeding 2.5 microns in the general atmosphere [internet]. The Government Gazzette Volume 139, Special Section 163 Ngor. (Jul 8, 2022) [cited 2024 Oct 17]. Available from: https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/163/T_0021.PDF. (in Thai)
Muangjaiphet P, Phonsingh P. Descriptive data analysis of health impact surveillance from 5 dimensions of air pollution in the case of particulate matter not exceeding 2.5 microns (PM2.5) in Health Region 8 in 2022. Academic Journal of Disease Prevention and Control Office 8, Udon Thani province 2022;1(1):28-43. (in Thai)
Nakhon Phanom Provincial Public Health Office. Nakhon Phanom GIS Data: mid-year 2024 demographic data [internet]. Nakhon Phanom: Ministry of Public Health; 2024 [cited 2024 Oct 17]. Available from: https://npm.moph.go.th/giscenter/ pop.php. (in Thai)
Ingwiyah T, Phraekuntham H, Chinsri J. Environmental diseases: diseases or important symptoms caused by contact with dust particles of no more than 2.5 microns. In: Buranatriwet S, editor. Guidelines for surveillance and investigation of occupational diseases and environmental diseases under the Occupational and Environmental Disease Control Act B.E. 2562. 1st ed. Bangkok: Aksorn Graphic and Design Publishing; 2566. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิจัยระบบสาธารณสุขอยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น