ผลลัพธ์ของการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคจิตเภทโดยทีมสหสาขาวิชาชีพเครือข่ายบริการสุขภาพ อ.ดอนมดแดง จ.อุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • อาริยา ตั้งมโนกุล นิสิตปริญญาโท หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเภสัชกรรมปฐมภูมิ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุรศักดิ์ ไชยสงค์ หน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การเยี่ยมบ้าน, โรคจิตเภท, ทีมสหสาขาวิชาชีพ, บริการปฐมภูมิ

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและเหตุผล: ปัญหาสำคัญในการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทคือผู้ป่วยไม่มารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ขาดยาจนเกิดอาการจิตเภทกำเริบซ้ำ ทีมสหสาขาวิชาชีพในอำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี จึงพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทแบบเชิงรุกอย่างเป็นระบบ โดยการออกเยี่ยมบ้านเพื่อติดตามการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคจิตเภทโดยทีมสหสาขาวิชาชีพในอำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี ระเบียบวิธีศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial) ในผู้ป่วยโรคจิตเภท 60 คน (กลุ่มศึกษา 30 คน กลุ่มควบคุม 30 คน) ทั้งสองกลุ่มได้รับการดูแลที่โรงพยาบาลตามปกติ กลุ่มศึกษาได้รับการเยี่ยมบ้านโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ จำนวน 3 ครั้ง และการให้คำปรึกษาในการสร้างแรงจูงใจแบบสั้นโดยเภสัชกรในขณะเยี่ยมบ้าน ดำเนินการวิจัยเป็นเวลา 6 เดือน ในช่วงเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2562 วัดผลลัพธ์ทางคลินิก พิจารณาคุณภาพชีวิตและผลของการแก้ไขปัญหาและความพึงพอใจต่อการเยี่ยมบ้าน ผลการศึกษา: ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (กลุ่มศึกษาร้อยละ 60 vs. กลุ่มควบคุมร้อยละ 63) ส่วนใหญ่อายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป (กลุ่มศึกษาร้อยละ 93 vs. กลุ่มควบคุมร้อยละ 67) มีสถานภาพโสด (กลุ่มศึกษาร้อยละ 47 vs. กลุ่มควบคุมร้อยละ 63) จบการศึกษาระดับประถมศึกษา (กลุ่มศึกษาร้อยละ 67 vs. กลุ่มควบคุมร้อยละ 53) ส่วนใหญ่มีการประกอบอาชีพ (กลุ่มศึกษาร้อยละ 57 vs. กลุ่มควบคุมร้อยละ 57) ส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่กับครอบครัว (กลุ่มศึกษาร้อยละ 77 vs. กลุ่มควบคุมร้อยละ 90) ส่วนใหญ่เป็นโรคจิตเภทมากกว่า 5 ปี (กลุ่มศึกษาร้อยละ 73 vs. กลุ่มควบคุมร้อยละ 53) ในกลุ่มศึกษาที่ได้รับการสร้างแรงจูงใจแบบสั้น พบว่า อัตราการมาพบแพทย์ตามนัดเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 87 ก่อนเข้าการศึกษา เป็นร้อยละ 100 ในเดือนที่ 1 และ 2 (p = 0.043) และอัตราการรับประทานยาตามแพทย์เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 87 ก่อนเข้าการศึกษา เป็นร้อยละ 100 ในเดือนที่ 1 และ 2 (p = 0.043) ผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อการเยี่ยมบ้านในระดับมาก (4.37 ± 0.49) เมื่อติดตามผลลัพธ์ในเดือนที่ 6 พบว่า กลุ่มศึกษามีการเกิดอาการจิตเภทกำเริบร้อยละ 0 vs. กลุ่มควบคุมมีการเกิดอาการจิตเภทกำเริบร้อยละ 17 (p = 0.020) กลุ่มศึกษามีการนอนโรงพยาบาลจากอาการจิตเภทกำเริบร้อยละ 0 vs. กลุ่มควบคุมมีการนอนโรงพยาบาลจากอาการจิตเภทกำเริบร้อยละ 13 (p = 0.038) และกลุ่มศึกษามีค่าเฉลี่ยจำนวนวันที่มานอนโรงพยาบาลเท่ากับ 0 วัน vs. กลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยจำนวนวันที่มานอนโรงพยาบาลเท่ากับ 0.60 ± 1.85 วัน (p = 0.040) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่มีคุณภาพชีวิตที่เพิ่มขึ้นไม่แตกต่างกัน (กลุ่มศึกษา 11.00 ± 10.86 คะแนน vs. กลุ่มควบคุม 9.50 ± 9.13 คะแนน, p = 0.7) สรุปผลการศึกษา: การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคจิตเภทโดยทีมสหสาขาวิชาชีพมีประสิทธิผล ดังนั้นหน่วยบริการสุขภาพควรสนับสนุนการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคจิตเภทโดยทีมสหสาขาวิชาชีพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดูแลผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น

References

Howes OD, Murray RM. Schizophrenia: an integrated sociodevelopmental-cognitive model. Lancet 2014;383(9929):1677-87.

Mathichon online. Department of Mental Health urges society to open minded people with schizophrenia [Internet]. Bangkok: 2017 [cited 2018 Apr 18]. Available from: https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_566377. (in Thai)

World Health Organization. The world health report 2001: mental health new understanding, new hope. Geneva: Word Health Organization; 2001.

Wattanasiri O, Sripusito S. The development of continuity care in schizophrenia patient by interdisciplinary team and care giver network of Kamphaengphet Hospital. J Nursing Division 2013;40(1):67-83. (in Thai)

Chaiyalap S, Viriyakosol A. Home visit to patients with mental illness in the community after returning to society. Kuakarun J Nursing 2014;21:139-54. (in Thai)

National Health Security Office. Fund management manual national health security 2018. 1st ed. Bangkok: National Health Security Office; 2017. (in Thai)

Siritheptawee M, Wattanagaroon P, Suravarangkul J, Chumsuk K, Dudsedeeprasert J, Witoonchart P. Cost-effectiveness analysis of continuity of care system in severe mental illness high risk to violence patients at primary care setting vs routine service system. Ramathibodi Medical Journal 2018;41(2):25-35. (in Thai)

Chang LR, Lin YH, Chang HC, Chen YZ, Huang WL, Liu CM, et al. Psychopathology, rehospitalization and quality of life among patients with schizophrenia under home care case management in Taiwan. J Formos Med Assoc 2013;112:208-15.

Muijen M, Marks I, Connolly J, Audini B. Home based care and standard hospital care for patients with severe mental illness: a randomised controlled trial. BMJ 1992;304:749-54.

Meijel B, Kruitwagen C, Gaag M, Kahn R, Grypdonck M. An intervention study to prevent relapse in patients with schizophrenia. J Nurs Scholars 2006;38(1):42-9.

Valenstein M, Kavanagh J, Lee T, Reilly P, Dalack GW, Grabowski J, et al. Using a pharmacy-based intervention to improve antipsychotic adherence among patients with serious mental illness. Schizophr Bull 2011;37(4):727-36.

Tantachanya P, Promduang S, Thadsri W. Effect of brief intervention in patients with schizophrenia in psychiatric ward at Surin Hospital. 1st ed. Surin: Surin Hospital; 2015. (in Thai)

Botha UA, Koen L, Joska JA, Hering LM, Oosthuizen PP. Assessing the efficacy of a modified assertive community-based treatment programme in a developing country. BMC Psychiatry 2010 Sep 15;10:73. doi: 10.1186/1471-244X-10-73.

Lertnarkorn S. A randomized controlled trial of weight control program for management of weight gain associated with atypical antipsychotics based regimen in schizophrenia patients (Master’s thesis). Songkhla: Prince of Songkla University; 2007. (in Thai)

Suriyawong J, Khamwongpin M, Piyatakul N, Phusopha O, Simawong C, Kaewma P, et al. Handbook of self-care for schizophrenia. Chiang Mai: Suan Prung Hospital; 2009. p 3-15. (in Thai)

National Health Security Fund. Handbook of community care for chronic psychiatric patients for primary care workers [Internet]. Bangkok: National Health Security Office; 2015 [cited 2018 Oct 7]. Available from: https://www.nhso.go.th/files/userfiles/file/Download/20160226/240259%20NEW. (in Thai)

Department of Mental Health, Ministry of Public Health. Depression and suicide assessment [Internet]. Nonthaburi: Department of Mental Health; 2018 [cited 2018 Oct 7]. Available from: https://www.dmh.go.th/test/download/view.asp?id=22. (in Thai)

Lertsinudom S. Family profile. In: Lecture on family pharmacy; 2017 Sep 23; Mahasarakham: Mahasarakham University; 2017. p.1-8. (in Thai)

Pattanapha C. EQ-5D-5L health life quality questionnaire [Internet]. Nonthaburi; 2017 [cited 2019 Mar 12]. Available from: https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=416. (in Thai)

Patithad P. Quality inspection of research instruments. In: Training to create young researchers; 2016 Apr 27; Bansomdejchaopraya Rajabhat University. Bangkok; 2016. p.1-55. (in Thai)

Mihanovic M, Petrovic BR, Bogovic A, Ivezic E, Bodor D, Pozgain I. Quality of life of patients with schizophrenia treated in foster home care and in outpatient treatment. Neuropsychiatr Dis Treat 2015;11:585-95.

Hafiz AH, Samy MA, Fahmy AM, Ibrahim SA, Mesailhi M. Psychiatric home care, length of hospital stay and risk of rehospitalization in patients suffering from schizophrenia; a case control study in Al Madinah Al Munawarah Region. J T U Med Sc 2010;5(1):49–52.

Tsai SL, Chen MB, Yin TJ. A comparison of the cost-effectiveness of hospital-based home care with that of a conventional outpatient follow-up for patients with mental illness. J Nursing Research 2005;13(3):165-73.

Hanrinth R. Classification for drug related problems. Thai Journal of Pharmacy Practice 2009;1(1):84-96. (in Thai)

Rachaniyom S, Saramunee K. Family pharmacist’s management of drug related problems for chronic diseases at patient’s in home, Kranuan District Health Network. Thai Journal of Pharmacy Practice 2016;8(1):169-81. (in Thai)

Chayanattapong P. Drug related problems in patients with chronic diseases during home visits by pharmacists in the family care team of Promkiri District Health Network. Thai Journal of Pharmacy Practice 2017;9(1):103-10. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2021

How to Cite

1.
ตั้งมโนกุล อ, ไชยสงค์ ส. ผลลัพธ์ของการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคจิตเภทโดยทีมสหสาขาวิชาชีพเครือข่ายบริการสุขภาพ อ.ดอนมดแดง จ.อุบลราชธานี. J Health Syst Res [อินเทอร์เน็ต]. 30 ธันวาคม 2021 [อ้างถึง 12 กรกฎาคม 2025];15(4):436-55. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/j_hsr/article/view/3280