แนวโน้มการบริหารการเงินของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข: การศึกษาเชิงคุณภาพ
คำสำคัญ:
การบริหารการเงินของโรงพยาบาล, สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, เขตสุขภาพบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสาเหตุและปัจจัยในความสำเร็จ/การขาดทุน การขาดสภาพคล่องของการบริหารการเงินของโรงพยาบาล และ 2) เสนอแนวทางในการบริหารการเงินสำหรับโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารด้านการเงินระดับเขตสุขภาพ และกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 8 ราย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า สาเหตุและปัจจัยความสำเร็จในการบริหารการเงิน ประกอบด้วย 8 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) ในระดับประเทศ มีการกันเงินเพื่อการบริหารจัดการไม่เกินร้อยละ 10 2) การปรับตัว 3) ผู้นำ 4) การจัดหารายได้เพิ่มเพื่อลดรายจ่าย 5) การใช้ระบบสารสนเทศสำหรับข้อมูลทางบัญชี 6) การลดต้นทุนค่าแรงโดยนำระบบสารสนเทศมาใช้ 7) การใช้ระบบจัดซื้อจัดจ้างแบบอิเล็กทรอนิกส์ และ 8) การจัดทำแผนการเงิน สาเหตุและปัจจัยความล้มเหลวในการบริหารการเงิน ประกอบด้วย 10 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอ 2) วิธีการจัดสรรเงินเป็นรายหัว 3) การจัดสรรงบประมาณหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าขาลง 4) การกระจายเงินในระบบบริหารจัดการไม่ดี 5) ศักยภาพของผู้บริหารแต่ละโรงพยาบาล 6) โรงพยาบาลใช้ศักยภาพไม่เต็มที่ 7) ต้นทุนค่าแรง 8) ต้นทุนวัสดุ 9) ระบบการลงข้อมูลทางบัญชีไม่ถูกต้อง และ 10) มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ไม่เป็นไปตามแผนการเงินการคลัง
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับแนวทางการบริหารการเงิน คือ ควรมีการกระจายอำนาจการบริหารการเงินให้เขตสุขภาพและจังหวัดให้มากขึ้น เปลี่ยนวิธีการจัดสรรเงินโดยการแยกเงินเดือนออกจากงบเหมาจ่ายรายหัว การกันเงินเพื่อช่วยโรงพยาบาลที่มีปัญหา การเพิ่มงบประมาณให้เขตสุขภาพ การกันเงินไว้บริหารร่วมโดยใช้บัญชีเสมือน และการเพิ่มการบริหารเงินร่วมกันในเขตสุขภาพ
References
Strategy and Plan Division. Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. Twenty-year national strategic plan for public health. (2017-2036). 1st revision [Internet]. 2018 [cited 2020 Feb 14]. Available from: https://drive.google.com/file/d/1SA0vRvM66zl-PndBZtwLVm1eSPJsxWYF/view. (in Thai)
National Health Security Office. Reforming the public health service system with the National Health Security Fund [Internet]. 2020 [cited 2020 Nov 18]. Available from: https://www.nhso.go.th/storage/downloads/operatingresult/47/F_NHSO_Annual_Report_2020.pdf. (in Thai)
Division of Health Economics and Health Security, Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. Number of hospital losses, fiscal year 2015-2019. 2019. (in Thai)
Burnard P. A method of analyzing interview transcripts in qualitative research. Nurse Education Today 1991 [cited 2020 Feb 20];11(6):461-66. Available from: https://www.science-direct.com/science/article/abs/pii/026069179190009Y.
Lincoln YS. Guba EG. Naturalistic Inquiry [Internet]. California: SAGE Publications; 1985. Chapter 11, Establishing Trustworthiness. [cited 2020 Feb 20]. Available from: https://ethnographyworkshop.files.wordpress.com/2014/11/lincoln-guba-1985-establishing-trustworthiness-naturalistic-inquiry.pdf.
Trirat N, Sriratbal P, Khongmalai O, Witworapong N, Yucha K, Viera T. Project analysis of factors affecting financial status of health sectors in Office of the Permanent Secretary, Institute of Asian Studies, Chulalongkorn University; 2016. (in Thai)
Kanokwongnuwat P. Model of hospital management on breakthrough financial crisis. Journal Prapokklao Hospital Clinical Medical Education Center 2013 [cited 2020 Nov 18];30(2):106-22. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ppkjournal/article/view/68468/55744. (in Thai)
Nuchphong C, Wongkhomthong S, Wongkhomthong J, Sritoommma N. The hospital financial strategy of chief financial officers in community hospitals under the Ministry of Public Health. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal 2017 [cited 2020 Nov 18];9(1):23-33. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/111676/87153. (in Thai)
Sirikitjarak S. Efficiency of financial management of hospitals in Surin. Journal of Health Research and Development Nakhon Ratchasima Public Health Provincial Office 2019 [cited 2020 Feb 20];5(2):18-34. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/247528/168145. (in Thai)
Euswas P. Factors effecting loss performance of government hospitals under the Office Permanent Secretary of the Ministry of Public Health. Thailand Journal of Health Science. 2019 [cited 2020 Feb 20];28(2):356-68. Available from: www.Tci-thaidj.org>index.php>JHS>article>downloads/6434-Article%20Text-8874-1-10-20190430%20(1).pdf. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิจัยระบบสาธารณสุขอยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น