การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคที่เกี่ยวข้องกับการรับสัมผัสฝุ่น PM2.5 : กรณีพื้นที่นำร่องในจังหวัดหนองคาย เขตสุขภาพที่ 8
คำสำคัญ:
การประเมินระบบเฝ้าระวังโรค, โรคที่มีความเกี่ยวข้องกับการรับสัมผัสฝุ่น PM2.5, พื้นที่นำร่อง, จังหวัดหนองคาย, เขตสุขภาพที่ 8บทคัดย่อ
ผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เป็นปัญหาระดับโลก ในประเทศไทยพบว่า จังหวัดหนองคายซึ่งเป็นจังหวัดหนึ่งในเขตสุขภาพที่ 8 มีค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของฝุ่น PM2.5 เกินค่ามาตรฐานไปจนถึงอยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยฝุ่น PM2.5 เกิดจากการเผาในที่โล่ง และหมอกควันข้ามแดน ซึ่งมีผู้ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระบบเฝ้าระวังโรคที่เกี่ยวข้องกับการรับสัมผัสฝุ่น PM2.5 ในจังหวัดหนองคาย ที่เป็นพื้นที่นำร่อง โดยการวิจัยแบบผสมผสาน ดำเนินการในปี 2567 การศึกษาเชิงปริมาณฐานข้อมูลระบบเฝ้าระวัง และการศึกษาเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการในพื้นที่ ทั้งระดับผู้บริหารและระดับผู้ปฏิบัติงาน ทำการศึกษาระหว่างวันที่ 21 กุมภาพันธ์ – 28 มิถุนายน 2567 การศึกษาเชิงปริมาณ สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยและนำมาวิเคราะห์ข้อมูล แล้วนำเสนอด้วยค่าความถี่ และร้อยละ ผลการศึกษา พบว่า ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบเฝ้าระวังโรคฯ ให้ความสำคัญกับระบบเฝ้าระวังโรคฯ โดยมีความเห็นว่า ระบบสามารถรายงานได้ง่าย ปรับเปลี่ยนได้ โดยมีผลต่อการดำเนินงานน้อย มีการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการจัดทำมาตรการ เพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค แต่ยังมีความล่าช้าของการรายงาน และแนวทางการลงรหัสการวินิจฉัยโรคยังมีความไม่ชัดเจน ผลการศึกษาเชิงปริมาณ จากการทบทวนเวชระเบียน จำนวน 345 ราย เข้านิยามการรายงาน จำนวน 181 เวชระเบียน มีค่าความไวร้อยละ 100 ค่าพยากรณ์บวกร้อยละ 53.1 ข้อมูลอายุ เพศ และสัญชาติ มีความครบถ้วนของข้อมูลร้อยละ 100 แต่ข้อมูลรหัสโรค ICD-10 มีความครบถ้วนของข้อมูลร้อยละ 98.8 ข้อมูลอายุ เพศ สัญชาติและข้อมูลรหัสโรค (ICD-10) มีความถูกต้องของข้อมูลร้อยละ 98.0, 92.5, 98.3 และ 94.8 ตามลำดับ และข้อมูลอายุ เพศและวันที่เข้ารับบริการมีความเป็นตัวแทนได้อย่างถูกต้องและครอบคลุม จากการศึกษาครั้งนี้มีข้อสรุปที่สำคัญ คือ การศึกษาเชิงคุณภาพ เป็นลักษณะที่ปรับเปลี่ยนได้ ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่มีความพร้อมในการปรับการทำงาน หากมีการปรับปรุงระบบเฝ้าระวังและการศึกษาเชิงปริมาณ ได้ผลลัพธ์อยู่ในระดับดีในเรื่องความไวของการรายงาน และระดับต่ำในเรื่องค่าพยากรณ์บวก ทั้งนี้ ควรพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคให้เป็นระบบอัตโนมัติ สามารถรายงานข้อมูลได้ทันทีที่มีการวินิจฉัยโรค ส่งข้อมูลจากระบบ HIS ของโรงพยาบาลได้โดยตรง ง่ายต่อผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่และลดความผิดพลาดในการรายงานข้อมูล และผลักดันให้มีการลงรหัสโรคร่วมเพื่อแสดงถึงการรับสัมผัสฝุ่น PM2.5 (Z58.1) สามารถใช้เพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
World Health Organization. WHO global air quality guidelines: particulate matter (PM2.5 and PM10), ozone, nitrogen dioxide, sulfur dioxide and carbon monoxide. 1st ed. Geneva: World Health Organization; 2021 [cited 2024 Oct 13]. 278 p. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9789240034228.
Pollution Control Department. Action plan for driving the national agenda on dust pollution management [internet]. Pollution Control Department, Ministry of Natural Resources and Environment; 2019 [cited 2024 Oct 13]. Available from: https://www.pcd.go.th/strategy/แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ-การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง/. (in Thai)
Division of Occupational and Environmental Diseases. Sripuang N, Anantakulnatee P, editors. Manual for surveillance, prevention, and control of diseases and health threats caused by particulate matter less than 2.5 Microns (PM2.5) [internet]. Nonthaburi: Division of Occupational and Environmental Diseases, Department of Disease Control, Ministry of Public Health; 2021 [cited 2024 Sep 10]. 160 p. Available from: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1202520211213111057.pdf. (in Thai)
Ministry of Public Health. Plan for medical and public health operations: haze and PM2.5 particulate matter. In: Chaitiemwong N, editor. Operational guidelines for medical and public health management of particulate matter less than 2.5 Microns (PM2.5), 2024. Bangkok: Ministry of Public Health; 2024. p. 3–18. (in Thai)
Office of Provincial Commercial Affairs Nongkhai. Overview of Nong Khai [internet]. 2021 [cited 2024 Oct 13]. Available from: https://nongkhai.moc.go.th/th/content/page/index/id/1055. (in Thai)
Pollution Control Department, Thailand. Air4Thai: air quality monitoring [internet]. [cited 2024 Oct 13]. Available from: http://air4thai.pcd.go.th/webV3/#/Home. (in Thai)
ASEAN Secretariat. ASEAN agreement on transboundary haze pollution [internet]. Jakarta: ASEAN Secretariat; 2002 [cited 2024 Dec 3]. Available from: https://asean.org/wp-content/uploads/2021/01/ASEANAgreementonTransboundaryHazePollution-1.pdf.
Ministry of Public Health, Thailand. Health Data Center (HDC): reports and statistics: number of patients (by disease) related to air pollution [internet]. [cited 2024 Oct 13]. Available from: https://hdc.moph.go.th/center/public/standard-report-detail/297c1cb035778f7b49357693e6867e6c. (in Thai)
Soontornmon K, Watcharasint S, Nasa P, Charoenkun S, Chottanapund S. Evaluation of the PM2.5 surveillance system in Nakhon Phanom province, Thailand: a pilot case study. Journal of Health Systems Research 2025 [cited 2025 May 14];19(1):77-93.. Available from: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/j_hsr/article/view/3029. (in Thai)
Somdet Phra Yuparat Hospital Data Center. Standard coding guideline ICD-10-TM 2017 [internet]. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2017 [cited 2025 May 16]. Available from: http://somdetdata.moph.go.th/data_sys/report_/t_cmi/mhelp/data////20181022_161029_0057_Standard%20Coding%20Guideline%202017.pdf. (in Thai)
Pirompak S. The action research for developing occupational and environmental diseases surveillance system in order to support Trat Special Economic Zone (SEZ). Journal of Office of Disease Prevention and Control 10. 2019;17(2):75–86. [cited 2025 Apr 18]. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/odpc10ubon/article/view/249134/169401. (in Thai)
Ministry of Public Health. Health data collection and transmission manual according to the standard data structure. In: Yoheuang D, editor. Standard health data structure for Ministry of Public Health (43 files), version 2.4, 2021. Nonthaburi: Strategy and Planning Division, Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health; 2021. 139 p. (in Thai)
Deeruen S. Evaluation of the silicosis surveillance system in Health Region 5. Journal of Disease Prevention and Control 7 Khon Kaen. 2024 [cited 2025 Apr 18];31(2):57–65. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/266542/184093. (in Thai)
Muangson P. Evaluation of the occupational and environmental disease surveillance system of district, provincial, and regional public health offices under Disease Prevention and Control Office 6, Khon Kaen Province. Khon Kaen: Disease Prevention and Control Office 6, Khon Kaen Province; 2006. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิจัยระบบสาธารณสุขอยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น