การพยาบาลผู้ป่วยลิ่มเลือดอุดกั้นหลอดเลือดแดงปอดเรื้อรังร่วมกับภาวะหัวใจล้มเหลว ตามกรอบทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม: กรณีศึกษา

Main Article Content

วลัญช์รัช โชติตันติไพศาล

บทคัดย่อ

กรณีศึกษาผู้ป่วยชายไทยอายุ 49 ปี มีอาการเหนื่อยง่ายเป็นๆ หายๆ มาหลายปี ระหว่างรับผู้ป่วยไว้ในความดูแล นำกรอบแนวคิดทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็มมาประยุกต์ใช้ในการพยาบาล โดยใช้ทฤษฎีระบบการพยาบาล 3 ทฤษฎีย่อยที่มีความสัมพันธ์กัน ได้แก่ 1) ทฤษฎีการดูแลตนเอง 2) ทฤษฎีความพร่องในการดูแลตนเอง 3) ทฤษฎีระบบการพยาบาล กรณีศึกษานี้ใช้ทฤษฎีความพร่องในการดูแลตนเองของโอเร็ม เป็นกรอบแนวคิด วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้อ่านได้เรียนรู้และเข้าใจถึงการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็ม โดยเฉพาะทฤษฎีความพร่องในการดูแลตนเอง ในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะเรื้อรัง และต้องการการดูแลเฉพาะทางจากพยาบาล เพื่อให้เกิดผลลัพธ์การพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วย  ก่อนจำหน่ายกลับบ้าน
จุดเน้นทางการพยาบาล คือ กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยรายนี้ ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ ได้แก่ 1) การประเมินปัญหาการดูแลตนเองของผู้ป่วยอย่างละเอียดและรอบคอบ 2) การประยุกต์ใช้ทฤษฎีโอเร็ม ในการสร้างแผนการพยาบาลที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้ป่วย 3) การส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วย 4) การดูแลแบบองค์รวม โดยให้ความสำคัญกับปัจจัยทางกาย จิตใจ และสังคมของผู้ป่วย เพื่อการดูแลที่ครอบคลุมและเหมาะสม
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยมีการรับรู้ถึงความพร่องในการดูแลตนเองและจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ จากพยาบาล โดยพบปัญหาหลายด้าน เช่น การรับประทานอาหารและน้ำที่เหมาะสม และการปฏิบัติตามแผนการรักษา เมื่อได้รับการช่วยเหลือจากพยาบาลในการปรับปรุงความพร่องเหล่านี้ ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ดีขึ้น มีความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นหลังจากกลับบ้าน การนำทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็ม         มาประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ช่วยให้พยาบาลสามารถวางแผนการดูแลที่เหมาะสมและมีเป้าหมายชัดเจน ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเข้าใจโรคของตนเอง และสามารถปฏิบัติตามแผนการดูแลได้อย่างถูกต้องเมื่อกลับบ้าน จึงเป็นการพัฒนาทักษะการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในระยะยาว

Article Details

How to Cite
1.
โชติตันติไพศาล ว. การพยาบาลผู้ป่วยลิ่มเลือดอุดกั้นหลอดเลือดแดงปอดเรื้อรังร่วมกับภาวะหัวใจล้มเหลว ตามกรอบทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม: กรณีศึกษา. J Raj Pracha Samasai Institute [อินเทอร์เน็ต]. 27 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 28 เมษายน 2025];8(1):16-28. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/rpsi/article/view/1806
บท
รายงานผู้ป่วย (Case Report)

References

Simonneau G, Montani D, Celermajer DS, Denton CP, Gatzoulis MA, Krowka M, et al. Hemodynamic definitions and updated clinical classification of pulmonary hypertension. Eur Respir J. 2019;53(1)1801913; doi. 10.1183/13993003.01913-2018

Kalyapreuk W. Pulmonary Veno-occlusive Disease. Thai Journal of Tuberculosis Chest Diseases and Critical Care. 2019;38(3):91-9. (in Thai)

Panyawachiraphon N. Chronic thromboembolic pulmonary hypertension. Thai Journal of Tuberculosis Chest Diseases and Critical Care. 2017;36(2):69-78. (in Thai)

Gall H, Hoeper MM, Richter MJ, Cacheris W, Hinzmann B, Mayer E. An epidemiological analysis of the burden of chronic thromboembolic pulmonary hypertension in the USA, Europe and Japan. Eur Respir Rev. 2017;26(143):160121. doi. 10.1183/16000617.0121-2016

Petchrat S, Duangduan S. Pulmonary artery hypertension in congenital heart disease [Internet]. Mueang Khon Kaen. Queen Sirikit Heart Center of the Northeast; 2017 [cited 2024 September 2] 73 p. Available from: https://heart.kku.ac.th/images/PDF/conference/M-PAH.pdf

Klamyusuk P, Pirompanich P. Pulmonary vasculitis mimicking CTEPH. In: Proceedings of the 2022 Annual Meeting "Paradigm Shift of Management in Post COVID Era", The Thoracic Society of Thailand; 2022 Aug 25-27. CIMjournal. 2022. (in Thai)

Bozkurt B, Coats AJ, Tsutsui H, Abdelhamid M, Adamopoulos S, Albert N, et al. Universal definition and classification of heart failure: A report of the Heart Failure Society of America, Heart Failure Association of the European Society of Cardiology, Japanese Heart Failure Society and writing committee of the universal definition of heart failure. J Card Fail. 2021;27(4):387-413.

Niklasson A, Maher J, Patil R, Sillén H, Chen J, Gwaltney C, et al. Living with heart failure: Patient experiences and implications for physical activity and daily living. ESC Heart Failure. 2022;9(2):1206-15.

Lee AA, Aikens JE, Janevic MR, Rosland AM, Piette JD. Functional support and burden among out-of-home supporters of heart failure patients with and without depression. Health Psychol. 2020;39(1):29-36.

Choonharasmith P, Yingchomcharoen T, Kunchorn Na Ayudhya R. Heart Failure Council of Thailand (HFCT) 2019 heart failure guideline: recommendations for diagnosis and management. The Heart Association of Thailand under the Royal Patronage. Samut Prakan: Nextstep Design; 2019. (in Thai)

Riegel B, Moser DK, Buck HG, Dickson VV, Dunbar SB, Lee CS, et al. Self-care for the prevention and management of cardiovascular disease and stroke: a scientific statement for healthcare professionals from the American Heart Association. J Am Heart Assoc. 2017;6(9):e006997.

Orem DE, Taylor SG, Renpenning KM. Nursing: Concepts of practice. 6th ed. Louis: Mosby; 2001.

Dellafiore F, Arrigoni C, Riegel B. Connecting dots for framing health: the self-care process. In: Guide for advanced nursing care of the adult with congenital heart disease. Cham: Springer International Publishing; 2022. [cited 2024 September 2] 255-262 p.

Ghanbari-Afra L, Moradi T. Using Orem’s self-care model to measure the quality of life of patients with heart failure: a systematic review. Qom Univ Med Sci J. 2023;16(11):858-67.

Medical Records Unit and Quality Center, Central Chest Institute of Thailand. Heart failure patient statistics. Nonthaburi: Medical Records Unit; 2023. (in Thai)

Ornan H. Nursing process: theory into practice. 2nd ed. Bangkok: Thanarun Printing; 2022. (in Thai)

Harnyut A. Nursing process: Theory to practice. 2nd ed. Bangkok: Thanoarun Printing; 2022. (in Thai)