รายงานการสอบสวนการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ในสามเณร และพระพี่เลี้ยง ในกิจกรรมบรรพชาภาคฤดูร้อน ณ วัดแห่งหนึ่ง จังหวัดปทุมธานี ตั้งแต่วันที่ 1 - 30 เมษายน 2566

Main Article Content

อภิชน จีนเสวก
กาญจนวรรณ บัวจันทร์

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2566 กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี ได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลปทุมธานีว่า พบผู้ป่วยสามเณรที่เข้าร่วมกิจกรรมบรรพชาสามเณรประมาณ 5,000 รูป จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 - 30 เมษายน 2566 ณ วัดแห่งหนึ่ง มีอาการเข้าข่ายตามนิยามโรคไข้หวัดใหญ่จำนวน 5 ราย และยังพบผู้มีอาการสงสัยโรคไข้หวัดใหญ่อีกหลายราย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี จึงได้ออกสอบสวนโรคและควบคุมป้องกันโรคร่วมกับคณะกรรมการจัดอบรมของวัดแห่งหนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 21 - 25 เมษายน 2566 เป็นกรณีศึกษาเป็นตัวอย่าง เพื่อเป็นการป้องกันควบคุมโรคไม่ให้ระบาดและป้องกันการระบาดในการจัดงานครั้งถัดไป
วิธีการศึกษา: การศึกษาระบาดวิทยาเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนาและสถิติอ้างอิง โดยทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ที่มารับบริการกับโรงพยาบาลสนามของวัดแห่งหนึ่ง และสัมภาษณ์กลุ่มเสี่ยงเพื่อค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมตามนิยามโรคไข้หวัดใหญ่ร่วมกับการศึกษา เพื่อหาความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ โดยศึกษาเชิงวิเคราะห์ด้วย Case-control study แบบ 1 : 2 โดยเปรียบเทียบกิจกรรม 4 กิจกรรมคือ 1. การเข้าไปมีส่วนร่วมทำกิจกรรมภายในไซต์อบรมที่มีการระบาด 2. การเข้าร่วมกิจกรรมในห้องนิทรรศการ 3. การเข้าร่วมชมภาพยนตร์ที่ห้องฉาย 3D 4. การเข้าร่วมพิธีเวียนประทักษิณ (บรรพชา) ร่วมกับศึกษาทางห้องปฏิบัติการและศึกษาทางสิ่งแวดล้อมผลการศึกษา: ระหว่างวันที่ 3 - 30 เมษายน 2566 พบผู้ที่มีอาการเข้าได้ตามนิยามโรคไข้หวัดใหญ่ จำนวน 327 ราย โดยพบสามเณร 308 ราย อัตราป่วย ร้อยละ 6.95 พระพี่เลี้ยง 19 ราย อัตราป่วย ร้อยละ 4.37 แต่ไม่พบการป่วยของเจ้าหน้าที่ในโครงการและไม่พบผู้เสียชีวิต โดยช่วงอายุที่พบจำนวนป่วยสูงสุด 10 - 14 ปี จากไซด์อบรมทั้งหมด 10 ไซต์ จากผลการศึกษาพบปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การเข้าไปมีส่วนร่วมทำกิจกรรมภายในไซต์อบรมที่มีการระบาด ส่วนอีก 3 กิจกรรมภาพรวม ได้แก่ การเข้าร่วมกิจกรรมในห้องนิทรรศการ การเข้าร่วมชมภาพยนตร์ที่ห้องฉาย 3D และการเข้าร่วมพิธีเวียนประทักษิณ (บรรพชา) ไม่ใช่ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการระบาดเนื่องจากกิจกรรมทั้ง 3 มีการกำกับระเบียบในการทำกิจกรรม ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยวิธี RT-PCR พบสารพันธุกรรมไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A สายพันธุ์ H3 การศึกษาสิ่งแวดล้อมพบว่า วัดจัดให้มีการแยกสถานที่ 10 ไซต์อบรมไม่ให้ติดต่อสัมผัสกัน แต่สามเณรยังสามารถเดินทางข้ามไซต์อบรมเข้าไปมีส่วนร่วมทำกิจกรรมกับสามเณรที่อยู่ในไซต์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ไซต์ของตนได้
สรุปและวิจารณ์: การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ครั้งนี้ สาเหตุมาจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A(H3) ปัจจัยเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของโรค คือ การเข้าทำกิจกรรมร่วมกับไซต์ที่มีการระบาด ในการจัดกิจกรรมปีต่อไปควรออกแบบไม่ให้มีการติดต่อกันของสามเณรระหว่างไซต์อบรมอย่างเคร่งครัดมากยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
1.
จีนเสวก อ, บัวจันทร์ ก. รายงานการสอบสวนการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ในสามเณร และพระพี่เลี้ยง ในกิจกรรมบรรพชาภาคฤดูร้อน ณ วัดแห่งหนึ่ง จังหวัดปทุมธานี ตั้งแต่วันที่ 1 - 30 เมษายน 2566 . J Raj Pracha Samasai Institute [อินเทอร์เน็ต]. 25 เมษายน 2025 [อ้างถึง 27 เมษายน 2025];9(1):43-54. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/rpsi/article/view/2778
บท
การสอบสวนโรค (Outbreak Investigation)

References

Pediatric Infectious Disease Society of Thailand (TH). Winter Illnesses Part 1: Colds and Flu [Internet]. Bangkok. Pediatric Infectious Disease Society of Thailand; 2023 [cited 2023 August 24]. 1 p. Available from: https://www.pidst.or.th/A289.html.

Mahidol University, Faculty of Tropical Medicine. Annual epidemic Influenza (Flu) [Internet]. Bangkok. Faculty of Tropical Medicine, Mahidol University; 2023 [cited 2023 August 24]. Available from: https://www.tm.mahidol.ac.th/th/tropical-medicine-knowledge/new/Influenza.html

Centers for Disease Control and Prevention (US). Influenza (Flu) How Flu Spreads [Internet]. Atlanta. Centers for Disease Control and Prevention, National Center for Immunization and Respiratory Diseases (NCIRD); 2022. [cited 2022 Aug 24]. 1 p. Available from: https://www.cdc.gov/flu/about/disease/spread.htm

Coburn BJ, Wagner BG, Blower S. Modeling influenza epidemics and pandemics: insights into the future of swine flu (H1N1). BMC Medicine. 2009;7(30):1-8.

The Johns Hopkins University. Influenza (Flu) in Children [Internet]. Baltimore. The Johns Hopkins University; n.d. [cited 2022 Aug 24]. Available from: https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/influenza/influenza-flu-in-children

Hallmann-Szelińska E, Łuniewska K, Szymański K, Kowalczyk D, Sałamatin R, Masny A, Brydak L. B. Virological and Epidemiological Situation in the Influenza Epidemic Seasons 2016/ 2017 and 2017/2018 in Poland. Adv Exp Med Biol. 2020:1251:107-113. doi: 10.1007/5584_2019_454.

Aungkulanon S, Cheng PY, Kusreesakul K, Bundhamcharoen K, Chittaganpitch M, McCarron M, et al. Influenza-associated mortality in Thailand, 2006-2011. Influenza Other Respir Viruses. 2015;9(6): 298-304 doi: 10.1111/irv.12344

Peek K. Flu Season Never Came to the Southern Hemisphere [Internet]. New York. Scientific american, A division of springer nature america; 2020 [cited 2022 Aug 24]. Available from: https://www.scientificamerican.com/article/flu-season-never-came-to-the-southern-hemisphere1/

Division of Epidemiology (TH), Development of the Surveillance System for Communicable Diseases subdivision. Report on the Situation of Influenza in Thailand; June 11-17, 2023 Available from: https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2//files/DOE_flu_24.2566.pdf

Department of Disease Control (TH), Division of Epidemiology. Case definition for Communicable Diseases Surveillance, Thailand. Nonthaburi: Division of Epidemiology; 2020.