ประสบการณ์ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพระยะกลางแบบผู้ป่วยใน โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่: การวิจัยเชิงคุณภาพ

Main Article Content

ปณิดา ยศหนัก
ช่อผกา หลงละเลิง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายประสบการณ์ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพระยะกลางแบบผู้ป่วยใน โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจงตามเกณฑ์เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด 10 ราย ที่เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพระยะกลางแบบผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ระหว่างเดือนสิงหาคม - ตุลาคม ปี 2566 ใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวคิดปรากฏการณ์วิทยา รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกตามแนวคำถามงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ให้ข้อมูลหลักได้สะท้อนประเด็นสำคัญจากการเข้ารับบริการ 3 ประเด็น คือ 1. ประสบการณ์ในการเข้ารับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพระยะกลางแบบผู้ป่วยใน ได้แก่ เหตุผลในการเข้ารับบริการเนื่องจากความต้องการรักษาต่อเนื่องตามสิทธิการรักษา ได้รับคำแนะนำจากบุคคลที่เคยมารับบริการความพร้อมด้านบุคลากร สถานที่และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตลอดจนพึงพอใจต่อการได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยกายภาพบำบัดกิจกรรมบำบัด และการฟื้นฟูด้วยหุ่นยนต์ฝึกเดิน 2. ปัญหาและอุปสรรคในการเข้ารับบริการ คือ ขาดผู้ดูแลส่งผลให้ผู้ให้ข้อมูลหลักขาดโอกาสเข้ารับบริการ ขาดความต่อเนื่องในการรับบริการในวันหยุดและยังขาดความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง 3. ความต้องการในการเข้ารับบริการ คือ ต้องการได้รับการฟื้นฟู
ทางกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดแบบเข้มข้น ต้องการให้มีบริการฟื้นฟูสมรรถภาพระยะกลางในวันหยุดต้องการอุปกรณ์ช่วยหรืออุปกรณ์เสริมในการฟื้นฟูสมรรถภาพ และต้องการความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางพัฒนาการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางแบบผู้ป่วยในให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
1.
ยศหนัก ป, หลงละเลิง ช. ประสบการณ์ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพระยะกลางแบบผู้ป่วยใน โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่: การวิจัยเชิงคุณภาพ. J Raj Pracha Samasai Institute [อินเทอร์เน็ต]. 25 เมษายน 2025 [อ้างถึง 27 เมษายน 2025];9(1):18-29. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/rpsi/article/view/2813
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)

References

Health Data Center. Stroke incidence rate and stroke mortality rate [Internet]. Nonthaburi. The Permanent Secretary Ministry of Public Health; 2024 [cited 2024 Sep 4]. Availablefrom: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/%20report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=b717285d1ebab38e6cf30ca2846317cd. (in Thai)

Kitisomprayoonkul W, Nuengnit Y, Panyasriwanit S. Rehabilitation medicine textbook. 4th ed. Bangkok: Chulalongkorn University Press; 2017. (in Thai)

Ministry of Public Health (TH), Health Administration Division. Subcommittee on Health Service System Development in the field of Intermediate Care. Guideline for intermediate care. Bangkok: Health Administration Division; 2019.

Homklin P. The effectiveness of physical therapy rehabilitation in subacute stroke patients in the physical therapy department medicine Surin Hospital. Mahidol R2R e-Journal. 2021;8(3):74-82. (in Thai)

Mankong S, Nopparat P, Panyako N. Effects of intermediate phase rehabilitation program for stroke patients at Thapla Hospital. emh. 2021;7(1):96-107. (in Thai)

Namchandee A. Outcomes of intermediate rehabilitative care in sub-acute stroke patients. Buddhachinaraj Med J. 2021;38(3):356-67. (in Thai)

Pattanasuwanna P. Outcomes of intermediate phase post-stroke inpatient rehabilitation in community hospital. ASEAN J Rehabil Med. 2019;29(1):8-13. (in Thai)

Tongsephee R. The outcomes of intermediate phase rehabilitation in Thasala Hospital. MNST Med J. 2020;4(1):1-10. (in Thai)

Utrarachkij N, Reecheeva N, Siriratna P, Thamronglaohaphan P, Chira-adisai W. Functional outcomes of upper and lower limbs after rehabilitation program in sub-acute and chronic stroke patients at Ramathibodi Hospital. J Thai Rehabil Med. 2016;26(2):47-53. doi: 10.14456/jtrm.2016.10 (in Thai)

Chantani M. Qualitative Research Model. JAIS. 2022;4(1):233-45. (in Thai)

Longlalerng C, Tospatinrat S, Pinkaew C, Boontha N. Hemiplegic Patient’s Experiences after the Virtual Reality Technology (Toucher) Rehabilitation: A Qualitative Study. J DMS. 2023;48(1):27-34. (in Thai)

Paksee N, Sirapo-ngam Y, Monkong S, Leelacharas S. Effects of a transitional care program for stroke patients and family caregivers on caregiver’s preparedness, stress, adaptation, and satisfaction. Nurs Res Inno J. 2016;22(1):65-80. (in Thai)

Clark B, Whitall J, Kwakkel G, Mehrholz J, Ewings S, Burridge J. The effect of time spent in rehabilitation on activity limitation and impairment after stroke. Cochrane Database Syst Rev. 2021;10(10):CD012612. doi: 10.1002/14651858.CD012612.pub2

Wiriyakijpaiboon J, Jitpanya C. Relationships among knowledge, perceived benefit, depression, social support and secondary stroke prevention in stroke survivors. JPNHS. 2016;8(2):34-44. (in Thai)

Jaisan T, JamChat R. Development of gait training program at home in stroke patients with assistive devices. Med J Sisaket Surin Buriram Hosp. 2019;34(3):349-57. (in Thai)