การพัฒนาระบบการจำหน่ายที่ส่งเสริมการดูแลอย่างต่อเนื่อง ในทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักน้อย โรงพยาบาลกาฬสินธุ์
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบการจำหน่ายที่ส่งเสริมการดูแลอย่างต่อเนื่อง ในทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักน้อย แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ วางแผน ปฏิบัติการ สังเกตการณ์ และสะท้อนผล ระยะเวลาในการศึกษา กันยายน พ.ศ.2561- กรกฎาคม พ.ศ. 2562 กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ใช้ระบบ คือพยาบาลวิชาชีพประจำหอผู้ป่วยทารกป่วย จำนวน 12 คน 2) กลุ่มผู้รับบริการ คือ มารดาที่คลอดทารกก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักน้อย จำนวน 30 คน และทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักน้อย จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบจำเพาะเจาะจง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมการจำหน่ายที่ส่งเสริมการดูแลอย่างต่อเนื่อง 3) แบบบันทึกประวัติมารดาและทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักน้อย 4) แบบประเมินความรู้ของมารดา 5) แบบสังเกตพฤติกรรมมารดาก่อนและหลังจากได้รับโปรแกรมการจำหน่าย 6)แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลวิจัย พบว่า
1) ปัญหาที่เกิดขึ้นของกลุ่มงานกุมารเวชกรรมคือทารกคลอดก่อนกำหนดน้ำหนักน้อย มารดาไม่ได้รับการเตรียมจำหน่ายเพื่อให้มีความรู้และทักษะการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด และการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยขาดความต่อเนื่อง 2) รูปแบบการพัฒนาระบบการจำหน่ายที่ส่งเสริมการดูแลอย่างต่อเนื่อง ในทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักน้อย ประกอบด้วย (1) การจัดทำคู่มือการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักน้อย (2) พยาบาลได้วางแผนการพยาบาลร่วมกับพ่อแม่เน้นให้การพยาบาลแบบองค์รวมที่มีความต่อเนื่อง ตั้งแต่รวบรวมข้อมูล ประเมินปัญหาประสานงานทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 3) ผลการประเมิน พบว่า ด้านความรู้ของมารดา ในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักน้อย ภายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง ( = 29.45 S.D.= 1.38) ส่วนพฤติกรรมของมารดาในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักน้อย ภายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง ( =10.30 S.D. = 1.78) ด้านผู้ให้บริการ พยาบาลวิชาชีพมีการปฏิบัติตามระบบ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =2.92 S.D. = 0.26) และพยาบาลผู้ให้บริการมีคะแนนความพึงพอใจและเห็นด้วยกับระบบการจำหน่ายที่ส่งเสริมการดูแลอย่างต่อเนื่อง ในทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักน้อย ในระดับมาก ( =4.38 S.D.=0.41)
References
เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์, และวีณา จีระแพทย์. (2551). การประเมินภาวะสุขภาพทารกแรกเกิด (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
ณัฐนิชา ศรีละมัย และจุไรรัตน์ วัชรอาสน์. (2559).การมีส่วนร่วมในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด ตามความต้องการของมารดา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 27(1), 152-159.
ณัฐนิชา ศรีละมัย และนฤมล ธีระรังสิกุล. (2558). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองของมารดาในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 8(2), 82-94.
ดวงกมล เจริญเกษมวิทย์. (2551). อัตราการรอดชีวิตและปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของทารก แรกเกิดน้ำหนักน้อยมากในโรงพยาบาล นครนายก. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ, 3(1), 87-96.
ธราธิป โคละทัต. (2551). ทารกเกิดก่อนกำหนด: สถานการณ์ปัจจุบันและผลกระทบ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลัชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
นลินี จงวิริยะพันธุ์, เปรมฤดี ภูมิถาวร, ขวัญชัย ไพไรจน์สกุล, สามารถ ภคกษมาและชัยยศ คงคติธรรม.(2553).Ambulatory pediatrics เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: บียอนด์เอ็นเทอร์ไพรซ์.
สายฝน ชวาลไพบูลย์. (2553). คลอดก่อน กำหนด: ปัญหาระดับชาติ. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลิฟวิ่ง.
สุพรรณี ขันธศุภ, และศรีสุรีย์ สูนพยานนท์. (2558).การพัฒนาระบบการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาและเครือข่าย. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 5(1),1-14.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข. (2562). อัตราการเกิดมีชีพของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย. สืบค้นจาก http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/ealth_statistics_2556.pdf.
แสงแข ชำนาญวนกิจ. (2550). การดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด.ใน ชาญชัย วันทนาศิริ, วิทยา ถิฐาพันธ์, ปราโมทย์ ไพรสุวรรณา, และสุนทร ฮ้อเผ่าพันธ์ (บ.ก.), เวชศาสตร์ปริกำเนิด. กรุงเพฯ: ยูเนี่ยนครีเอชั่น.
วราภรณ์ แสงทวีสิน. (2551). Care of Low Birth Weight Infants. ใน วราภรณ์ แสงทวีสิน,
วิบูลย์กาญจน พัฒนกุล และสุนทร ฮ้อเผ่าพันธ์.(บ.ก.), ปัญหาทารกแรกเกิด กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.
อรพินท์ กอสนาม. (2556). ผลต่อการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในโรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว. วารสารศูนย์การศึกษาแพทย์ศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า.30(4),287- 299.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.