การพัฒนาระบบบริบาลด้านยาแก่ผู้ป่วยวัณโรคปอดในโรงพยาบาลโกสุมพิสัย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • รุ่งระวี อัครวรรณ โรงพยาบาลโกสุมพิสัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบบริบาล, วัณโรคปอด, ยาต้านวัณโรค

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อพัฒนาระบบบริบาลด้านยาแก่ผู้ป่วยวัณโรคปอดในโรงพยาบาลโกสุมพิสัย เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ วางแผน ปฏิบัติการ สังเกตการณ์ และสะท้อนผลการปฏิบัติ ระยะเวลาดำเนินการ สิงหาคม 2566 – กุมภาพันธ์ 2567 ผู้มีส่วนร่วมในการศึกษา ประกอบด้วย

แพทย์  เภสัชกร  พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ แพทย์แผนไทย และเจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ จำนวน 33 คน และกลุ่มผู้ป่วยวัณโรคปอด จำนวน 60 คน โดยเลือกแบบจำเพาะเจาะจง เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับวัณโรคปอด แบบประเมินพฤติกรรมเกี่ยวกับการป้องกันวัณโรคปอด แบบประเมินคุณภาพชีวิต แบบประเมินความพึงพอใจ แบบประเมินความพึงพอใจ การสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และPaired t-test วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

  ผลจากการวิจัย พบว่า

1.ปัญหาการรับยาผู้ป่วยวัณโรคปอดในโรงพยาบาลโกสุมพิสัย เกิดจากตัวผู้ป่วย คือการไม่ยอมรับการรักษา การไม่ตอบสนองการรักษาของผู้ป่วย ด้านผู้ให้บริการรักษา คือ การรักษาที่ไม่เหมาะสม ด้านระบบสนับสนุนช่วยเหลือ คือ คุณภาพยาและระบบบริหารจัดการยาไม่ดี และการกำกับติดตามการรักษาวัณโรค คือ ยังไม่ครอบคลุมและไม่ต่อเนื่อง 2.การพัฒนาระบบบริบาลด้านยาแก่ผู้ป่วยวัณโรคปอดในโรงพยาบาลโกสุมพิสัย ประกอบด้วย (1) การพัฒนาการบันทึกข้อมูลการใช้ยาและการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยวัณโรค (2) การพัฒนาการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยวัณโรคในเครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ (3) การทำคู่มือระบบการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยวัณโรคปอด (4) การให้ความรู้เกี่ยวกับวัณโรค และการรับประทานยาต้านวัณโรค แก่ผู้ป่วยวัณโรคปอด 3.ผลการประเมิน พบว่า ความรู้เกี่ยวกับวัณโรคปอด การรับประทานยาต้านวัณโรคปอด และพฤติกรรมเกี่ยวกับการป้องกันวัณโรคปอด ของกลุ่มผู้ป่วยวัณโรคปอด หลังการพัฒนา มีคะแนนเฉลี่ย สูงกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .001) ในส่วนของกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบบริบาลทางเภสัชกรรม พบว่า การมีส่วนร่วมในการพัฒนา อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̅ = 4.55, SD = 0.14) และมีความพึงพอใจต่อกระบวนการบริบาลเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยวัณโรคปอด อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̅ = 4.53, SD = 0.28)

References

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค.(2564).รายงานสถานการณ์และการเฝ้าระวังวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก . http://tbcmthailand.ddc.moph.go.th/

เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร.(2556). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม:ความเป็นมาและความเชื่อมโยง.วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 31(3),23-28.

ฉันทนา ชาวดร และเพชรไสว ลิ้มตระกูล. (2555). การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดโรงพยาบาลบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 30(3), 78-86.

นิรันดร์ ถาละคร.(2562). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานเพื่อพัฒนาการป้องกันและควบคุมวัณโรค อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย.วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน, 2(2), 38-49.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พรพิมล รัศมีวงษ์จันทร.(2566). การพัฒนาระบบบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยวัณโรค อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี.วารสารสหวิชาการเพื่อสุขภาพ, 5(1), 38-54.

โรงพยาบาลโกสุมพิสัย.(2566). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีโรงพยาบาลโกสุมพิสัย 2565. มหาสารคาม:โรงพยาบาลโกสุมพิสัย.

วัฒนา สว่างศรี. (2562).การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม.วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 16(3), 116-129.

สุภาภรณ์ มิตรภานนท์, รัชนี ระดา และเสฐียรพงษ์ ศิวินา. (2563).การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมวัณโรคสำหรับผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ และผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านในเครือข่ายสุขภาพ อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด.วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 3(3), 164 – 174.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค.(2560).แนวทางการควบคุม วัณโรคประเทศไทยพ.ศ.2561 National Tuberculosis Control Program Guideline. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซด์.

อังกูร เกิดพานิช.(2560). วัณโรคในเด็ก…มีอะไรใหม่. เวชสารแพทย์ทหารบก, 60(4), 101-118.

Ferguson JS, Schlesinger LS. (2000) .Pulmonary surfactantin innate immunity and the pathogenesis of tuberculosis. Tubercle and Lung Disease, 5(1), 173-184.

Kemmis, S. & McTaggart, R. (1988). The action research reader. Geelong. Victoria : Deakin University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-28