ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ธีระพันธ์ โต้หนองแปน โรงพยาบาลกมลาไสย

คำสำคัญ:

โปรแกรมสนับสนุน, การจัดการตนเอง, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (Two group pre-test-post-test design) มีวัตถุประสงค์ เพื่อผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลกมลาไสย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในคลินิกปอดอุดกั้นเรื้อรัง แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลกมลาไสย    ใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย โดยคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 44 คน แบ่งเป็น กลุ่มทดลองโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง  22 คน  กลุ่มควบคุมที่ได้รับการรักษาปกติ 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย         1) แบบสอบถามความรู้เรื่องโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเอง 3) แบบประเมินผลกระทบของโรคต่อสุขภาวะของผู้ป่วย               4) โปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบโดยใช้สถิติที ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า

1. ผลเปรียบเทียบความรู้และผลกระทบต่อสุขภาวะของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ก่อนการใช้โปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเอง ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีความรู้และผลกระทบต่อสุขภาวะของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ไม่แตกต่างกัน (p >.05)                                       2. ดำเนินการใช้โปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเอง ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังกับกลุ่มทดลอง และดำเนินการให้กลุ่มควบคุมได้รับการรักษาปกติ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มทดลองใช้โปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเองมีความรู้ พฤติกรรมการจัดการตนเอง และผลกระทบต่อสุขภาวะของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หลังการทดลองดีกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการรักษาปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)

ผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ เพื่อให้สามารถจัดการตนเอง

References

กตัญญู โม้มาลี. (2555). โปรแกรมการสอนผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในคลินิกเฉพาะโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลสีชมพู.[รายงานการศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น].

งานเวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลกมลาไสย. (2565). รายงานประจำปี งบประมาณ 2565. กาฬสินธุ์: แผนกงานเวชระเบียน โรงพยาบาลกมลาไสย.

ธิติภรณ์ ยอเสน. (2554). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายและอาการหายใจลำบากในผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. พยาบาลสาร, 39(3),52-65.

ปราณี สายรัตน และคณะ.(2557). ผลของโปรแกรมการฝึกการจัดการตนเองต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกาย การเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง.พยาบาลสาร, 41(4), 23 – 35.

ปาริชาติ ทองสาลี .(2550). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองและการฝึกปฏิบัติโยคะต่อระดับน้ําตาลในเลือดและความผาสุกของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

วัชรา บุญสวัสดิ์. (2553). แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง.ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อารีย์ เสนีย์. (2557). โปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. วารสารพยาบาลทหารบก,15(2),129-134.

Creer, L.T. (2000). Self-managementof chronic illness.Handbook of self-regulation.California: Academic, 601-629

Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease (GOLD). Global strategy for diagnosis, management, and prevention of COPD [Internet]. Fontana, WI: GOLD; 2017 [cited 2020 Nov 8 ] . Available from:http://goldcopd.org/?s=prevalence.

World Health Organization(2010). Towards a common language for functioning, disability and health. [cited 2020 Nov 7 ] Available from http://www.who.int/classification/icf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-09

ฉบับ

บท

รายงานผลการวิจัย