แบบแผนการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกต่อความวิตกกังวลและความพึงพอใจ ในโรงพยาบาลกมลาไสย
คำสำคัญ:
แบบแผนการเตรียมความพร้อมผู้ป่วย, การให้ยาระงับความรู้สึก, ความวิตกกังวลบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบแผนการเตรียมความพร้อมการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึก ที่มีต่อความวิตกกังวลและความพึงพอใจ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experiment) แบบ two groups pre-post test design ศึกษาในช่วงเดือน พฤษภาคม 2567 - กรกฎาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ท้องแรกที่มาผ่าตัดคลอดและได้รับยาระงับความรู้สึก จำนวน 52 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 26 ราย และกลุ่มควบคุม 26 ราย โดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย ซึ่งกลุ่มทดลองได้รับแบบแผนการเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย กลุ่มควบคุมได้รับการเตรียมความพร้อมแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบแผนการเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดที่ได้รับยาระงับความรู้สึก แบบประเมินความวิตกกังวล และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าคะแนนความวิตกกังวลขณะเผชิญและค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจระหว่างกลุ่มใช้สถิติ Independent t–test และภายในกลุ่มใช้สถิติ Paired t-test
ผลการศึกษา 1) ความวิตกกังวลภายในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมแบบแผนการเตรียมความพร้อม พบว่าค่าเฉลี่ย ก่อนการทดลอง เท่ากับ 49.31 และหลังการทดลอง เท่ากับ 33.85 เมื่อเปรียบเทียบกันกันภายในกลุ่ม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ความวิตกกังวลภายในกลุ่มควบคุม พบว่า ค่าเฉลี่ยก่อนการทดลอง เท่ากับ 45.69 และหลังการทดลอง เท่ากับ 41.20 เมื่อเปรียบเทียบกันภายในกลุ่ม ไม่มีความแตกต่างกัน 3) เปรียบเทียบความแตกต่างของความวิตกกังวลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ภายหลังการทดลอง พบว่า ค่าเฉลี่ยความวิตกกังวลมีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 4) ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมแบบแผนการเตรียมความพร้อม หลังการทดลอง เท่ากับ 80.10 และค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของกลุ่มควบคุมเท่ากับ 60.29 เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างกลุ่ม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าแบบแผนการเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกแบบแผนนี้ สามารถช่วยลดความวิตกกังวลและสร้างความพึงพอใจในหญิงตั้งครรภ์ท้องแรกที่มาผ่าตัดคลอดและได้รับยาระงับความรู้สึกได้
References
คงศักดิ์ เตชะวิบูลย์ผลและคณะ. (2554). ผลการให้ความรู้ทางวีดิทัศน์ร่วมกับการอธิบายต่อภาวะความวิตก กังวลของหญิงที่รอผ่าตัดคลอดบุตร, การทดลองโดยวิธีสุ่ม. วิสัญญีสาร, 37(2), 71-80.
จิราพร ลวดทอง. (2560). ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมต่อความวิตกกังวลของผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นิตยา คชภักดี, สายฤดีวรกิจโภคาทรและมาลี นิสสัยสุข.(2531). แบบประเมินความวิตกกังวล. กรุงเทพฯ .
พรทิพย์ ศุภมณี และคณะ.(2556).ประสิทธิผลของการเยี่ยมเพื่อให้ความรู้ก่อนผ่าตัดต่อความวิตกกังวลและความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดใหญ่ทางนรีเวชกรรม โรงพยาบาลศิริราช. วารสารพยาบาลศาสตร์, 28(1), 47-57
มานี รักษาเกียรติศักดิ์.(2560). ตำราวิสัญญีพื้นฐานและหน่วยงานปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.
โรงพยาบาลกมลาไสย. (2566). รายงานประจำปี งบประมาณ 2566. กาฬสินธุ์: แผนกงานเวชระเบียน โรงพยาบาลกมลาไสย.
ลดาวัลย์ อาจหาญ. (2564). ผลของการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหน้าท้อง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ พยาบาลผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศศิธร สุทธิสนธิ์, ทิพา ต่อสกุลแก้ว,วีนัส ลีฬหกุล (2561). ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมโดยใช้แนวคิดการบรรลุจุดมุ่งหมายต่อความวิตกกังวลและความร่วมมือในการผ่าตัดต้อเนื้อตาที่โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่ง. วารสารวิทยาลัยคริสเตียน, 24(1),98-107.
Aday, L.A., & Andersen. (1975). Access to Medical Care. Michigan and Arber: Health Administration Press.
Best, John W.(1977). Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs,New Jersey : Prentice Hall, Inc.
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. Lawrence Erlbaum Associates Inc.
Helms, J. E., & Barone, C. P. (2008). Physiology and treatment of pain. Critical Care Nurse, 28(6), 38-49.
Spielberger, C.D., Corsuch R.L.& Lusheue R.E.(1970). STAI Manual. California: Consulting Psychologists Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.