การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุต่อการเข้าถึงบริการทางทันตกรรม โรงพยาบาลนาดูน อาเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ณัฐพล ยศพล โรงพยาบาลนาดูน
  • อรวรรณ เสี่ยงบุญ โรงพยาบาลนาดูน

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ, บริการทางทันตกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุต่อการเข้าถึง บริการทางทันตกรรม โรงพยาบาลนาดูน อาเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม รูปการการวิจัยเป็นการวิจัยเชิง ปฏิบัติการ แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1)วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา 2)พัฒนารูปแบบการดูแล 3)ทดลองการใช้ รูปแบบ 4)ประเมินผล กลุ่มเป้าหมายหลักในการศึกษา คือ ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตาบลนาดูน จานวน 130 คน และกลุ่มผู้พัฒนารูปแบบ จานวน 10 คน เครื่องมือรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาและ ความต้องการและการได้รับบริการดูแลสุขภาพช่องปาก แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบบันทึกสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าจานวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย 1) ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ พบว่า การเชื่อมประสานการดูแลสุขภาพช่องปาก ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตาบลนาดูน ยังไม่เป็นระบบที่ชัดเจน การมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหามีน้อย ผู้สูงอายุ ขาดความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่ถูกต้อง 2) ระยะพัฒนารูปแบบ ได้ดาเนินการจัดทีมพัฒนา รูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตาบลนาดูน ซึ่งประชุมทีมสหวิชาชีพปรับปรุงแนวทาง ปฏิบัติการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตาบลนาดูน อบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุข เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ และประชุมเชิงปฏิบัติการใช้รูปแบบ 5ส. คือ ส1.(สองครั้งต่อวันเป็น อย่างน้อยในการแปรงฟัน) ส2.(สองนาทีต่อครั้งเป็นอย่างน้อยในการแปรงฟัน) ส3.(สองชั่วโมงไม่กินอาหารหลัง แปรงฟัน) ส4.(สองครั้งต่อปีในการพบทันตบุคลากร) ส5.(ส่งเสริมไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา) 3)ระยะทดลองใช้ รูปแบบ นารูปแบบไปใช้ในกลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลนาดูน 4)ระยะประเมินผล พบว่า ความพึงพอใจใน การให้บริการทางทันตกรรม มีการชี้แจงหรือให้ข้อมูลหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้บริการทันตก รรมอยู่ระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.95, S.D. = 0.20) รองลงมาคือขั้นตอนในการให้บริการทันตกรรมอยู่ในระดับ มาก(gif.latex?\bar{x} = 4.10, S.D. = 0.30) ภาพรวมการเข้าถึงบริการทางทันตกรรมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} = 3.78, SD = 0.46)

References

กระทรวงสาธารณสุข สำนักการบริหารการสาธารณสุข สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). แนวทางการ ดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวสำหรับหน่วยบริการ. นนทบุรี: สำนักการบริหารการสาธารณสุข.

กระทรวงสาธารณสุข สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2560). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2560-2564. แนวทางการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัว สำหรับหน่วยบริการ. นนทบุรี: กระทรวง; 2559. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.

ธนวัฒน์ มังกรแก้ว. (2559). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ราชนครินทร์].

ธราธร ดวงแก้ว, หิรัญญา เดชอุดม. (2550). พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ต.โพรงมะเดื่อ อ.เมือง จ.นครปฐม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม] .

นวัชรพร วัฒนวิโรฒ. (2550). การบริหารจัดการเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้สูงอายุในการควบคุมความดัน โลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ. [วิทยานิพนธ์, ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบ สุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม].

นิตยา เจริญกุล. (2556). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพของผู้ใช้บริการทันตกรรม: กรณีศึกษา โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเวียงสระ. [ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนสุนันทา].

ปิ่นทอง ประสงค์สุข. (2560). การเข้าถึงบริการทันตกรรมของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์,สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา].

วีระศักดิ์ เมืองไพศาล. (2561). ประเด็นท้าทายและทางแก้สำหรับการสูงวัยอย่างมีสุขภาพดี. สมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติกรมกิจการผู้สูงอายุ 2563 . https://www.dop.go.th/th/know/1

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2556). รายงานผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพ แห่งชาติครั้งที่ 7ประเทศไทย พ.ศ.2555. สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพ)จำกัด.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2560). รายงานผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพ แห่งชาติครั้งที่ 8ปี พ.ศ.2560. บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพ)จำกัด.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางการจัดบริการดูแลและป้องกัน สุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุสำหรับทันตบุคลากร.

สามเจริญพาณิชย์การพิมพ์. สุภาพร แสงอ่วม และคณะ. (2558). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเข้าถึงบริการทันตกรรมของผู้สูงอายุในเขต ภาคเหนือตอนล่าง ประเทศไทย. เชียงใหม่ทันตสาร, 36(1), 53-61.

อุดมพร ทรัพย์บวร. (2562). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในตำบลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 4-5, 38(4), 244-255.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-01

ฉบับ

บท

รายงานผลการวิจัย