รูปแบบการสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วยระยะกลางและผู้ดูแลในชุมชน อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
จัดการตนเอง, ผู้ป่วยระยะกลาง, ชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วยระยะกลางและผู้ดูแลในชุมชน ระยะเวลาศึกษา เดือน ตุลาคม 2564 - กันยายน 2565 ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหา ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการสนับสนุนการจัดการตนเองและขั้นตอนที่ 3 การประเมินผลการใช้รูปแบบฯ โดยใช้แนวคิดการจัดการสุขภาพตนเอง (Self–management) เครื่องมือในการวิจัย คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย คู่มือรูปแบบสนับสนุนการจัดการตนเอง แผนสนับสนุนการจัดการสุขภาพตนเองของพยาบาลวิชาชีพ และแผนการจัดการสุขภาพตนเอง ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา ได้ค่า CVI เท่ากับ 0.86 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสัมภาษณ์/สนทนากลุ่ม แบบประเมิน ADL แบบประเมิน INHOME-SSS แบบประเมิน 2Q และ 9Q แบบบันทึกพฤติกรรมการจัดการสุขภาพตนเอง แบบประเมินทักษะความสามารถในการจัดการตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย ได้รูปแบบการสนับสนุนการจัดการตนเองผู้ป่วยระยะกลางในชุมชน ซึ่งจะมีการติดตามเยี่ยมผู้ป่วย 4 ครั้ง ภายใน 1 เดือน หลังจากนั้นจะติดตามเยี่ยมเดือนละ1ครั้ง เป็นเวลา 6 เดือน โดยมีกิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 ประเมินอาการและค้นหาความเสี่ยงหรือปัญหาสุขภาพ กิจกรรมที่ 2 แก้ไขปัญหาและสนับสนุนการจัดการสุขภาพตนเอง กิจกรรมที่ 3 ติดตามและประเมินผลการจัดการสุขภาพตนเอง ผลลัพธ์ พบว่า ภายหลังการพัฒนา พยาบาลชุมชนมีความรู้อยู่ในระดับสูง มีทัศนคติในระดับมาก ผู้ป่วยและญาติมีทักษะความสามารถในการจัดการตนเองในระดับมาก ( = 4.21, SD = 0.43) ไม่พบภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยระยะกลาง เช่น การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การเกิดแผลกดทับ ภาวะซึมเศร้า และไม่มีผู้ป่วย Readmit จากการติดตามประเมิน ADL เมื่อครบ 6 เดือน พบว่า ผู้ป่วยมีคะแนน ADL เพิ่มขึ้นทุกราย โดย คะแนน ADL =16-20 คะแนน จำนวน 33 ราย (94.29%) คะแนน ADL =11-15 คะแนน จำนวน 2 ราย (5.71%)
References
กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). แนวทางการจัดบริการพยาบาลผู้ป่วยระยะกลาง.นนทบุรี: บริษัทสำนักพิมพ์สื่อตะวัน จำกัด.
กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2564). รูปแบบการพยาบาลในการสร้างเสริมการจัดการสุขภาพตนเองของกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลแบบระยะกลางและผู้ดูแล. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดเทพเพ็ญวานิสย์.
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยระยะกลางGuideline for Intermediate Care สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan). สมุทรสาคร: บริษัท บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง จำกัด.
กิตติยา วงษ์ขันธ์. (2561). รูปแบบการวิจัยและพัฒนา(R&D)และรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) [อินเตอร์เน็ต].สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2564.จากเว็ปไซต์:http://www.ubu.ac.th /web /files_up /08f2018072012262188.pdf
ถกลวรรณ บุญเต็ม และคณะ. (2565). ผลของกระบวนการเยี่ยมบ้านและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง ในอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์,37(3), 519-529.
รัตนะ บัวสนธ์. (2552).การวิจัยและพัฒนา.ในประมวลสาระชุดวิชาระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. หน่วยที่ 6. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
โรงพยาบาลยางสีสุราช.(2565). รายงานการดำเนินงานประจำปี ของโรงพยาบาลยางสีสุราช. มหาสารคาม : โรงพยาบาลยางสีสุราช.
วีระศักดิ์ รัตนชัยฤทธิ์, รุจิรา จันทร์หอม, เสฐียรพงษ์ ศิวินา. (2565). รูปแบบการบริบาลฟื้นสภาพผู้ป่วยระยะกลางจากโรงพยาบาลสู่ชุมชนของเครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ,15(2), 119-132.
สุพักตร์ พิบูลย์ และคณะ.(2556). การวิจัยและพัฒนางานวิชาการ(R&D). [อินเตอร์เน็ต].สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2564./จากเว็ปไซต์:https://nakhonsawanresearch . blogspot.com
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.