การดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีโรคจิตเภทร่วม : กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การดูแล, ผู้ป่วยเบาหวาน, โรคจิตเภทบทคัดย่อ
บทนำ : โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หากเกิดร่วมกับโรคทางจิตเวชจะทำให้การดูแลซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยจิตเภทที่มีโรคเบาหวานร่วมนั้นเกิดมาจากหลายปัจจัย เช่น พันธุกรรม การรับประทานอาหารมากเกินไป การเคลื่อนไหวร่างกายลดลงจากภาวะของโรคและการได้รับยาจิตเวช ที่ใช้รักษาโรคจิตเภท (Schizophrenia) อาการข้างเคียงที่พบคือ ความผิดปกติระบบเผาผลาญ ส่งผลให้การควบคุมระดับน้ำตาลเป็นไปด้วยความลำบาก พยาบาลมีบทบาทที่สำคัญในการดูแลช่วยเหลือให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีโรคจิตเภทร่วม ให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
วิธีการศึกษา : การศึกษาเปรียบเทียบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีโรคจิตเภทร่วม ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ จำนวน 2 ราย ที่เข้ามาตรวจรักษาในคลินิกจิตเวช โรงพยาบาลบ้านไผ่ ระหว่าง วันที่ 18 มกราคม 2567 – 23 สิงหาคม2567
ผลการศึกษา : การดูแลผู้ป่วยทั้ง 2 ราย เพื่อแก้ไขปัญหาและความต้องการมีข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ดังนี้ 1) มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเนื่องจากขาดความรู้และมีพฤติกรรมการ ดูแลตนเองไม่เหมาะสมกับโรคเบาหวาน 2)ผู้ป่วยมีภาวะไขมันในเลือดสูง 3)ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของเท้าเนื่องจากมีอาการชาบริเวณ ปลายมือและเท้าทั้งสองข้าง 4)เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้มเนื่องจากเวียนศีรษะ 5)ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยและการจัดการความเครียด ยังไม่เหมาะสม 6)มีอาการทางจิตกำเริบซ้ำ ผู้ป่วยทั้ง 2 รายได้รับการดูแลสามารถปรับเปลี่ยนความคิด การรับรู้ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันและเรื้อรัง
References
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2566). แนวทางเวช ปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566. กรุงเทพฯ : ศรีเมืองการพิมพ์.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2559). คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท สำหรับโรงพยาบาลในเขต สุขภาพ (ฉบับแพทย์). กรุงเทพฯ : บริษัท วิคทอเรียอิมเมจ จำกัด.
เฉลาศรี เสงี่ยม. (2558). การพยาบาลผู้จัดการรายกรณีผู้ป่วยเบาหวาน. ใน ศิริอร สินธุ,และพิเชต วงรอต (บ.ก.), การจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (พิมพ์ครั้งที่ 3) (น. 9-46) กรุงเทพฯ: สมาคมผู้จัดการรายกรณีประเทศไทย.
มณฑิรา มณีรัตน์, นัฐพล ฤทธิ์ทยมัย, และศรีสกุล จิรกาญจนากร. (2560). อายุรศาสตร์ทันใจ. กรุงเทพฯ: พริ้นท์เอเบิ้ล.
โรงพยาบาลบ้านไผ่.(2567).รายงานประจำปี โรงพยาบาลบ้านไผ่ 2567. โรงพยาบาลบ้านไผ่, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี, สมาคมต่อมไร้ ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวง สาธารณสุข, และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.(2560).แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566 .กรุงเทพมหานคร: ศรีเมืองการพิมพ์.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2560). แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและ ควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: อิโมชั่น อาร์ต.
สุรีรัตน์ ปิงสุทธิวงศ์. (2562). การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ในชุมชน: Nursing Care for Uncontrolled Type 2 Diabetes Mellitus Patients in Community. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 2(3), 59–73.
โสภาพันธ์ งานจัตุรัส. (2566). การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่1 ที่มีภาวะแทรกซ้อนเบาหวานขึ้นจอตา. ชัยภูมิเวช สาร, 43(พิเศษ):74-86.
Aekplakorn, W. (2014). The Report of Population Survey by Physical Examination. (5nd ed.). Nonthaburi: Aksorn Graphic and Design Publication.
Khamchata, L., Dumrongpakapakorn, P, & Theeranut, A. (2018). Metabolic syndrome: dangerous signs required management.Srinagarind Medical Journal, 33(4), 386- 395.
Srion, J., Rojanasangreang, R., & Sawawiboon, C. (2018) Geriatric emergency. Bangkok : Sam Lada.
Wei Xin Chong, J., Hsien-Jie Tan, E., Chong, C.E., Ng, Y., Wijesinghe,R. (2016). Atypical antipsychotics: A review on the prevalence, monitoring, and management of their metabolic and cardiovascular side effects. Ment Health Clin, 6(4), 178-184.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.