การพัฒนารูปแบบการป้องกันการเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากยาเมทฟอร์มิน ในผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 โรงพยาบาลนาดูน
คำสำคัญ:
ยาเมทฟอร์มิน, ภาวะเลือดเป็นกรดจากยาเมทฟอร์มิน, เบาหวานประเภทที่ 2บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันการเกิด ภาวะเลือดเป็นกรดจากยาเมทฟอร์มิน ในผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 โรงพยาบาลนาดูน เลือกแบบเจาะจง จำนวน 170 คน ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล เภสัชกร เจ้าพนักงานเภสัชกรรม นักวิชาการคอมพิวเตอร์ จำนวน 20 คน และผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้ยาเมทฟอร์มิน จำนวน 150 คน ระยะเวลาในการศึกษา ตุลาคม 2564 - กันยายน 2566 เครื่องมือในการศึกษา1)แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากยาเมทฟอร์มิน (MALA) ในโรงพยาบาลนาดูน 2)แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย 3)แบบสอบถามความพึงพอใจ ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ปัญหาการเกิดภาวะ MALA ในผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 โรงพยาบาลนาดูน พบว่า ยังไม่มีรูปแบบในการป้องกันการเกิด MALA ที่ชัดเจน ขาดการทบทวนและติดตามการใช้ยา ผู้ป่วยที่เคยมีประวัติเกิด MALA แต่ยังได้รับยาเมทฟอร์มินซ้ำ ไม่มีแนวทางปฏิบัติสำหรับป้องกัน MALA
2. การพัฒนารูปแบบการป้องกันการเกิด ภาวะเลือดเป็นกรดจากยาเมทฟอร์มิน ในผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 โรงพยาบาลนาดูน ประกอบด้วย 1) จัดทำแนวทางการสั่งใช้ยาเมทฟอร์มินตามระดับค่า eGFR 2)กำหนดบทบาทของสหวิชาชีพ ในการเฝ้าระวังป้องกันและติดตามการใช้ยา 3)จัดทำแนวทางการเฝ้าระวัง ผู้ป่วยที่มีประวัติ MALA 4)จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการสั่งใช้ยาเมทฟอร์มิน 5)จัดทำแนวปฏิบัติสำหรับทีมสหวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยที่ใช้ยาเมทฟอร์มิน 7)จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาเมทฟอร์มิน
3. ผลการประเมิน พบว่า มีการพัฒนารูปแบบ 3 วงรอบ ทำให้ได้รูปแบบ MALA Na dun Model ซึ่งจากการนำรูปแบบดังกล่าวมาใช้ ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการปรับลดขนาดยาลง ร้อยละ 16.67 สามารถหยุดยาได้ ร้อยละ 4.67 และปรับเพิ่มขนาดยาที่เหมาะสม ร้อยละ 3.33 ไม่พบอุบัติการณ์การเกิด MALA และสหวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อการพัฒนารูปแบบ ในระดับมาก ( = 4.18, SD = 0.46)
References
กชณากาญ ดวงมาตย์พล.(2563).การพยาบาลผู้ป่วย Metformin associated lactic acidosis ที่รับการรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม : กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม,17(3), 13-22.
ชัยรัตน์ ฉายากุล, และคณะ.(2558). คู่มือการดำเนินงานโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. กรุงเทพฯ: คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล.
บุญชม ศรีสะอาด.(2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
เฟื่องรักษ์ ร่วมเจริญ. (2558). ภาวะกรดในเลือดจากยา Metforminในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รักษาในโรงพยาบาลนครพนม ปี 2553-2556. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 24(2),337-346.
โรงพยาบาลนาดูน. (2564). รายงานประจำปีผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลนาดูน. โรงพยาบาลนาดูน : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม.
วิกาวี รัศมีธรรม. (2562). การศึกษาการเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากแลคติกคั่งจากยาเมทฟอร์มิน โดยใช้ข้อมูลรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาของศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์]. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วันทนี อภิชนาพงศ์.(2563).กรณีศึกษา metformin-associated lactic acidosis.วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล, 30(1), 26-33.
ศิรานันต์ พลเหี้ยมหาญ.(2564). ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติในการเฝ้าระวังการเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากยา Metformin ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลนครพนม. วารสารโรงพยาบาลนครพนม.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย.(2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. ปทุมธานีจำกัด.
อติพล คล้ายปักษี, และคมสัน อาษา.(2563). ผลของการพัฒนาระบบแจ้งเตือนการใช้ยาในผู้ป่วยไตบกพร่องวัดผลในยาที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการใช้ยาสมเหตุผล. วารสารเภสัชกรรมคลินิก, 26(1), 20-30.
DeFronzo R, Fleming GA, Chen K, Bicsak TA. Metformin-associated lactic acidosis: Current perspectives on causes and risk. Metabolism. 2016;65(2):20-9.
Kemmis S, McTaggart R. The action research planer. 3rd ed. Melbourne : Deakin University Press ; 1988.
Lalau JD. (2010). Lactic acidosis induced by metformin incidence, management and prevention. Drug Saf, 33(9), 727-740.
Nathan DM, Buse JB, Davidson MB, Ferrannini E,Holman RR, Sherwin R, et al. (2009). Medical management of hyperglycemia in type 2 diabetes: a consensus algorithmfor the initiation and adjustment of therapy a consensusstatement of the American Diabetes Care,32, 193-203.
Sirtori CR, Pasik C. (1994). Re-evaluation of a biguanide, metformin : medchanism of action and tolerability.Pharmacol Res,30, 187-228.
UK Prospective Diabetes Study Group. (1998). Effect of intensive blood-glucose control with metformin on complications in overweight patients with type 2 diabetes (UKPDS 34). Lancet;352(9131):854-65.4)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.