การพัฒนาแนวทางการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยระยะกลางโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและภาคีเครือข่ายชุมชน

ผู้แต่ง

  • สุดใจ บุบผาทาเต โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
  • สุธิกาญจน์ อิทธิศักดิ์โภคิน โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

เยี่ยมบ้าน, ผู้ป่วยระยะกลาง, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลแนวทางการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยระยะกลางโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและภาคีเครือข่ายชุมชน  ดำเนินการพัฒนาแนวทางการเยี่ยมบ้านร่วมกับทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ครอบครัวผู้ป่วยและภาคีเครือข่ายชุมชน โดยใช้แนวคิด Holistic Nursing และ Home visit  ระยะเวลาตั้งแต่ เดือนสิงหาคม 2565–กันยายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษา พบว่า แนวทางการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยระยะกลางโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและภาคีเครือข่ายชุมชน ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การวางแผนจำหน่ายที่เชื่อมโยงกับทีมดูแลต่อเนื่องในชุมชน 2) การจัดบริการการเยี่ยมโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพ ครอบครัว และภาคีเครือข่ายชุมชน  และ 3) การกำหนดบทบาทหน้าที่ทีมสหวิชาชีพ ครอบครัวและภาคีเครือข่ายชุมชน ประเมินผลหลังการปฏิบัติตามแนวทางการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยระยะกลาง พบว่า ด้านทักษะความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยระยะกลางและผู้ดูแลในชุมชน อยู่ในระดับมาก (  = 4.28, SD = 0.48) ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยระยะกลางลดลง โดยการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ลดลงจากร้อยละ 8.45เป็น 1.13 ภาวะปอดอักเสบ ลดลงจากร้อยละ 11.27 เป็น 2.25 การเกิดแผลกดทับ ลดลงจากร้อยละ 2.82 เป็น 0  ภาวะซึมเศร้าลดลงจากร้อยละ 7.05 เป็น 0 ผู้ป่วยกลับมา Readmit ลดลงจากร้อยละ 7.05 เป็น 2.25 จากการติดตามประเมิน ADL เมื่อครบ 6 เดือน พบว่า ร้อยละผู้ป่วยระยะกลางมีคะแนน Barthel ADL index = 20 จากร้อยละ  91.55 เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 97.76

References

กชพร เขื่อนธนะ. (2562). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนอำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน.

วารสารวิชาการสาธารณสุข. 26 (3) : 41-51.

กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยระยะกลาง Guideline for Intermediate Care สำหรับบุคลากร

ทางการแพทย์ตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan). สมุทรสาคร: บริษัท บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง จำกัด.

กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). แนวทางการจัดบริการพยาบาลผู้ป่วยระยะกลาง. นนทบุรี: บริษัทสำนักพิมพ์สื่อตะวัน จำกัด.

เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร. (2558). การวิจัยเชิงปฏิบัติการสำหรับวิชาชีพการพยาบาล. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

ณิสาชล นาคกุล. (2560). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังกลุ่มติดบ้านติดเตียงในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี.

วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 28(3), 36-50.

พิศสมัย บุญเลิศ,เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์, ศุภวดี แถวเพีย. (2562). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง สำหรับผู้สูงอายุ กลุ่มติดบ้าน ติดเตียงใน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงมัน ตำบลสิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัด

ขอนแก่น, 23(2), 79-87

โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย. (2565). รายงานการดำเนินงานผู้ป่วยระยะกลาง พ.ศ. 2563-2565. มหาสารคาม : โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม.

สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). ระบบบริการพยาบาลแบบประคับประครอง. นนทบุรี: บริษัทสำนักพิมพ์สื่อตะวัน จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-25