การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภคลอดก่อนกำหนดโรงพยาบาลเชียงยืน
คำสำคัญ:
แนวปฏิบัติการพยาบาล, ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด, สตรีตั้งครรภ์บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) พัฒนาตามกรอบแนวคิดตามหลักฐานเชิงประจักษของซูคัพ (Soukup) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภคลอดก่อนกำหนดโรงพยาบาลเชียงยืน 2) เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการพัฒนาแนวปฏิบัติฯ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของพยาบาลห้องคลอดต่อแนวปฏิบัติการพยาบาลฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพจำนวน 10 คน และสตรีตั้งครรภที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 24 ถึงก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ จำนวน 30 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลในเดือนตุลาคม 2565 ถึงเดือนกันยายน 2566 เครื่องมือวิจัยประกอบไปด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด แบบบันทึกผลลัพธ์ทางการพยาบาล แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้แนวปฏิบัติฯ วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้แนวปฏิบัติฯ ผลลัพธ์ทางการพยาบาล โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานข้อมูลพฤติกรรมการป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดเปรียบเทียบระหว่างก่อนใช้ และหลังใช้แนวปฏิบัติฯ วิเคราะห์ด้วยสถิติ Independent t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวปฏิบัติการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภคลอดก่อนกำหนดโรงพยาบาลเชียงยืน ที่ได้พัฒนาขึ้นมีทั้งหมด 4 หมวด ดังนี้ หมวดที่ 1 ระยะการประเมิน หมวดที่ 2 ระยะการพยาบาล 24 ชั่วโมงแรก หมวดที่ 3 ระยะการพยาบาลหลัง 24 ชั่วโมง หมวดที่ 4 ระยะการจำหน่ายและการติดตามเยี่ยมบ้าน ความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติการพยาบาลในภาพรวมของพยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจมาก การเปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมการป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดระหว่างกลุ่มก่อนใช้และหลังใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.001 ผลลัพธ์ของสตรีตั้งครรภ์คลอดตามกำหนดพบร้อยละ 90.0 การกลับมารักษาซ้ำในสตรีตั้งครรภ์พบร้อยละ 10.0 และการยืดระยะเวลาของการ
ตั้งครรภ์ให้ครบกำหนดพบร้อยละ 90.0 ผลการศึกษานี้สะท้อนให้เห็นประสิทธิภาพของแนวปฏิบัติการพยาบาลที่อยู่บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในการจัดการภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด การปรับปรุงผลลัพธ์ของผู้ป่วย และการยกระดับการปฏิบัติทางคลินิกที่โรงพยาบาลเชียงยืน
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2566). สถิติกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. สำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข.
กัลยา มณีโชติ และนังคลา, นิจ์สากร. (2560). การพัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์
คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. วารสารกองการพยาบาล, 44(2), 7-24.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2566). แนวทางการป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดสำหรับ
ประเทศไทย. กระทรวงสาธารณสุข.
จุฬารัตน์ ห้าวหาญ, และฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง (2564). รูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์
คลอดก่อนกำหนด ตามกรอบมิติคุณภาพการบริการผู้คลอด. วารสารการแพทย์โรงพยาบาล
ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 36(3), 503-511.
ฉวี เบาทรวง. (2561). บทที่ 4 การพยาบาลสตรีที่มีถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์. ใน นันทพร แสนศิริพันธ์
และฉวี เบาทรวง (บ.ก.), การพยาบาลและการผดุงครรภ์: สตรีที่มีภาวะแทรกซ้อน, พิมพ์ครั้งที่ 2 (น 143-149). บริษัท สมาร์ทโคตติ้ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด.
ชลธิชา รักษาธรรม. (2561). แนวปฏิบัติการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดอย่าง
ต่อเนื่อง. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน ไม่ได้ตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
นวรัตน์ ไวชมพู และอาภรณ์ คงช่วย. (2558).การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายหญิงตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์คลอดก่อนก่อนกำหนด. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 2(3), 114-128.
บุบผาชาติ เพ็ญสุขและคณะ. (2566). การพัฒนาและประเมินผลแนวปฏิบัติทางการพยาบาลสำหรับสตรี
ตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลสมุทรสาคร. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี, 6(2), 78-97.
บุศรินทร์ เขียนแม้น และคณะ. (2565). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอด
ก่อนกำหนด. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 15(3), 286-300.
ปณัชช์ฐิตา ขุนบุญยัง และวีระเดช เฉลิมพลประภา. (2563). ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก
สำหรับป้องกันการคลอดก่อนกำหนด ณ แผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลนครปฐม. วารสารวิจัย
สุขภาพและการพยาบาล, 36(2), 212-224.
ประไพรัตน์ แก้วศิริ และคณะ. (2563).การส่งเสริมศักยภาพแก่สตรีตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงต่อ
การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด:บทบาทพยาบาล. ศรีนครินทร์เวชสาร, 35(2), 238-245.
เพียงขวัญ ภูทอง. (2562). การดูแลแบบต่อเนื่องเพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนด. วารสารเกื้อการุณย์,
(2), 156-68.
พรทิพย์ เรืองฤทธิ์ และสินีนาฎ หงส์ระนัย. (2565). ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
ของสตรีตั้งครรภ์โรงพยาบาลแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร, 14(1), 44-54.
ฟองคำ ติลกสกุลชัย. (2553) การปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ หลักการและวิธีปฏิบัติ. พิมพ์
ครั้งที่ 6. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศิริรัตน์ สัตนา. (2565). การพัฒนารูปแบบการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด เครือข่ายงานอนามัยแม่และ
เด็กอำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 7(2),
-116.
ภาควิชาสูติศาสตร-นรีเวชวิทยา. (2562). แนวทางเวชปฏิบัติในการดูรักษาสตรีตั้งครรภที่มีภาวะเจ็บครรภ
คลอดก่อนกำหนด พ.ศ. 2562. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร.
คณะแพทยศาสตรศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. (2567, 28 พฤษภาคม). ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อน
กำหนด (Preterm Labor). ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lessons/preterm-labor.
หทัยกาญจน์ หวังกูล. (2564). การพัฒนารูปแบบการดูแลอย่างต่อเนื่องสำหรับสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์
คลอดก่อนกำหนด. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตรมหา
บัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Soukup, M. (2000). The center for advance nursing practice evidence base practice model.
Nursing Clinics of North American, 35(2), 301-309.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.