การพัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์โดยเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • จินตนา ทอนฮามแก้ว โรงพยาบาลขอนแก่น
  • วราวุธ กุลเวชกิจ โรงพยาบาลขอนแก่น
  • เรียมวรินทร์ พุทธกัลญา โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การดูแลหญิงตั้งครรภ์, อาสาสมัครสาธารณสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การดูแลหญิงตั้งครรภ์ 2) พัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ 3) ประเมินผลรูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์โดยเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างคือ 1) อาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 70 คน 2) หญิงตั้งครรภ์ 10 คน ดำเนินการ  4 ขั้นตอน คือ วางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อน เก็บรวบรวมข้อมูล  ใช้แบบสอบถามวัดความรู้ แนวทางการสนทนากลุ่ม  ดำเนินการ ตุลาคม 2565 – มิถุนายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรู้ สถิติ Paired Samples t-test และข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า1) ด้านสถานการณ์การดูแลหญิงตั้งครรภ์ในชุมชน ปัญหาคือ อาสาสมัครสาธารณสุขขาดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน ไม่มีระบบการติดตามและทะเบียนข้อมูล และขาดช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในชุมชน 2)กระบวนการพัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์โดยเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุข พบว่ารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในชุมชน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ1.ระบบการค้นหาและติดตาม 2.การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข 3.การดูแลและให้คำปรึกษา 4.การประสานงานเครือข่าย 5.การติดตามและประเมินผล  เกิดเครื่องมือเป็นแบบติดตามเฝ้าระวังดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์โดยอาสาสมัครสาธารณสุข  นำรูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์โดยเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขไปปฏิบัติ  และ3) ประเมินผลลัพธ์  พบว่าหลังการอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ความครอบคลุมการดูแลหญิงตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 100 สรุปรูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถเพิ่มศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขและเกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ ข้อเสนอแนะ กระบวนการวิจัยนี้นำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่อื่นและปรับใช้กับงานที่มีลักษณะใกล้เคียง เพื่อพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2566). สถานการณ์การตายมารดาไทยระบบเฝ้าระวังการมารดาตาย[อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพ: สำนักส่งเสริมสุขภาพ. [เข้าถึงเมื่อ 2566 มกราคม 15]. เข้าถึงได้จาก: https://hp.anamai.moph.go.th/th/maternal-mortality-ratio

ฐิตาภร วงศ์ถิรกุล. (2562). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ต่อการเพิ่มอัตราการ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแงง อำเภอปัว จังหวัดน่าน[อินเตอร์เน็ต]. น่าน: [เข้าถึงเมื่อ 2565 ตุลาคม 13]. เข้าถึงจาก: file://C:/Users/Administrator/Downloads/10640-Article%20Text-16337-1-10-20210830%20(1).pdf

ดวงหทัย เกตุทอง. (2561). การใช้โปรแกรมเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพแก่หญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการที่คลินิกพัฒนารูปแบบและนวัตกรรมบริการสุขภาพสตรี สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง[อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: [เข้าถึงเมื่อ 2565 ตุลาคม 18]. เข้าถึงจาก:https://mwi.anamai.moph.go.th/web-upload/38x012f0575ae60054c957e56c3d27e971/202109/m_news/9004/206849/file_download/8d943f91f0a0ab8802c7b17db6de6618.pdf

ธีระพงษ์ แก้วหาวงษ์. (2543). เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม [อินเตอร์เน็ต]. ขอนแก่น: ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ; [เข้าถึงเมื่อ 2565 ตุลาคม 14].เข้าถึงจาก: https://search.worldcat.org/th/title/683045519

เพชรา ทองเผ้า และคณะ. (2565). ความรู้ทัศนคติและการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. วารสารสภาการพยาบาล, 28(1), 1-15.

โรงพยาบาลขอนแก่น. (2565). สรุปผลการดำเนินงานสาธารณสุขเครือข่ายบริการสุขภาพ CUPโรงพยาบาลขอนแก่นรอบ2 ปีงบประมาณ 2565. ขอนแก่น: โรงพยาบาลขอนแก่น.

โรงพยาบาลขอนแก่น. (2566). สรุปผลการดำเนินงานสาธารณสุขเครือข่ายบริการสุขภาพ CUPโรงพยาบาลขอนแก่นรอบ2 ปีงบประมาณ2566. ขอนแก่น: โรงพยาบาลขอนแก่น.

วนิดา อุตตรนคร. (2563). ประสิทธิผลของรายการอาหารบำรุงเลือดต่อการเพิ่มความเข้มข้นของเลือดในหญิงตั้งครรภ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13(1), 6-3.

วิทยา ทองดี และคณะ. (2564). รูปแบบการพัฒนาชุมชนสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อมสุขภาวะ ศิลปะ และการออกแบบเมืองขอนแก่น[อินเตอร์เน็ต]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น: [เข้าถึงเมื่อ 2565 ตุลาคม 18]. เข้าถึงจาก: https://library.md.chula.ac.th/ guide/vancouver2011.pdf

ศูนย์แพทย์มิตรภาพ โรงพยาบาลขอนแก่น. (2566). Service profileกลุ่มงานเวชกรรมสังคมสรุปผลงาน. ขอนแก่น: โรงพยาบาลขอนแก่น.

สรภัญ ส่งเสริมพงษ. (2566). การพัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล[อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: [เข้าถึงเมื่อ 2566 เมษายน 13]. เข้าถึงจาก: file:///C:/Users/Administrator/Downloads/14422-Article%20Text-27300-1-10-20230829%20(1).pdf

สุมาลี กลิ่นแมน, ธัญยธรณ์ รุจิรัตน์ธีรกุล. (2564). การพัฒนารูปแบบและกระบวนการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดนครสวรรค์. วารสารศูนย์อนามัยที่9, 15(36), 7-5.

อรอนงค์ บัวลา, ขนิษฐา นันทบุตร. (2563). ศักยภาพของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์โดยชุมชน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 28(2), 23- 31.

Kemmis S, McTaggart R. (1988). The action research planner. 3rd ed. Victoria: Deakin University.

Nuntaboot K. (2010). Community health system the collaborative process of 3major systems in the community. Nonthaburi: The Graphic Go Systems. [In Thai]

World Health Organization. (2009). Milestones in Health promotion statementsfrom global conferences [internet]. [cited 2022Oct 15]; Availablefrom:https://iris.who.int/bitstream/ handle/10665/70578/WHO_NMH_CHP_09.01_eng.pdf?sequence=1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-21