การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันเพื่อป้องกันภาวะไส้ติ่งแตก โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ถาวร นาแก้ว โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย

คำสำคัญ:

การดูแล, ไส้ติ่งอักเสบ, ไส้ติ่งแตก

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลและประเมินผลแนวทางการดูแลผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันเพื่อป้องกันภาวะไส้ติ่งแตก โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ระยะเวลาศึกษา เดือน กรกฎาคม 2564 - กันยายน 2565 วงจรที่ 1 ระยะศึกษาสถานการณ์ปัญหา โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณเพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะไส้ติ่งแตก วงจรที่ 2 พัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันเพื่อป้องกันภาวะ ไส้ติ่งแตกร่วมกับบุคลากรในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำไปใช้จริงในการดูแลผู้ป่วย เก็บรวบรวมข้อมูลและประเมินผล เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน Alvarado Score แนวคำถามการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม โปรแกรมรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยง โปรแกรม HosXP ที่ใช้ในการลงทะเบียนผู้ป่วย การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติเชิงพรรณนา : จำนวน ร้อยละ และสถิติเชิงอนุมาน : chi-square ,t-test,multiple logistic regression วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษา ในวงจรที่ 1 ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะไส้ติ่งแตก คือ ระยะเวลาตั้งแต่ปวดท้องจนผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลที่ใช้เวลา ≥ 24 ชม. มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไส้ติ่งแตกสูงมากกว่าผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลก่อน 24 ชม. 1 เท่า (ORadj = 1.13, 95%CI 0.13-0.65) และการตรวจพบ rebound tenderness ขวาล่าง ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไส้ติ่งแตกถึง 3 เท่า (ORadj = 3.03, 95%CI 1.17-2.29) และภาวะ Leukocytosis (ORadj = 2.32, 95%CI 0.15-0.62) และปริมาณเม็ดเลือดขาว PMN สูง (ORadj = 1.39, 95%CI 1.33-5.41) โดยมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ทั้งนี้ผู้ป่วยกลุ่ม ruptured appendix และ non-ruptured appendicitis ตรวจพบ Tenderness RLQ ทุกราย วงจรที่ 2 ได้พัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันเพื่อป้องกันภาวะไส้ติ่งแตก โดยแม้ว่าจะมีคะแนน Alvarado Score ต่ำ หากตรวจพบภาวะ Tenderness RLQ ร่วมกับภาวะ Rebound Tenderness ,Leucocytosis(>10000m3) ,PMN สูง แพทย์จะพิจารณาผ่าตัดทันที ประเมินผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยพบว่า จากการดูแลผู้ป่วย appendicitis จำนวน 56 คน มีภาวะ Ruptured appendicitis จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 10.71 และไม่พบภาวะแทรกซ้อน ซึ่งลดลงจากก่อนการพัฒนาที่มีภาวะ Ruptured acute appendicitis ร้อยละ 23.3

References

กิตติยา วงษ์ขันธ์. (2561). รูปแบบการวิจัยและพัฒนา(R&D)และรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) [อินเตอร์เน็ต].สืบค้นเมื่อ12 มีนาคม 2561.จากเว็ป ไซต์:http://www.ubu.ac.th /web /files_up /08f2018072012262188.pdf

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2560) แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี(ด้านสาธารณสุข) พ.ศ. 2560 – 2579. ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข. เขตสุขภาพที่ 7. (2560). Service Plan 6 building Blocks Plus CSO. ขอนแก่น.

พงษ์เดช จาวรุ่งฤทธิ์. (2561). การศึกษาเปรียบเทียบผลการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดไส้ติ่งก่อนและหลังใช้แบบประเมิน Alvarado score. โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร. 27(2),11-20

ไพจิตร อธิไภริน. (2565). ปัจจัยทำนายทางคลินิกต่อการเกิดภาวะไส้ติ่งแตกในผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน. มหาราชนครศรธีรรมราชเวชสาร. 6(1), 92-101.

โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย. (2564). รายงานผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบประจำปีงบประมาณ 2564. มหาสารคาม : โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย.

รัตนะ บัวสนธ์. (2552).การวิจัยและพัฒนา.ใน ประมวลสาระชุดวิชาระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐ ประศาสนศาสตร์. หน่วยที่ 6. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช53.

สุพักตร์ พิบูลย์ และคณะ.(2556). การวิจัยและพัฒนางานวิชาการ(R&D). [อินเตอร์เน็ต].สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2561./ จากเว็ปไซต์:https://nakhonsawanresearch .blogspot.com

Korner H, Sondenaa K, Soreide JA, et al : Incidence of acute non perforated and perforated appendicitis : Age - specific and sex-specific analysis. World J Surg 1997; 21 : 313.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-01

ฉบับ

บท

รายงานผลการวิจัย