แสงสีฟ้าเคลื่อนที่ UV-C ฆ่าเชื้อโรค

ผู้แต่ง

  • สุนทร ธีรพัฒนพงศ์ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์
  • เยาวเรศ ก้านมะลิ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์
  • จารุพล ตวงศิริทรัพย์ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์
  • วีรยุทธ์ ภูมุลเมือง โรงพยาบาลกาฬสินธุ์
  • นิกร เดชพรรณา โรงพยาบาลกาฬสินธุ์
  • อรุณี พัวโสพิศ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

อุปกรณ์ยูวี, ยูวีซีฆ่าเชื้อโรค

บทคัดย่อ

รังสี UV-C เป็นรังสีที่มีความยาวคลื่นสั้นคือ 100-280 นาโนเมตร ไม่สามารถผ่านชั้น Ozone มายังผิวโลกได้ แต่มีความสามารถในการทำลายเชื้อโรคด้วยกระบวนการที่เรียกว่า Ultraviolet Germicidal Irradiation : UVGI ซึ่งสามารถทำลายเชื้อโรคที่ฟุ้งหรือล่องลอยมากับอากาศ (Airborne Transmission) และละอองฝอย (Droplet) ทำลายได้ทั้งไวรัส แบคทีเรีย รา และยีสต์ รวมทั้งเชื้อไวรัส COVID-19 โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ มีการใช้อุปกรณ์รังสี UV-C เพื่อทำลายเชื้อโรคในหอผู้ป่วยและหน่วยงานต่างๆ โดยสั่งซื้ออุปกรณ์สำเร็จรูปชนิดเคลื่อนย้ายได้จากบริษัทผู้ผลิต แต่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 พบปัญหาความไม่เพียงพอของอุปกรณ์ UV-C ต่อการใช้งาน จึงได้ร่วมกันพัฒนานวัตกรรม “แสงสีฟ้าเคลื่อนที่ UV-C ฆ่าเชื้อโรค” ขึ้น

ผลลัพธ์ : นวัตกรรม “แสงสีฟ้าเคลื่อนที่ UV-C ฆ่าเชื้อโรค” สามารถทำลายเชื้อโรค ลดความเสี่ยงต่อปนเปื้อนเชื้อโรคทั้งในบุคลากรและผู้รับบริการ ลดค่าใช้จ่ายในหมวดครุภัณฑ์ทางการแพทย์ และอุปกรณ์ UV-C เพียงพอต่อการใช้งาน

References

ผกากรอง วนไพศาล. การฆ่าเชื้อด้วยรังสี UV. ระบบออนไลน์. แหล่งที่มา https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/ สืบค้น 7 พฤศจิกายน 2564

รัชพล สันติวรากร. รังสี UVC. ระบบออนไลน์. แหล่งที่มา https://www.en.kku.ac.th/web/covid19/uvc. สืบค้น 7 พฤศจิกายน 2564

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม. การใช้หลอดยูวีทำลายเชื้อโควิด 19. ระบบออนไลน์. แหล่งที่มา https://www.nimt.or.th/main/?p=31767 สืบค้น 7 พฤศจิกายน 2564

Center of disease control and prevention. Department of Health and human service. [cited 2022 November 7] Available from: https://www.bt.cdc.gov/raiation

LISIN GROUP. หลอดไฟอัลตราไวโอเลต. [cited 2022 January 8] Available from: Retrieved from https://th.lisungroup.com/news/technology-news/working-principle-of-ultraviolet-lamp-and-test-method-of-ultraviolet-lamp.html

Vatansever et al. (2013). Can biowarfare agents be defeated with light?. Virulence, 4(8), 796-825.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-01

ฉบับ

บท

รายงานผลการวิจัย