การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ในงานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวชโรงพยาบาลกมลาไสย
คำสำคัญ:
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, การพัฒนาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ในงานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวชโรงพยาบาลกมลาไสย เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2566 ถึง กันยายน 2567 กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) บุคลากรสหสาขาวิชาชีพที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาระบบ จำนวน 10 คน 2) บุคลากรสหสาขาวิชาชีพที่ให้บริการผู้ป่วย (แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักโภชนาการและนักกายภาพบำบัด) จำนวน 10 คน 3) ผู้ป่วยและญาติที่ผ่านการรักษาจำนวน 11 ราย และ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบประเมินระบบการดูแลผู้ป่วย STEMI 2) แบบบันทึกตัวชี้วัดทางคลินิก 3) แบบทดสอบความรู้และทักษะของบุคลากร และ 4) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษามีดังนี้
ระยะที่ 1 (การศึกษาสภาพปัญหา) พบว่า ระบบการดูแลเดิมมีข้อจำกัดสำคัญ ได้แก่ ระยะเวลา Door-to-Needle Time เกินเกณฑ์มาตรฐาน 30 นาที อัตราการเสียชีวิตสูงถึง ร้อยละ 45.45 ซึ่งปัญหาที่เกิดมาจากขาดแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน และระบบประสานงานระหว่างแผนกไม่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในช่วงนอกเวลาราชการ นอกจากนี้ยังพบปัญหาด้านความพร้อมของบุคลากรและอุปกรณ์
ระยะที่ 2 (การพัฒนาระบบ) ดำเนินการผ่าน 2 วงรอบ วงรอบแรกมุ่งพัฒนาระบบ Fast Track แนวปฏิบัติทางคลินิก และการฝึกอบรมบุคลากร ส่วนวงรอบสองเน้นการแก้ไขปัญหาที่พบในวงรอบแรก เช่น ปรับปรุงระบบส่งต่อและพัฒนาทักษะการแปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ผลลัพธ์หลังการพัฒนาพบว่า ระยะเวลา Door-to-Needle Time ลดลงเหลือ 27 นาที ตรงตามเกณฑ์มาตรฐาน
ระยะที่ 3 (การประเมินผล) พบว่า อัตราการเสียชีวิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญ บุคลากรมีความรู้และทักษะเพิ่มขึ้นจากคะแนนเฉลี่ยก่อนอบรม ร้อยละ 65 เป็นร้อยละ 85% หลังอบรม และผู้ป่วยมีระดับความพึงพอใจต่อบริการเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 76 เป็นร้อยละ 90 นอกจากนี้ยังเกิดผลลัพธ์เชิงระบบ ได้แก่ การจัดทำชุดอุปกรณ์ STEMI Kit และระบบติดตามตัวชี้วัดทางอิเล็กทรอนิกส์
สรุปได้ว่า การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดSTEMI ในงานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวชโรงพยาบาลกมลาไสย สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา ลดภาวะแทรกซ้อน และสร้างความพึงพอใจให้ผู้รับบริการ
References
กรมควบคุมโรค. (2565). สถิติและแนวโน้มโรคหัวใจและหลอดเลือดในประเทศไทย. กรุงเทพฯ:
สำนักระบาดวิทยา.
กรรณิการ์ เกียรติสนธิ์.(2565). การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่ได้รับการสวนหัวใจเพื่อ
การรักษา. วารสารการพยาบาลสุขภาพและสาธารณสุข 2565, 1(2), 28-42.
จิราพร มณีพราย.(2558). การพัฒนาเครือข่ายการรักษาพยาบาลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
ชนิดคลื่นไฟฟ้าเอสทียกสูง (STEMI)จังหวัดกำแพงเพชร.วารสารวิชาการสาธารณสุข,24(5), 907-920.
จิราวรรณ รุงเรืองวารินทร์.(2559). การพัฒนาระบบส่งต่อช่องทางด่วนผู้ป่วยSTEMIจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 6(1), 2-14.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น . กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
โรงพยาบาลกมลาไสย. (2566). รายงานการดำเนินงานของแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาล
กมลาไสย ประจำปีงบประมาณ 2565. โรงพยาบาลกมลาไสย, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
อภิชาต สุคนธสรรพ์ และ ศรัณย์ ควรประเสริฐ. (2559). CARDIOVASCULAR MEDICINE. เชียงใหม่:
หน่วยวิชาระบบหัวใจและหลอดเลือดภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
American Heart Association. (2020). 2020 AHA guidelines for CPR and emergency
cardiovascular care. American Heart Association.
Donabedian, A. (1988). The quality of care: How can it be assessed? Journal of the American
Medical Association, 260(12), 1743-1748.
European Society of Cardiology. (2020). ESC Guidelines for the management of acute
coronary syndromes in patients presenting without persistent ST-segment elevation.
European Heart Journal, 41(3), 119-177.
Ibanez, B., James, S., Agewall, S., Antunes, M. J., Bucciarelli-Ducci, C., Bueno, H., ... &
Widimsky, P. (2018). 2017 ESC Guidelines for the management of acute myocardial infarction in patients presenting with ST-segment elevation. European Heart Journal,
(2), 119-177.
Institute for Healthcare Improvement. (2021). A guide to quality improvement in healthcare.
IHI.
Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria :
Deakin University.
Wang, Y., Li, J., Zheng, X., Jiang, S., & Hu, S. (2021). Barriers to timely reperfusion therapy in
STEMI: A systematic review and meta-analysis. International Journal of Cardiology,
, 29-36.
Wang, H., Liu, J., & Zheng, L. (2019). The role of telemedicine in acute cardiovascular care:
A systematic review. Journal of Telemedicine and Telecare, 25(2), 79-89.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.