ประสิทธิผลโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความรู้ ทัศนคติ และทักษะการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉินโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลกมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, ความรู้, ทัศนคติ, ทักษะ, โรคหลอดเลือดสมองบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (quasi - experimental research pre-posttest design) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉินโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลกมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานที่หอผู้ป่วยฉุกเฉินในโรงพยาบาลกมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ระหว่างเดือนในสิงหาคม ถึงเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 จำนวน 31 ราย โดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบวัดความรู้ แบบสอบถามทัศนคติ และแบบประเมินทักษะในการการคัดแยกผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired t-test ผลการศึกษาพบว่า ก่อนทดลองพบว่า ด้านความรู้อยู่ในระดับปานกลาง ( = 6.98) ด้านทัศนคติอยู่ในปานกลาง ( = 4.07) และด้านทักษะอยู่ในสูง ( = 23.66) หลังทดลอง พบว่า ด้านความรู้อยู่ในระดับสูง ( = 8.35) ด้านทัศนคติอยู่ในระดับสูง ( = 4.43) และด้านทักษะอยู่ในระดับสูง ( = 27.64) ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนน พบว่า ด้านความรู้ ด้านทักษะก่อนการทดลองและหลังการทดลองไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านทัศนคติก่อนทดลองและหลังทดลองมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ρ ˂ 0.05)
โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความรู้ ทัศนคติ และทักษะการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉินโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลกมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ นี้ควรนำไปใช้ในการส่งเสริมทัศนคติในการคัดแยกของพยาบาลเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการปฏิบัติงานต่อไป
References
กระทรวงสาธารณสุข.(2567). ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (Health Data Center : HDC).
สืบค้นจาก https://api-hdc.moph.go.th/api-docs.
ณัชชา แพทย์ชีพ และคณะ. (2566). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะด้านการคัดแยกผู้ป่วยกลุ่ม
โรคสำคัญ ต่อความรู้และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์
ที่ 19. วารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช, 3(2), 1-13.
ธัญญารัตน์ วงศ์ชนะ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วย
ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุข
ศาสตรมหาบัณฑิต, พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
รัชนีวรรณ อังกสิทธิ์.(2567). การพัฒนาคุณภาพการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. วารสารการพยาบาลสุขภาพและสาธารณสุข,3(2), 34-52.
ศุภลักษณ์ ชูวงศ์ และคณะ. (2565). การพัฒนารูปแบบการคัดกรองและส่งต่อเข้าช่องทางด่วนสำหรับ
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารพยาบาลทหารบก, 23(1), 511-519.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.(2556). เกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินและจัดลำดับบริบาล ณ. ห้องฉุกเฉิน
ตามหลักเกณฑ์ที่ กพฉ. กำหนด (ฉบับที่1). กรุงเทพฯ: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.
สุดารัตน์ สิริประภาพล และคณะ.(2565). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออก
ในสมองจากภาวะความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. วารสารวิชาการสาธารณสุข,
(2), 353-64.
อาทิตนันท์ สมิงนิล.(2564). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความรู้ ทัศนคติและทักษะ
ในการปฏิบัติงานให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ในเขตอำเภอสามง่าม
จังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตล, พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Bandura, A. Self-efficacy: The exercise of control. New York: W. H.Freeman; 1997
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.).
Lawrence Erlbaum.
World Stroke Organization. (2019). World Stroke Organization (WSO) Annual report 2019. Retrieved January 1, 2019 downloads/WSO_2019_Annual Report online.
pdMargaret McMahon,2003 Yan,
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.