การพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อยร่วมกับมีภาวะหายใจลำบาก : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย
คำสำคัญ:
การพยาบาล, ทารกเกิดก่อนกำหนดน้ำหนักน้อย, ภาวะหายใจลำบากบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เพื่อเปรียบเทียบกรณีศึกษาทารกแรกเกิด 2 ราย เป็นทารกเกิดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อยร่วมกับมีภาวะหายใจลำบาก เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกป่วย โรงพยาบาลมหาสารคาม ระหว่างเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม พ.ศ. 2567 เครื่องมือที่ใช้ศึกษาประกอบด้วยส่วนที่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินมาตรฐานการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อยร่วมกับมีภาวะหายใจลำบากสำหรับพยาบาล และส่วนที่ 3) แผนการสอนการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดสำหรับมารดา/ผู้ดูแล เก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูลจากเวชระเบียน จัดระเบียบข้อมูล วิเคราะห์และอธิบายเชิงเหตุผลเปรียบเทียบข้อมูลทั่วไป แผนการรักษา ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและการพยาบาลตามช่วงเวลา
กรณีศึกษาที่ 1 ทารกเพศหญิงผ่าตัดคลอดเนื่องจากมารดาความดันโลหิตสูง อายุครรภ์ 32+4 สัปดาห์ น้ำหนักแรกเกิด 1,380 กรัม Apgar score นาทีที่ 1 เท่ากับ 5 นาทีที่ 5 เท่ากับ 5 ใส่ท่อช่วยหายใจ มีภาวะหายใจลำบากต่อมาเกิดระบบทางเดินหายใจล้มเหลว ระหว่างการรักษามีภาวะตัวเย็น น้ำตาลในเลือดต่ำ ซีด ติดเชื้อและช็อกจากการติดเชื้อรุนแรง พบเลือดออกในโพรงสมองระดับ 1 ร่วมกับเนื้อเยื่อรอบโพรงสมองได้รับความเสียหาย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 10 วัน รักษาในหอผู้ป่วยทารกวิกฤตรวม 36 วัน อาการคงที่แต่ยังได้รับออกซิเจนทางจมูก ย้ายมาดูแลต่อเนื่องที่หอผู้ป่วยทารกป่วยเพื่อให้นมทางสายยางและฝึกดูดนมมารดา รวมวันนอนโรงพยาบาล 44 วัน น้ำหนักก่อนกลับบ้าน 1,800 กรัม กรณีศึกษาที่ 2 ทารกเพศชายคลอดปกติ อายุครรภ์ 30+6 สัปดาห์ น้ำหนักแรกเกิด 1,420 กรัม Apgar score นาทีที่ 1 เท่ากับ 6 นาทีที่ 5 เท่ากับ 8 ใส่ท่อช่วยหายใจ ต่อมาเกิดระบบทางเดินหายใจล้มเหลว ระหว่างการรักษามีภาวะตัวเย็น น้ำตาลในเลือดต่ำ ซีด ตัวเหลือง ติดเชื้อและช็อกจากการติดเชื้อรุนแรง พบเลือดออกในโพรงสมองระดับ 1 รักษาในหอผู้ป่วยทารกวิกฤตรวม 16 วัน อาการคงที่ย้ายมาหอผู้ป่วยทารกป่วย เพื่อดูแลให้นมทางสายยางและฝึกดูดนมมารดา รวมวันนอนโรงพยาบาล 26 วัน น้ำหนักก่อนกลับบ้าน 1,810 กรัม
สรุปข้อมูลของผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บป่วยในอดีต ปัจจุบัน แผนการดูแลรักษาระยะวิกฤต พ้นวิกฤตมีความคล้ายกันมาก กระบวนการดูแลทารกกลุ่มเปราะบางนี้ ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ พยาบาลสมรรถนะสูง ปฏิบัติตามมาตรฐานการการพยาบาลอย่างเคร่งครัด ประเมินได้ถูกต้อง รวดเร็วและต่อเนื่อง ตัดสินใจให้การดูแลช่วยเหลือทันท่วงที มีอุปกรณ์พร้อมใช้ ส่งผลให้อาการดีขึ้นเร็ว เกิดความปลอดภัยไม่มีภาวะแทรกซ้อน ทารกเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัย
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2566). รายงานสถานการณ์ทารกเกิดก่อนกำหนดในประเทศไทย ปีงบประมาณ 2566.
กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข.
เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์, & วีณา จีระแพทย์. (2565). การพยาบาลทารกที่มีภาวะหายใจลำบากในระยะวิกฤต.
วารสารการพยาบาลทารก, 12(2), 78-85.
เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์ และวีณา จีระแพทย์. (2565). การประเมินภาวะสุขภาพแรกเกิด ฉบับปรับปรุง
(พิมพ์ครั้งที่ 4). โอ เอส พริ้นติ้งเฮ้าส์.
จรรยา จิระประดิษฐา. (2566). การพัฒนาคุณภาพการรักษาทารกเกิดก่อนกำหนดเพื่อลดอัตราการเกิดโรค
ปอดเรื้อรัง ใน Practice Updates in Neonatology. กรุงเทพฯ: อินเตอร์พริ้น ซัพพลาย
พิมลรัตน์ ไทยธรรมยานนท์. (2545). การดูแลทารกน้ำหนักแรกเกิดน้อยและทารกเกิดก่อนกำหนด.
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์การแพทย์.
พิมลรัตน์ ไทยธรรมยานนท์. (2554). การพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนดในภาวะวิกฤต.
วารสารพยาบาลศาสตร์, 11(1), 56-60.
สถิติหน่วยงานทารกป่วย กลุ่มงานกุมารเวชกรรม. (2567). มหาสารคาม: โรงพยาบาลมหาสารคาม.
Blackburn, S.T., & Loper, D. L. (1992). Maternal, fatal, and neonatal physiology,
Philadelphia: W.B.Saunders.
Guo, J., & Wang, L. (2019). Neonatal complications and care of preterm infants with low birth
weight. Journal of Neonatal Medicine, 28(3), 245-252.
Hassan, M., & Wright, M. (2017). Neonatal care and the importance of team-based
approaches. Journal of Neonatal Nursing, 25(4), 215-221.
Klein, S., & Campbell, R. (2019). Interdisciplinary teamwork in neonatal care: A guide for
healthcare providers. Springer.
Smyth, R., Williams, R., & Thompson, J. (2020). Preterm birth and respiratory distress
syndrome in neonates: Advances in neonatal care. International Journal of Pediatrics,
(2), 215-220.
WHO. (2020). Preterm birth: Key facts. World Health Organization.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.