A-line Strong ป้องกันอุบัติการณ์เลื่อนหลุดของสายสวนหลอดเลือดแดง

ผู้แต่ง

  • ลักขณา พันธ์วาสนา โรงพยาบาลกาฬสินธุ์
  • พัชรีย์ ไสยนิตย์ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์
  • ธนิน สุวรรณชาติ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การป้องกัน, สายสวนหลอดเลือดแดง

บทคัดย่อ

การติดตามความดันโลหิตผ่านการใส่สายสวนวัดความดันโลหิตทางหลอดเลือดแดงส่วนปลาย เพื่อติดตามความดันโลหิตอย่างต่อเนื่อง เป็นวิธีการที่ใช้กับผู้ป่วยวิกฤตและผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการผ่าตัด รวมถึงผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานานซึ่งจำเป็นต้องวิเคราะห์ก๊าซในหลอดเลือดแดง ตำแหน่งที่นิยมใส่สาย สวนหลอดเลือดแดงที่สุดเนื่องจากหาได้ง่าย คือ Radial artery และตำแหน่งอื่นๆ ได้แก่ Brachial artery และUlnar artery ผู้ป่วยจะมีการขยับตัวงอแขนหรือข้อมือทำให้ Arterial line มีโอกาสหักงอหรือเลื่อนหลุดสูง หากมีการหักงอหรือเลื่อนหลุดจะทำให้การเฝ้าติดตามความดันโลหิตผู้ป่วยทำได้ไม่ต่อเนื่องและไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดความชอกช้ำของเส้นเลือดแดงหรือบางครั้งแพทย์จำเป็นต้องใส่สาย Arterial line ใหม่ทำให้ผู้ป่วยต้องเจ็บตัว เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เสียเวลา และเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ผู้รับผิดชอบโครงการจึงสนใจจัดทำนวัตกรรม A-line Strong ขึ้น โดยจากเดิมมีการสร้างนวัตกรรมขึ้นมาแล้ว 1 ครั้ง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำจากผ้าทำความสะอาดยากและยังเกิดการเลื่อนหลุดของสายสวนหลอดเลือดแดง เพื่อให้ได้อุปกรณ์ที่แข็งแรง ทนทาน ทำความสะอาดง่าย เมื่อใช้งานแล้วไม่เกิดผลกระทบกับผู้ป่วย จึงได้คิดค้นและทำการออกแบบร่วมกันกับงานกายอุปกรณ์สร้างนวัตกรรมนี้ขึ้นมาใช้งานจริง

ผลลัพธ์ : - ไม่มีการหักงอหรือเลื่อนหลุดของสายสวนหลอดเลือดแดง - การประเมินความดันโลหิตผ่านสายสวนทางหลอดเลือดแดงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

References

การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่ทำหัตถการแทงสายสวนหลอดเลือดแดง. [เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2564]. สืบค้นจาก http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJM-vcm1513613

ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. (2558). มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยที่ใส่ Arterial-line. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์.

Burdette, S., D. Systemic inflammatory response syndrome. [cited 2022 September 7] Available from: http://emedicine.medscape. com/article/168943- overview – show all

Pornsirirat, T. (2015). Septic Shock. In Naowapanich,. S., and Pinyopasakul,.W.(ed.), Criticalcare : medicalnursing. Bangkok: Parbpim Ltd.

Rhodes, A., et al. (2017). Surviving sepsis campaign: international guidelines for management of sepsis and septic shock 2016. Intensive care medicine, 43, 304-377.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-01

ฉบับ

บท

รายงานผลการวิจัย