การพัฒนาแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี คลีนิคโรคตับ โรงพยาบาลกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
ไวรัสตับอักเสบซี, แนวทางการพยาบาล, การเข้าถึงบริการบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี (HCV) ในคลินิกโรคตับ โรงพยาบาลกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ดำเนินการ 3 ระยะ ได้แก่ การศึกษาสถานการณ์ การพัฒนาแนวทาง และการประเมินผลลัพธ์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ทีมสหวิชาชีพ 10 คน และผู้ป่วย HCV รายใหม่ 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี แบบสอบถามความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเอง แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Paired t-test ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
- ศึกษาสถานการณ์ พบปัญหาการดูแลผู้ป่วย HCV ที่สำคัญ ได้แก่ การขาดระบบส่งต่อและติดตามที่ชัดเจน ผู้ป่วยต้องเดินทางมารับบริการหลายครั้งก่อนเริ่มรับยา ขาดแนวทางส่งเสริมการดูแลตนเอง ทำให้มีอัตราการขาดนัด ขาดยา และความล่าช้าในการเข้ารับการรักษา
- ดำเนินการพัฒนาแนวทางการพยาบาล ซึ่งประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การพัฒนาระบบบริการแรกรับแบบครบวงจร 2) การส่งเสริมการดูแลตนเอง 8 สัปดาห์ 3) แนวทางการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย (DMETHOD KH2) 4) ระบบส่งต่อไร้รอยต่อ และ 5) ระบบติดตามผู้ป่วยหลังรักษา
- ประเมินผล พบว่า ผู้ป่วย HCV รายใหม่ 42 คน มีคะแนนความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) อัตราการขาดนัดลดลงเหลือร้อยละ 0 อัตราการขาดยาลดลงเหลือร้อยละ 2.38 ระยะเวลารอรับยาสั้นลง ระบบบริการมีประสิทธิภาพสูงขึ้น อัตราการรักษาหายขาดร้อยละ 100 ทีมสหวิชาชีพและผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อแนวทางในระดับมากที่สุด
สรุปว่า แนวทางทางการพยาบาลผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี คลีนิคโรคตับ ที่พัฒนาขึ้นช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการ ส่งเสริมการดูแลตนเอง ลดอุปสรรคในการรักษา และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย HCV ได้อย่างมีประสิทธิผล
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2565). แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไวรัสตับอักเสบของประเทศไทย พ.ศ. 2565-2570. กรุงเทพฯ: สำนักโรคติดต่อทั่วไป.
เกษราภรณ์ มงคลวัจน์.(2565).การพัฒนาระบบการจัดการสุขภาพตนเองของผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ระหว่างรอกระบวนการรักษาในโรงพยาบาลหล่มสัก. เพชรบูรณ์เวชสาร, 2(3), 218-233.
ทวีศักดิ์ แทนวันดี. (2561). สถานการณ์ไวรัสตับอักเสบซีในประเทศไทยและแนวทางควบคุมโรค. วารสารโรคติดต่อ, 44(2), 75-83.
เทียมใจ ตั้งเจริญไพศาล. (2566).การศึกษาการใช้ยาเม็ด Sofosbuvir (400mg) + Velpatasvir (100mg) ในการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง ในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์. การวิจัยทางคลินิกด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ,37(2), 67-77.
ธีรารัตน์ ทับทิมทอง. (2566).การพัฒนารูปแบบการดูแลตนเองของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี โดยการประยุกต์ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ในคลินิกโรคระบบทางเดินอาหารและตับ งานผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลหนองคาย. สารสนเทศโรงพยาบาลหนองคาย.
นภา วงค์จำปา และคณะ.(2567). การพัฒนาระบบบริการงานพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน, 9(1), 759-768.
อุมาภรณ์ บุญเปี่ยม และศันสนีย์ วรศรีหิรัญ.(2567). การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี ที่รับบริการคลินิกโรคตับ ห้องตรวจอายุรกรรม โรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลก. วารสารการพยาบาลสุขภาพ และสาธารณสุข, 3(1), 40-55.
Chen, S. L. (2006). Hepatitis C: Prevention, diagnosis, and treatment. American Family Physician, 74(7), 1099-1106.
Cramp, M. E. (2014). Hepatitis C virus: Virology, clinical features, diagnosis, and treatment. Medicine, 42(4), 187-194. https://doi.org/10.1016/j.mpmed.2014.01.007
Kemmis s, Mctaggart R. (1988). The Action Research Planer 3ed. Victoria: Deakin University.
WHO. (2021). Global progress report on HIV, viral hepatitis and sexually transmitted infections, 2021: Accountability for the global health sector strategies 2016–2021. World Health Organization.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.