การพัฒนารูปแบบการจัดการความปวดผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายโรงพยาบาลชนบท

ผู้แต่ง

  • ปัทมาภรณ์ นาบุตรบุญ โรงพยาบาลชนบท
  • รัชนี พจนา โรงพยาบาลชนบท
  • จันจิรา วิทยาบำรุง โรงพยาบาลชนบท

คำสำคัญ:

การจัดการความปวด, ผู้ป่วยมะเร็ง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาและผลการพัฒนารูปแบบการจัดการความ ปวดผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายโรงพยาบาลชนบท กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร และพยาบาลวิชาชีพงานผู้ป่วยใน โรงพยาบาลชนบท รวม 12 ราย และผู้ป่วยหรือผู้ดูแลหลัก จำนวน 14 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินระดับการปวดหลังจัดการความปวดด้วยการบอกเป็นตัวเลข แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสนทนากลุ่ม แบบประเมินผลลัพธ์รูปแบบการจัดการความปวด แบบประเมินความพึงพอใจการจัดการความปวดของผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย แบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการจัดการอาการปวด แบบบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วย ทำการศึกษาในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ.2565 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ.2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ก่อนได้รับการพัฒนารูปแบบการจัดการความปวด การบริหารยาแก้ปวด Opioids ร่วมกันสหสาขาวิชาชีพยังไม่ชัดเจนตั้งแต่แรกรับในการประเมินความปวดร่วมกัน การจัดการความปวดขึ้นอยู่กับแนวทางการรักษาของแพทย์แต่ละคน ขาดการนำเครื่องมือในการประเมินความปวดมาใช้เป็นแนวทางจัดการปวดร่วมกัน หลังได้รับการพัฒนา พบว่า กลุ่มผู้ป่วยได้รับมอร์ฟีนทั้ง 14 ราย มีอาการปวดลดลงและสามารถกลับไปดูแลต่อเนื่องที่บ้านได้ทุกราย  โดย พึงพอใจที่ได้รับการจัดการความปวดและมีความปวดลดลง คิดเป็นร้อยละ 98.57  การจัดการความปวดมีความเหมาะสมในการนำมาใช้ในงานผู้ป่วยใน คิดเป็นร้อยละ 94.60 และทุกวิชาชีพมีความพึงพอใจมีความพึงพอใจร้อยละ 96.0 จากผลการศึกษา แสดงให้เห็นว่าการจัดการความปวดผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย ต้องมีรูแบบให้ชัดเจน ต้องมีการวางแผนและสื่อสารแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อให้สามารถจัดการความปวดร่วมกันแบบมีประสิทธิภาพโดยญาติหรือผู้ดูแลมีส่วนร่วม สหสาขาวิชาชีพจึงต้องมีการกำหนดรูปแบบการจัดการความปวดซึ่งเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมานและไม่สุขสบายในวาระสุดท้ายของชีวิตที่เหลืออยู่ 

References

เกษกนก กมลมาตยกุล, จาริกา แก้วบรรจง.(2555). การจัดการความปวดผู้ป่วยมะเร็ง. ข่าวสารการแพทย์ศูนย์องค์รวมเพื่อการศึกษาและการบำบัดโรคมะเร็ง หน่วยมะเร็งวิทยามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 5 (1),13-15.

เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร. (2558). การวิจัยเชิงปฏิบัติการสำหรับวิชาชีพการพยาบาล. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

จงลักษ์ รสสุขุมาลชาติ และพนารัตน์ เจนจบ. (2564). การพัฒนาแนวทางการจัดการความปวดสำหรับพยาบาล ในโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. เชียงรายเวชสาร, 13 (1), 182-199.

ทธิณัฐ ประพุทธนิติสาร. (2546). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม:แนวคิดและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนทุนวิจัย (สกว.).

ปริพนธ์ พิชยพาณิชย์,ชวลิต ชยางศุ. (2564). ปวดจากมะเร็ง (Cancer Pain) สำหรับนักศึกษาแพทย์ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปและบุคคลที่สนใจ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 36 (2), 475-483.

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาดัชนี ประเมินภาวะโรคและสุขภาพประชากรไทย สำนักพัฒนานโยบายสุขภาพประชากรไทย. (2555). Cancer control, Knowledge into action World Health Organization 2007. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข.

มนต์รัตน์ ภูกองชัย. (2563). แนวปฏิบัติการพยาบาลการจัดการความปวดในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองโรงพยาบาลชุมชนจังหวักาฬสินธุ์.วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 5 (4), 128-135.

ยศพล เหลืองโสมนภา และคณะ. (2558). ความคิดที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับความปวด : แนวคิด และการนำไปใช้ในการวิจัยความปวดในประเทศไทย. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า, 32 (3), 256-269.

โรงพยาบาลชนบท. (2562). รายงานผู้ป่วยระยะท้ายประจำปีงบประมาณ 2560-2562. ขอนแก่น : โรงพยาบาลชนบท.

ศรีเวียง ไพโรจน์กุล.(2559). โครงการพัฒนาระบบการเข้าถึงยาระงับปวดกลุ่ม opioids ในผู้ป่วยระยะท้ายในพื้นที่ สปสช.เขต 7. ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

Lanker VA, Velghe A, Hecke VA, Verbrugghe M,Noorgate VN, Grypdonck M,et al.(2015). Prevalence of Symptoms in Older Cancer Patients Receiving Palliative Care : A Systematic Review and Meta-Analysis, 47(1), 90-104.

Warfield, C. A. & Fausett, H. J. (2002). Manual of Pain Management (2nd ed.). PhiLadelphia : Lippincott Williams & Wilkins.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-04

ฉบับ

บท

รายงานผลการวิจัย