ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันหลอดเลือดดำอักเสบในผู้ป่วยที่ได้รับยาหัวใจหรือยาออกฤทธิ์บีบหลอดเลือด (Amiodarone /vasopressors) หอผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ โรงพยาบาลขอนแก่น
คำสำคัญ:
แนวปฏิบัติการพยาบาล, หลอดเลือดดำอักเสบ, ยาหัวใจหรือยาออกฤทธิ์บีบหลอดเลือดบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi- experimental research) แบบสองกลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบในผู้ป่วยได้รับยาหัวใจหรือยาออกฤทธิ์บีบหลอดเลือด (Amiodarone/vasopressors) ต่อการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ ระดับความรุนแรงหลอดเลือดดำอักเสบ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 60 ราย เป็นผู้ป่วยได้รับยาหัวใจหรือยาออกฤทธิ์บีบหลอดเลือด เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ โรงพยาบาลขอนแก่น ในระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน 2566 โดยกลุ่มควบคุมจำนวน 30 ราย ได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลองจำนวน 30 ราย ได้รับดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันหลอดเลือดดำอักเสบในผู้ป่วยได้รับยาหัวใจหรือยาออกฤทธิ์บีบหลอดเลือดที่พัฒนาขึ้น เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานที่หอผู้ป่วยหนัก จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1)เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินการเกิดและระดับความรุนแรงหลอดเลือดดำอักเสบ แบบสอบถามความคิดเห็นพยาบาลต่อการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล แบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลต่อการแนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น 2) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบที่พัฒนาขึ้น โดยใช้โมเดลการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของซูคัพ โดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และเปรียบเทียบอุบัติการณ์หลอดเลือดดำอักเสบ ระดับความรุนแรงหลอดเลือดดำอักเสบ ใช้สถิติ Independent T-test
ผลการศึกษา พบว่า
- การเกิดหลอดเลือดดำอักเสบในกลุ่มทดลอง น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)
- ระดับความรุนแรงการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ พบว่า กลุ่มทดลองมีระดับความรุนแรงหลอดเลือดดำอักเสบ น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)
- ความคิดเห็นต่อแนวปฏิบัติการพยาบาลฯที่พัฒนาขึ้น มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ ร้อยละ100
- ความพึงพอใจของพยาบาลต่อการแนวปฏิบัติการพยาบาลฯ ในระดับดีมากร้อยละ 90
References
กาญจนา อุดมอัษฎาพร, และมยุรี พรมรินทร์. (2561). ประสิทธิผลของการใช้แนวทางปฏิบัติการป้องกัน การอักเสบของหลอดเลือดดำและการรั่วซึมออกนอกหลอดเลือดดำจากการใช้ยากระตุ้นการหดตัวของหลอดเลือดหอผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 14(1), 35-45.
กิตติรัตน์ ศวัสดิ์รักษ์, ศันสนีย์ ชัยบุตร. (2561). การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย ที่โรงพยาบาลชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร, 38(3), 50-60.
ชมรมเครือข่ายพยาบาลผู้ให้สารน้ำแห่งประเทศไทย. (2561). แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ. กรุงเทพฯ : ชมรมเครือข่ายพยาบาลผู้ให้สารน้ำแห่งประเทศไทย.
ชุติมา รัตนบุร. (2559). ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลผู้ป่วยหย่าเครื่องช่วยหายใจ ในหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช].
ฐิติพร ปฐมจารุวัฒน์. (2559). ผลของการใช้แนวทางการปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันและจัดการภาวะ Extravasation. Thai Journal of Nursing Council, 31(2), 81-95.
ฐิติพร ปฐมจารุวัฒน์. (2560). การป้องกันและการจัดการกับการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของหรือ สารน้ำ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 37(2),169-181.
ธีรารักษ์ นำภานนท์, วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร, อุษณีย์ จินตะเวช. (2558). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ในเขตภาคเหนือ. พยาบาลสาร, 42 ฉบับพิเศษ พฤศจิกายน, 49-60.
นภสร ดวงสมสา. (2561). การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์, 2(1), 64–81.
นาริณี ไข่สมบัติ. ยาฉีดและความเสี่ยงหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ.[อินเตอร์เน็ต].2561.[เข้าถึงเมื่อ 10 มีนาคม 2566].ได้จาก http://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option.
นิภาพร พรมดวงดี, อรัญญา เนียมปาน. (2559). คู่มือการพยาบาลการดูแลผู้ป่วยที่แทงและคาเข็มทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย. ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล .
ปาจรีย์ ศักดิ์วาลี้สกุล, และอุษณีย์ ศิริวงศ์พรหม. (2562). ผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันหลอดเลือดดำอักเสบจากการได้รับยานอร์อีพิเนฟริน. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 25(2), 92-108.
วิมลวัลย์ วโรฬาร. (2560). หลอดเลือดดำอักเสบในผู้ป่วยเด็ก: การป้องกันและการดูแล. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 28(1), 16-28.
วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร และคณะ. (2557). การส่งเสริมการปฏิบัติของพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในการจัดการสายสวนหลอดเลือดดำส่วนปลาย. พยาบาลสาร,41(5),71–87.
Cicolini G, Simonetti V, Comparcini D, Labeau S, Blot S, Pelusi G, et al. (2014). Nurse knowledge of evidencebased gulideline on the prevention of peripheral venous catheter- related infection: a multicenter survey. Journal of Clinical Nursing,23(17-18), 2578-88.
Masoumeh BN, Shorofi SA, Hashemi-Karoie SZ, Khalilian A. (2015). The effects of sesame oil on the prevention of amiodarone-induced phlebitis. Iranian Journal of Nursing and Midwifery Research, 20(3), 365–370.
Woody G, Davis BA. (2013). Increasing nurse competence in peripheral intravenous therapy. Journal of Infusion Nursing, 36(6), 413-19.
Soukup, S. M. (2000). The Center for Advanced Nursing Practice evidence-based practice model: promoting the scholarship of practice. The Nursing Clinics of North America, 35(2), 301-309.
The Joanna Briggs Institute. New JBI Levels of Evidence [online] (2014). [cited 2014 June 20].Available from: http://joannabriggs.org/assets/docs/approach/JBI-Levels-of-evidence
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.