การพยาบาลระยะฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรควัณโรคปอดที่มีโรคร่วมและการเตรียมความพร้อม กลับสู่สังคม : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • นิตยา ฉายบุญครอง กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

โรควัณโรคปอด, การพยาบาลระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ, การเตรียมพร้อมกลับสู่สังคม

บทคัดย่อ

วัณโรคเป็นโรคที่มีการแพร่กระจายและติดต่อได้ง่าย อาจมีภาวะแทรกซ้อนของโรค รวมถึงเป็นโรคที่ใช้ระยะเวลาในการรักษานานและค่าใช้จ่ายต่อรายที่สูง การให้การพยาบาลที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยลดภาวะแทรกซ้อนและมีโอกาสกลับไปเป็นปกติได้มากขึ้น การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาการพยาบาลระยะฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรควัณโรคปอดที่มีโรคร่วมและการเตรียมความพร้อมเพื่อกลับสู่สังคม ผู้ป่วยที่เข้ารักษาในห้องแยกหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จำนวน 2 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูล รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน จากการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและครอบครัวและการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลพยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษา การประเมินภาวะสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน กำหนดข้อวินิจฉัยและให้การพยาบาลรวมถึงประเมินผลลัพธ์การพยาบาลใน 2 ระยะ ได้แก่ ระยะรักษา ระยะฟื้นฟูและวางแผนจำหน่ายกลับสู่สังคม ผลการศึกษา พบว่า กรณีศึกษารายที่ 1 ชายไทยอายุ 48 ปี อาการสำคัญ เหนื่อยเพลีย ไอเรื้อรัง แน่นหน้าอกเล็กน้อย หายใจลำบากเล็กน้อย น้ำหนักตัวลดลง 5 กิโลกรัม ได้รับการวินิจฉัยเป็น Pulmonary Tuberculosis with Hypertension with Dyslipidemia กรณีศึกษารายที่ 2 ชายไทยอายุ 52 ปี อาการสำคัญไอบ่อยมีเลือดปน มีไข้ต่ำๆ ตลอดคืน เหนื่อยเพลียปวดเมื่อยตามตัว แน่นหน้าอกเล็กน้อย หายใจหอบหลังไอ น้ำหนักตัวลดลง 6 กิโลกรัม ได้รับการวินิจฉัยเป็น Pulmonary Tuberculosis with Silicosis with Type 2 Diabetes สรุปกรณีศึกษาแสดงให้เห็นว่า พยาบาลเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ ในการประเมินและค้นหาปัญหาผู้ป่วย ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลเป็นไปอย่างราบรื่น การพยาบาลมุ่งเน้นเมื่อกลับสู่สังคม ในเรื่องการให้ความรู้ การปฏิบัติตัวในระยะฟื้นฟูและรักษาต่อเนื่อง การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อและรับเชื้อโรคจากคนอื่น รวมถึงการให้ข้อมูลความรู้เรื่องโรคซิลิโคสิส ในสถานประกอบการทำงาน ให้พนักงานในสถานประกอบการทราบเพื่อป้องกันการเกิดโรคซ้ำในพนักงานคนอื่น ๆ

References

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2558). ระบบเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพและ สิ่งแวดล้อม. สำนักงานระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข : ตุลาคม 2558. กรุงเทพ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. (2556). แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ พ.ศ.2556. สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. (2561). แผนปฏิบัติการระดับชาติ ด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ. 2560-2564. สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค.(2564). แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ.2564. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

World Health Organization.(2021). Global Tuberculosis Report 2021. Geneva, Switzerland : WHO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-20

ฉบับ

บท

บทความทางวิชาการ