ผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพเพื่อป้องกันและควบคุมการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • ประภาวดี เวชพันธ์ โรงพยาบาลขอนแก่น
  • อรอุมา โชติมโนธรรม โรงพยาบาลขอนแก่น
  • สิริพงษ์ แทนไธสง โรงพยาบาลขอนแก่น
  • สุภาพรณ์ ตัณฑ์สุระ โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

โปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ, การดื้อยาต้านจุลชีพ, การรับรู้ความสามารถตนเอง

บทคัดย่อ

การแก้ไขปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาลดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 3 แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564 ประเด็นสำคัญความสำเร็จคือ การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรด้านโรคติดเชื้อและการกำกับติดตามประเมินผลการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพในสถานพยาบาล การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) ชนิดหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง (one group pretest-posttest design)  ผลการศึกษา  พบว่า ภายหลังจากการเข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพเพื่อป้องกันและควบคุมการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ ทำให้พยาบาลวิชาชีพมีความรู้และการรับรู้ความสามารถตนเองเพิ่มมากขึ้นกว่าก่อนการได้รับโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพเพื่อป้องกันและควบคุมการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % (P< 0.001) สามารถขยายผลให้ครอบคลุมพยาบาลควบคุมการติดเชื้อในหอผู้ป่วย และนำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการตรวจราชการแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (service plan) สาขาการจัดการเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ เขตสุขภาพที่ 7

References

คณะกรรมการประสานและบูรณาการงานด้านการดื้อยาต้านจุลชีพ.(2559). แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพฯ : กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา สำนักงานนโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ องค์การอนามัยโลก.

ณัฐวิภา บุญเกิดรัมย์, วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร และพิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น. (2563). การพัฒนาแผนการดูแลทางคลินิกสำหรับการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจาย ของเชื้อดื้อยาหลายกลุ่มในโรงพยาบาล. พยาบาลสาร, 47(1), 123-137.

นุชนาถ สีสุกใส. (2562). ผลของการให้ความรู้และข้อมูลย้อนกลับต่อการปฏิบัติการป้องกันเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนานในพยาบาล [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประภัสสร เดชศรี, นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล และนงคราญ วิเศษกุล. (2564). ผลของกลยุทธ์ที่หลากหลายวิธีต่อความรู้และการปฏิบัติการ ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนานในพยาบาล หอผู้ป่วยกึ่งวิกฤติ โรงพยาบาลศูนย์. พยาบาลสาร, 48(3), 154 – 166.

ประยูร จำปาปี, วีณา อิศรางกูร ณ อยุธยา และชนะพล ศรีฤาชา. (2566). ประสิทธิผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด เพื่อความปลอดภัยและป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ในโรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 20(1), 97-110.

ปิยะฉัตร วิเศษศิริ, อะเคื้อ อุณหเลขกะ และนงเยาว์ เกษตร์ภิบาล. (2558). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อดื้อยา ของบุคลากรพยาบาล แผนกอายุรกรรมในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ.พยาบาลสาร,42(3), 119-134.

พรพิมล อรรถพรสกุล และคณะ.(2564). ผลลัพธ์ของการนำใช้แนวทางปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท.,3(3), 1-15.

วิลาวรรณ ล้วนคงสมจิตร และคณะ. (2565). การประเมินการดำเนินงานระยะครึ่งปีตามแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560 – 2564.วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 16(2), 183-201.

ศิริพร ชุดเจือจีน, ประไพพิศ สิงหเสม และสุดารัตน์ วุฒิศักดิ์ไพศาล.(2560). ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการสร้างเสริมทักษะชีวิตต่อพฤติกรรมสุขภาพทางเพศของนักเรียน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(2), 268 – 280.

สมฤดี ชัชเวช และคณะ.(2560). ผลของการนำใช้แนวทางปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยาในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 3(14), 697–708.

สมสมัย บุญส่อง.(2561). การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยาในแผนกศัลยกรรมประสาท โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุภาพร ศรีพนม และดลวิวัฒน์ แสนโสม. (2563). ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการป้องกันการติดแบคทีเรียกลุ่ม Enterobacteriaceae ที่ดื้อต่อยากลุ่ม Carbapenem (CRE) ในผู้ป่วยที่ใสท่อช่วยหายใจ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 38(4), 181-190.

Bandura A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. New York : Freeman.

Lin TY, Lin CT, Chen KM AND Hsu HF. (2021). Information technology on hand hygiene compliance among health care professionals: A systematic review and meta-analysis. Journal of Nursing Management, 29, 1857-1868.

World Health Organization.(2016). Antimicrobial Resistance: a manual for developing national plans. Geneva Switzerland: WHO Document Production Services.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-20

ฉบับ

บท

รายงานผลการวิจัย