การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมที่ห้องผ่าตัดโรงพยาบาลมหาสารคาม
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมที่ห้องผ่าตัดโรงพยาบาลมหาสารคาม รูปแบบการวิจัย : วิธีการศึกษา เชิงปฏิบัติการ (Action Research) ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ระยะที่ 2 พัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ระยะที่ 3 ประเมินความรู้ ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัด กลุ่มตัวอย่าง เลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposing Sampling) คือพยาบาลวิชาชีพในห้องผ่าตัด จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย : ได้แก่ การสนทนากลุ่ม การประเมินความรู้และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบภายในกลุ่ม ได้แก่ Paired Sample T-Test ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 23 คน โดยพบว่า การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ที่เกี่ยวกับแนวทางการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม สำหรับพยาบาลวิชาชีพ หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ความพึงพอใจต่อการพัฒนาแนวทางการผ่าตัดผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม โดยรวมค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 (SD = 0.61) สรุปผลการศึกษา : พยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัด มีความรู้และความพึงพอใจในการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
References
กิจภรณ์ เอื้อตรงจิตต์, อรสา พันธ์ภักดี, อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ.(2555). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง. วารสารสภาการพยาบาล, 27(2), 5-16.
กนิษฐา อิสสระพันธุ์, เพียงฤทัย โรจน์ชีวิน. (2559). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการเตรียมผ่าตัด สมองในผู้ป่วยบาดเจ็บทีศีรษะ. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 25(5), 825-830.
งานสารสนเทศโรงพยาบาลมหาสารคาม. (2565). สถิติผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่ข้อสะโพกเทียมโรงพยาบาลมหาสารคาม ปี 2563-2565. มหาสารคาม : โรงพยาบาลมหาสารคาม.
ชูใจ วินิจ. (2557). ผลการพัฒนางานห้องผ่าตัดต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการโรงพยาบาลสุโขทัย. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.9 พิษณุโลก, 2(1), 1-10.
จักรพงศ์ปิติโชคโภคินท์, มยุนา ศรีสุภนันต์, สุรีย์ จันทรโมรี, ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2562). การพัฒนารูปแบบการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะวิกฤตในโรงพยาบาลนาตาลจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุบลราชธานี, 37(1), 88-97.
ธีระพันธ์ โต้หนองแปน. (2566). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 3(1), 6-16.
เนตรเพชรรัสมิ์ ตระกูลบุญเนตร. (2560). ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการของแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลนวุติสมเด็จย่า. วารสารพยาบาลตำรวจ, 9(2), 64-74.
ละมัย รอดทรัพย์, อรนิต สุรินทรากร. (2565). การพัฒนาการปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุกระดูกข้อสะโพกที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก. วารสารกระทรวงสาธารณสุข, 21(1), 22-34.
วิภาพร ลีเลิศมงคลกุล, สุพร ดนัยดุษฎีกุล, วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์, พล อุดมเกียรติ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกายความเจ็บปวดและการสนับสนุนทางสังคมกับการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันใน ระยะฟื้นตัวในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม. วารสารพยาบาลศาสตร์, 31(2), 26-37.
วันทนีย์ คุปวานิชพงษ์, อรดี ตอวิวัฒน์, วารุณี กุลราช, สุลักขณา จันทวีสุข. (2564). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์สำหรับผู้ป่วยผาตัดลิ้นหัวใจไมตรัลเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัด โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 32(1), 258 – 273.
ศุภพร ศรีพิมาน, ปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา, ชุติวรรณ ปุรินทราภิบาล. (2563). ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสะโพก หอผู้ป่วยศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลสงขลา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 3(2),149-165.
สุมาลี วุ่นเหลี่ยม. (2563). การพัฒนาแนวปฏิบัติโดยใช้นวัตกรรมหมอนสามเหลี่ยม ในดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกทั้งเบ้า (ผ่าด้านหลัง) โรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม,17(1), 250-258.
สายวลุน จันทคาม , นฤมล สินสุพรรณ, และชนะพล ศรีฤาชา. (2566). การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยวิกฤตโควิด-19 ของพยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยเฉพาะโรค โรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 20(1), 162-174.
เอมมิกา สุขสถิตย์, สุพร ดนัยดุษฎีกุล, อรพรรณ โตสิงห์, ก้องเขต เหรียญสุวรรณ. (2565). ปัจจัยทำนายระยะวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยหลังผ่าตัดข้อสะโพกเทียม. วารสารพยาบาลศาสตร์, 40(4),101-22.
Panteli M, Habeeb S, McRoberts J, Porteous MJ. (2014). Enhanced care for primary hip arthroplasty: factors affecting length of hospital stay. Eur J Trauma Emerg Surg, 24(3), 353-8.
Sloan M, Premkumar A, Sheth NP. (2018). Projected volume of primary total joint arthroplasty in the U.S., 2014 to 2030. J Bone Joint Surg Am, 100(17),1455-60.
Stephen Kemmis, Robin McTaggart, Rhonda Nixon. (2014). The Action Research Planner: Doing Critical Participatory Action Research Singapore: Springer Singapore. https://link.springer.com/10.1007/978-981-4560-67-2
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.