ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คำสำคัญ:
ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรมป้องกัน, โรคโควิด-19บทคัดย่อ
โควิด-19 เป็นโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ที่มีการแพร่กระจายเชื้ออย่างรวดเร็วและทำให้มีอาการเจ็บป่วยตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงอาการรุนแรง การป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อจึงเป็นมาตรการที่สำคัญ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีการศึกษา 2564 จำนวน 381 คน ได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย และการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด-19 มีค่าความเชื่อมั่น 0.72 แบบสอบถามทัศนคติ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด-19 มีค่าความเชื่อมั่น 0.87 และ 0.76 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 66.7 ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ระหว่าง 18–20 ปี คิดเป็นร้อยละ 56.7 ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด-19 ของนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อยู่ในระดับดี ร้อยละ 96.9 ทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด-19 ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม อยู่ในระดับดี ร้อยละ 99.2 พฤติกรรมเกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด-19 ของนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อยู่ในระดับดี ร้อยละ 77.7 ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ความรู้มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมเกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด-19 (rs = 0.132, p < 0.01) ในระดับน้อย และทัศนคติมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมเกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด-19 (rs = 0.515, p < 0.01) ในระดับปานกลาง และจากผลการวิจัยสามารถนำไปเป็นแนวทางในการส่งเสริมและป้องกันโรคโควิด-19 ภายในสถานศึกษา
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563ข). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). [อินเตอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม2564. จากเว็ปไซต์https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/introduction.php
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564ข). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. [อินเตอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2564 .จากเว็ปไซต์ https://ddc.moph.go.th
กองทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2564). จำนวนนิสิตระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2564. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จิราพร บาริศรี, กฤติญา สุขเพิ่ม, นภัสภรณ์ ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม, พิมลศักดิ์ นิลผาย, และปิ่นบุญญา ลำมะนา. (2563). พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(6), 38-45.
ดรัญชนก พันธ์สุมา และพงสิทธิ์ บุญรักษา. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโควิด-19 ของประชาชนในตำบลปรุใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร, 36(5). 597-604
ธานี กล่อมใจ, จรรยา แก้วใจบุญ, และทักษิกา ชัชรัตน์. (2563). ความรู้และพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019. วารสารการพยาบาลการพยาบาลสาธารณสุขและการศึกษา, 21(2), 29-39.
นภชา สิงห์วีรธรรม, วัชรพล วิวรรศน์ เถาพันธ์, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, เฉลิมชัย เพาะบุญ, และสุทธิศักดิ์ สุริรักษ์. (2563). การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของทันตาภิบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 14(2), 104-115.
พัสกร องอาจ และรัชฎาภรณ์ อึ้งเจริญ. (2563). พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 : กรณีศึกษานิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร.วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข, 7(1), 87-102.
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2564). รายงานผลการดำเนินงาน การเฝ้าระวังการระบาดของเชื้อโรค COVID - 19. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดมหาสารคาม. (2564ก). คำสั่งจังหวัดมหาสารคามที่ 3357/2564. [อินเตอร์เน็ต].สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2564. จากเว็ปไซต์์ https://mkho.moph.go.th/mko/frontend/web/index.php/caregiver/7020
สุรชัย โชคครรชิตไชย. (2563). โควิด-19: การระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทยปลายปี 2563.วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 10(3), 1-2.
Bloom,B.S. (1968). Mastery learning. UCLA-CSEIP Evaluation Comment. 1(2) Losangeles. University of California at Los Angeles .
Zhong BL, Luo W, Li HM, Zhang QQ, Liu XG, Li WT, Li Y. (2020). Knowledge, attitudes, and practices towards COVID-19 among Chinese residents during the rapid rise period of the COVID-19 outbreak: a quick online cross-sectional survey. [cited 2022 DEC 15] Retrieved from http://www.ncbi.nlm.nih.gov
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.