ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฉีดวัคซีนโควิด-19(COVID-19)เข็มกระตุ้นในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • สมัคร บ่อไทย โรงพยาบาลบ้านไผ่
  • สุทิน ชนะบุญ โรงพยาบาลบ้านไผ่
  • กิตติยา ทองสุข โรงพยาบาลบ้านไผ่

คำสำคัญ:

ความเชื่อด้านสุขภาพ, โรคโควิด-19, การฉีดวัคซีนโควิด-19, ผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการฉีดวัคซีนโควิด-19เข็มกระตุ้นและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฉีดวัคซีนโควิด-19เข็มกระตุ้นในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค จำนวน 216 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ทุกข้อมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไปทุกข้อและค่าความเที่ยงของเครื่องมือโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ 0.91  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และสถิติถดถอยลอจิสติก อย่างง่ายและการถดถอยพหุลอจิสติก ผลการวิจัย พบว่าผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังมีอัตราการฉีดวัคซีนโควิด-19  เข็มกระตุ้นร้อยละ 52.8  (95% CI : ร้อยละ46.1ถึง59.5)ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฉีดวัคซีนโควิดเข็มกระตุ้นในกลุ่มผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ (1)อายุ ผู้ที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไปจะฉีดวัคซีนเป็น 3.12เท่าของผู้ที่มีอายุ 60-69 ปี (Adjusted OR= 3.12; 95%CI :1.25-7.77, P value = 0.015) (2) ระดับการศึกษาผู้ที่มีระดับการศึกษามัธยมศึกษาขึ้นไป จะฉีดวัคซีนเป็น 2.29 เท่าของผู้ที่ไม่ได้เรียนหนังสือและประถมศึกษา(Adjusted OR = 2.29; 95% CI : 1.12- 4.69, P value = 0.022) (3)สถานที่ไปรับบริการหรือปรึกษาเมื่อมีปัญหาด้านสุขภาพ ที่โรงพยาบาลบ้านไผ่ จะฉีดวัคซีนเป็น 2.37เท่าของโรงพยาบาลหรือสถานบริการอื่นๆ (Adjusted OR = 2.37; 95%CI : 1.29-4.35, P value = 0.005) (4) การรับรู้ตามความคาดหวังในประสิทธิผลวัคซีนโควิด-19 ผู้ที่การรับรู้ระดับสูงจะฉีดวัคซีนเป็น 3.32 เท่าของที่ การรับรู้ระดับต่ำ-ปานกลาง (Adjusted OR = 3.32; 95%CI : 1.46-7.52, P value = 0.004) (5)การรับรู้ความสามารถตนเองในการป้องกันโรคโควิด-19 ผู้ที่มีการรับรู้ระดับสูงจะฉีดวัคซีนเป็น2.16 เท่าของผู้ที่มีการรับรู้ระดับปานกลาง(Adjusted OR= 2.16; 95%CI : 1.17-3.98, p value=0.014) 6) การรับรู้การตัดสินใจฉีดวัคซีนโควิดเข็มกระตุ้น ผู้ที่มีการรับรู้ระดับสูงจะฉีดวัคซีนเป็น 2.51เท่าของผู้ที่มีการรับรู้ระดับต่ำ-ปานกลาง(Adjusted OR = 2.51;95%CI : 1.29-4.88, P value = 0.007) ดังนั้น บุคลากรทางการด้านสุขภาพควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชนทั้งกลุ่มป่วยและกลุ่มไม่ป่วยได้มีการรับรู้ด้านสุขภาพที่ดีและเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานความก้าวหน้าการให้บริการฉีดวัคซีน โควิด 19. [อินเตอร์เน็ต].สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2564.จากเว็ปไซด์ https://ddc. moph.go.th/vaccine-covid19/ pages.94-19

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2565). COVID-19 Interactive Dashboard [อินเทอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2565. จากเว็ปไซด์ : https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/

ไมลา อิสสระสงคราม. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการป้องกันโรคโควิด-19 กับการเข้ารับบริการฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุ.วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10, 19(2), 56-67.

จิราพร บุญโท.(2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารควบคุมโรค, 48(1), 22–32.

ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19.(2565). ข้อมูลแถลงข่าวศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19 (ศบค.) วันที่ 5เมษายน 2565 [อินเตอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ5 เมษายน 2565.จากเว็ปไซด์ https://www.facebook.com/informationcovid19/photos/pcb.535856308032698/535855348032794

โรงพยาบาลบ้านไผ่. (2565).รายงานการดำเนินการฉีดวัคซีนโควิด 19 ของกลุ่มงานระบาดโรงพยาบาลบ้านไผ่.ขอนแก่น : โรงพยาบาลบ้านไผ่.

Harapan, H. et al .(2020). Coronavirus disease 2019 (COVID-19) : A literature review. J Infect Public Health, 13(5), 667-673

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-23

ฉบับ

บท

รายงานผลการวิจัย