ผลของการพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือด ระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
แนวปฏิบัติทางการพยาบาล, โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันบทคัดย่อ
โรคหลอดเลือดสมอง เมื่อเป็นแล้วผู้ป่วยมักจะมีความพิการหรือเสียชีวิต การรักษาจะเน้นในระยะเฉียบพลันได้ผลดีที่สุดคือการให้ยาละลายลิ่มเลือดภายในเวลา 4 ชั่วโมง 30 นาที เพื่อให้เลือดกลับไปเลี้ยงสมองส่วนที่ขาดเลือดได้เร็วที่สุด การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลเชียงยืน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน ก่อนใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาล ระหว่างเดือนธันวาคม 2564 –กันยายน 2565 จำนวน 41 ราย และหลังใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาล ระหว่างเดือน ตุลาคม 2565 – กรกฎาคม 2566 จำนวน 33 ราย และพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน จำนวน 34 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพ แนวปฏิบัติทางการพยาบาลและแบบบันทึกทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์ อยู่ที่1.0 และ ตรวจสอบความเชื่อมั่นโดยการใช้สูตร สัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.82 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษา 1) ได้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลและแบบบันทึกทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลเชียงยืน และผ่านการประเมินแนวปฏิบัติ โดยใช้ AGREE พบว่าคุณภาพของแนวปฏิบัติสามารถนำไปใช้ได้จริง 2) พยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันภายหลังการพัฒนาแนวปฏิบัติ จำนวน 34 คน มีคะแนนความพึงพอใจในภาพรวมต่อแนวปฏิบัติในระดับมากกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P < 0.001 3) ด้านผู้ป่วยภายหลังการนำแนวปฏิบัติไปใช้ พบว่าค่าเฉลี่ยระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับจนกระทั่งส่งต่อออกจากโรงพยาบาลใช้ระยะเวลา 28.68นาที และมีค่าน้อยกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทางสถิติที่ P < 0.001 ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันที่พัฒนาขึ้นช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็ว เหมาะสมตามมาตรฐาน
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2559).จำนวนและอัตราการตายด้วย 5 โรคไม่ติดต่อ. Availablefrom http://www.thaincd.com/2016/mission3
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565).กรมควบคุมโรค รณรงค์วันโรคหลอดเลือดสมองโลก หรือวันอัมพาตโลก 2565 เน้นสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสัญญาณ เตือนโรคหลอดเลือดสมองให้กับประชาชน. Available from:https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=29284&deptcode=
งานบริการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวชโรงพยาบาลเชียงยืน. (2565). สถิติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือดเฉียบพลันรายใหม่งานบริการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและ
นิติเวชโรงพยาบาลเชียงยืน ปีงบประมาณ 2563-2565.
นารีรัตน์ แก้วสุทธิ, กรรณิการ์ ชัยนันท์และ สัญญา สิริพงศ์พันธ์. (2563). การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือด ระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลร้องกวาง
จังหวัดแพร่. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา, 9 (1), 15-34.
นิภาพร บุตรสิงห์. (2562). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน. วารสารสภาการพยาบาล, 34(3), 15-29.
บดีภัทร วรฐิติอนันต์ และชัชฎาพร โอศิริ. (2560). การพัฒนาการจัดการโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน ผ่านช่องทางด่วน ณ ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครปฐม.วารสารแพทย์เขต 4-5, 36 (4),
-263.
ฟองคำ ติลกสกุลชัย. (2553). แนวทางการประเมินคุณภาพแนวปฏิบัติทางคลินิก.การปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ หลักการและวิธีปฏิบัติ.กรุงเทพฯ.
สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2550). แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง.แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับพยาบาลทั่วไป ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สถาบันประสาทวิทยา.
สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์. (2562). แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันสำหรับแพทย์. กรุงเทพฯ : ธนาเพรสจำกัด.
สมศักดิ์ เทียมเก่า. (2559). โรค โลก อัมพาต 270 นาที. ขอนแก่น: หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
สมศักดิ์ เทียมเก่า. (2565). อุบัติการณ์ โรคหลอดเลือดสมอง ประเทศไทย. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย, 39 (2), 39-46.
สุรุ่งนภา ไชยอาม. (2565). ผลการพัฒนาการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรค หลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลฝาง จังหวัด เชียงใหม่.วารสารสาธารณสุขแพร่เพื่อการพัฒนา, 2(1), 16-29.
Middleton S, Grimley R, Alexandrov AW. (2015).Triage, Treatment, and Transfer:Evidence-Based Clinical Practice Recommendations and Models of Nursing Care for the First 72 Hours of Admission to Hospital for Acute Stroke. Stroke 2015, 46(2),e18- e25.
Powers William J, Rabinstein Alejandro A, Ackerson T, BSN, Adeoye Opeolu M, Bambakidis Nicholas C, Becker K, et al. (2019). Guidelines for the Early Management of Patients With Acute Ischemic Stroke: 2019 Update to the 2018 Guidelines for the Early Management of Acute Ischemic Stroke: A Guideline for Healthcare Professionals From the American Heart Association/American Stroke Association. 2019 Guidelines for Management of AIS, e344-418.
Sacco RL, Kasner SE, Broderick JP, Caplan LR, Connors JJ, Culebras A, et al. (2013). An Updated Definition of Stroke for the 21st Century A Statement for Healthcare Professionals From the American Heart Association/American Stroke Association. Stroke 2013;44:2064-2089.
Soukup, M. The center for advance nursing practice evidence base practice model. Nursing Clinics of North American, 2000, 35(2), 301-309.
Powers William J, Rabinstein Alejandro A, Ackerson T, BSN, Adeoye Opeolu M, Bambakidis Nicholas C, Becker K, et al. (2019).Guidelines for the Early Management
of Patients With Acute Ischemic Stroke: 2019 Update to the 2018 Guidelines for the Early Management of Acute Ischemic Stroke: A Guideline for Healthcare Professionals From the American Heart Association/American Stroke Association. 2019 Guidelines for Management of AIS, e344-418.
World Health Organization: WHO. (2022). World Stroke Day 2022. Available from: https://www.who.int/srilanka/news/detail/29-10-2022-world-stroke-day-2022
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.