การพัฒนารูปแบบส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการตนเอง ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลกมลาไสย
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, การจัดการตนเอง, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อพัฒนารูปแบบส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการตนเอง ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโรงพยาบาลกมลาไสย เป็นการวิจัยและพัฒนา (research and development) ผู้มีส่วนร่วมในการศึกษา ประกอบด้วย สหวิชาชีพ จำนวน 16 คน ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จำนวน 202 คนเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความรู้เรื่องโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง แบบประเมินอาการหายใจลำบาก แบบบันทึกการประเมินสมรรถภาพปอด การสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบภายในกลุ่ม ได้แก่ Paired Sample T-Test วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลจากการวิจัย พบว่า 1.สภาพปัญหาการดูแลผู้ป่วย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้เกี่ยวกับโรคทั้งสาเหตุ อาการ และแนวทางการรักษา รวมทั้งการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันและควบคุม อาการ โดยเฉพาะอาการหายใจลำบาก บางส่วนขาดทักษะและไม่เห็นความสำคัญของการใช้ยาพ่นควบคุมอาการ (Controller) ใช้ยาไม่ต่อเนื่อง ผู้ป่วยบางรายยังมีการสูบบุหรี่เป็นประจำ 2. รูปแบบการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการตนเอง ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ประกอบด้วย1) มีคณะกรรมการดำเนินงาน 2) รูปแบบการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการตนเอง ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พบว่า ผลเปรียบเทียบความรู้เรื่องโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เปรียบเทียบพฤติกรรมการปฏิบัติตัว เปรียบเทียบผลกระทบต่อสุขภาวะ ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการตนเอง ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.001) สรุปได้ว่า การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการตนเอง ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโรงพยาบาลกมลาไสยที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้ได้จริง มีประสิทธิผล ทำให้ผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรังมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองดีขึ้น มีการจัดการตัวเองที่ดี
References
งานเวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลกมลาไสย. (2565). รายงานประจำปี งบประมาณ 2565. กาฬสินธุ์: แผนกงานเวชระเบียน โรงพยาบาลกมลาไสย.
จิราพร รักษายศ, ศิริเพ็ญ สิทธิบรรณ์ (2556) ผลของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดปอดอุดกั้นเรื้อรังในคลินิกคนรักษ์ปอดโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช.วารสารวิชาการสาธารณสุข,22(6),973-978.
จรีพันธุ์ เพชรหาญ.(2549). การพัฒนาแนวปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายสำหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโรงพยาบาลร้องกวาง จังหวัดแพร่.[การค้นคว้าแบบอิสระ คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].
จันทร์จิรา วิรัช. (2544). ผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดต่ออาการหายใจลำบาก และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง.[วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].
ปราณี สายรัตน และคณะ.(2557). ผลของโปรแกรมการฝึกการจัดการตนเองต่อความสามารถในการทำหน้าที่ ของร่างกายการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. พยาบาลสาร, 41(4), 23 – 35.
ปาริชาติ ทองสาลี .(2550). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองและการฝึกปฏิบัติโยคะต่อระดับน้ำตาลในเลือดและความผาสุกของผู้ปวยเบาหวานชนิดที่ 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
รัตนา พรหมบุตร.(2550).ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่ออาการลดอาการกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
วาโร เพ็งสวัสดิ์.(2552). การวิจัยและการพัฒนา.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 1(2), 2-4.
วัชรา บุญสวัสดิ์. (2553). แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง.ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุภาภรณ์ ด้วงแพง. (2548). ความสามารถในการจัดการภาวะหายใจลำบากเรื้อรังด้วยตนเองของผู้ที่ เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา,13(2), 41-58.
สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย. (2553). แนวทางการวินิจฉัยและการรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง.กรุงเทพฯ: กราฟฟิกดีไซด์.
อัมพรพรรณ ธีรานุตร. (2542). โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง: การดูแลตนเองและการฟื้นฟูสมรรถภาพ. ขอนแก่น: โรงพิมพ์ศิริพรรณออฟเซ็ท.
Bandura, A. (1986). Social foundations of thought and action: A social cognitive theory.Englewood Cliffs. NJ: Prentice Hall.
Creer, L.T. (2000). Self-managementof chronic illness.Handbook of self-regulation.California: Academic, 601-629.
Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease (GOLD). Global strategy for diagnosis, management, and prevention of COPD [Internet]. Fontana, WI: GOLD; 2017 [cited 2020 Nov 8 ] . Available from:http://goldcopd.org/?s=prevalence.
Kanfer, F. H., & Gaelick, L. (1986). Self-management methods. In F. Kanfer & A. P. Goldstein(eds.), Helping people change: A textbook of methods (3rd ed., pp. 283-345). New York:Pergamon Press.
World Health Organization(2010). Towards a common language for functioning, disability and health. [cited 2020 Nov 7 ] Available from http://www.who.int/classification/icf.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.