การพยาบาลผู้ป่วยนิ่วในถุงน้ำดีที่ได้รับการผ่าตัดและมีโรคร่วม : กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
นิ่วในถุงน้ำดี, การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยนิ่วในถุงน้ำดีที่ได้รับการผ่าตัดและมีโรคร่วม 2. เพื่อนำผลการศึกษาไปใช้ในการวางแผนการพยาบาลให้ครอบคลุมองค์รวม
วิธีการดำเนินงาน : เป็นการศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยนิ่วในถุงน้ำดีที่ได้รับการผ่าตัดและมีโรคร่วม ที่รักษาในโรงพยาบาลมหาสารคามจำนวน 2 ราย เครื่องมือ ใช้กรอบแนวคิดแบบแผนการดูแลสุขภาพ 11 แบบแผนของ Gordon วิเคราะห์ เปรียบเทียบ ครอบคลุมมิติองค์รวม
ผลการศึกษา : รายที่1 ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 66 ปี อาการสำคัญปวดจุกแน่นท้อง ก่อนมาโรงพยาบาล3 เดือน มีประวัติโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงและเคยติดเชื้อโควิด -19 การวินิจฉัยโรค Gallstones with common bile duct stone ผ่าตัดครั้งที่1 Open cholecystectomy with Explore common bile duct (CBD )with Choledochoduodenostomy (CDD) มีภาวะแทรกซ้อน ผ่าตัดครั้งที่ 2 Re-Explored common bile duct (CBD ) with Choledochoduodenostomy (CDD) หลังผ่าตัด ผู้ป่วยได้รับการรักษาทั้งในหอผู้ป่วยหนักและหอผู้ป่วยใน จนอาการทุเลาจำหน่ายได้ รายที่ 2 ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 74 ปี อาการสำคัญปวดจุกแน่นท้องเป็นๆหายๆ ก่อนมา รพ. 6 เดือนมี ประวัติโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และเคยติดเชื้อโควิด-19 การวินิจฉัยโรค Symptomatic Gallstones ผ่าตัดครั้งที่1 Laparoscopic cholecystectomy ,ครั้งที่ 2 Ultrasound guided percutaneous drainage และมีภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ผู้ป่วยได้รับการรักษาทั้งในหอผู้ป่วยหนักและหอผู้ป่วยใน จนอาการทุเลาจำหน่ายได้
สรุป : การศึกษานี้แม้เป็นการนัดผู้ป่วยมาผ่าตัด แต่ก็เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดได้ ผู้ป่วยต้องได้รับการเตรียมความพร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ โดยพยาบาลจะต้องมีสมรรถนะในการดูแลตามมาตรฐาน จะทำให้ผู้ป่วยปลอดภัย
References
กมลรัตน์ สุปัญญาบุตร. ผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสภาพหลังผ่าตัดต่อภาวะลำไส้หยุดการทำงานชั่วคราวหลังผ่าตัดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดถุงน้ำดี.(วิทยานิพนธ์ ปริญญาโทพยาบาลศาสตร์ มหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2553.
จิราพร ค้าแก้ว, สิริพรรณ พัฒนาฤดี และณัฎฐดา อารีเปี่ยม. (2558). การจัดการความปวดของผู้ใหญ่หลัง ผ่าตัดช่องท้องแผนกศัลยกรรมทั่วไป โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 15(1), 80-910.
ดรุณี สมบูรณ์กิจ,อัจฉรา มีนาสันติรักษ์,กมลรัตน์ สุปัญญาบุตรและรัชชยา มหาสิริมงคล.การพัฒนาแนว. (2561).ปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้องโรงพยาบาลมหาสารคาม.วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 15(3):24-34.
ยศ ตีระวัฒนานนท์ และคณะ.(2548). ต้นทุนอรรถประโยชน์ของการผ่าตัดดัวยกล้องเปรียบเทียบกับการผ่าตัดแบบเปิดในการรักษานิ่วในถุงน้ำดีข้อมูลสำหรับระบบประกันสุขภาพในประเทศไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 14(3), 464-474.
ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย. (2562). Gall Stone. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2566 จาก http://www.rcst.or.th/view.php?group=8&id=204
สรรชัย กาญจนลาภ.(2562). การศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยชายและหญิงที่ได้รับการผ่าตัดถุงน้ำดีโดยวิธีส่องกล้อง : เพศชายมีผลต่ออัตราความล้มเหลวและภาวะแทรกซ้อนหรือไม่. เวชสารแพทย์ทหารบก, 65(1), 3-10.
สุพจน์ บุญพร. (2565). ผลการผ่าตัดรักษานิ่วในถุงน้ำดีด้วยวิธีเปิดช่องท้องแผลขนาดเล็กในโรงพยาบาลสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี.วารสารสมาคมศัลยแพทย์ทั่วไปแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมย์, 7(2), 83-93.
งานเวชระเบียนและสถิติห้องผ่าตัด โรงพยาบาลมหาสารคาม . (2566) .รายงานข้อมูลห้องผ่าตัด ปี2564-2566.มหาสารคาม : โรงพยาบาลมหาสารคาม.
อรรถสิทธิ์ ศรีสุบัติ และคณะ.(2563). การประเมินทางเศรษฐศาสตร์การผ่าตัดผ่านกล้องเปรียบเทียบกับการผ่าตัดแบบเปิดในการรักษานิ่วในถุงน้ำดี. สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข.
Frazee RC, Roberts JW, Symmonds R, et al. (1992).What arethe contraindications for laparoscopic cholecys-tectomy?. Am J Surg, 164(5), 491-5.
Shah JN. (2012). Early feeding and Discontinuation of intravenous fluid after Laparoscopic cholecystectomy . J Nepal Health Research, 10(12), 28-31.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.