การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมกับการติดเชื้อดื้อยา กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • เตชินี พรมเลิศ โรงพยาบาลมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ, การดูแลระยะวิกฤต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมกับการติดเชื้อดื้อยา เปรียบเทียบกรณีศึกษาจำนวน 2 ราย

รูปแบบและวิธีวิจัย : ศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยกรณีศึกษา 2 ราย (Case study) แบบเฉพาะเจาะจง ในผู้ป่วยที่มีภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมกับการติดเชื้อดื้อยา ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบประเมินภาวะสุขภาพโดย ใช้กรอบแนวคิดแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน (Marjory Gordon) และเวชระเบียนผู้ป่วยใน โดยวิธีรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน สัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ ประเมินปัญหาทางการพยาบาลโดยใช้แบบแผนการประเมินภาวะสุขภาพของกอร์ดอน ใช้รูปแบบการเขียนข้อวินิจฉัยการพยาบาล ตามแนวทางของ NANDA ให้การพยาบาลและประเมินผลลัพธ์การพยาบาลใน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะวิกฤต ระยะฟื้นฟูสภาพและระยะการวางแผนจำหน่ายส่งต่อชุมชน

ผลการศึกษา : กรณีศึกษาทั้ง 2 รายที่ มีภาวะฉุกเฉินจาก septic shock ทำให้ระบบการไหลเวียนล้มเหลวและมีระบบหายใจล้มเหลวต้องใส่ท่อช่วยหายใจ และเครื่องช่วยหายใจ มีภาวะแทรกซ้อนคือ ภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมกับติดเชื้อดื้อยา ส่งเสมหะตรวจเพาะเชื้อพบเชื้อจุลชีพ Acinetobacter baumannii MDR ซึ่งพยาบาลมีบทบาทสำคัญในการแลให้ผู้ป่วยปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อน โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับพยาธิสภาพ การดำเนินของโรค ความสามารถประเมินผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และให้การพยาบาลที่เหมาะสม รวมถึงให้การดูแลตามแนวทาง WHAPO และ SHIPP ตามนโยบายของกลุ่มงานการพยาบาลด้านควบคุมและป้องกันการติดเชื้อโรงพยาบาลมหาสารคามทำให้ผู้ป่วยพ้นภาวะวิกฤติ โดยกรณีศึกษาทั้ง 2 ราย ปลอดภัยและตรวจไม่พบเชื้อจุลชีพจากสิ่งส่งตรวจในระบบต่าง ๆ สามารถจำหน่ายโดยการส่งตัวไปรับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลชุมชน และสามารถจำหน่ายกลับบ้านได้ ทั้งนี้ได้รับการดูแลและการเตรียมความพร้อมก่อนจำหน่ายกลับบ้านและการดูแลทางด้านจิตสังคมอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว

References

นรีลักษณ์ สุวรรณโนบล และคณะ.(2561). ศึกษาสถานการณ์การติดเชื้อ การดำเนินการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อของโรงพยาบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา, 24(2), 78-95.

เพิ่มพูน ศิริกิจ. (2565). การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมกับการติดเชื้อดื้อยากรณีศึกษา 2 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 19(1), 89-106.

วิภา รีชัยพิชิตกุล.(2553). HAP, VAP and HCAP guidelines: from guidelines to clinical practice. ศรีนครินทร์ เวชสาร, 25, 87–94.

วิษณุ ธรรมลิขิตกุล.(2556). เชื้อโรคดื้อยาปฏิชีวนะ (ยาต้าน จุลชีพ) และการควบคุม และป้องกันโรคติดเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ. เวชบันทึกศิริราช, 6(2), 117-120.

ศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ. (2563). กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. กรุงเทพฯ : กระทรวงสาธารณสุข.

สุภาพ ลิ้มเจริญ.(2561). การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อ ปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 12(1), 32 -42.

Bonell A, Azarrafiy R, Huong VTL, Viet TL, Phu VD, Dat VQ et al. (2019). A systematic review and meta-analysis of ventilator-associated pneumonia in adults in Asia: An analysis of national income level on incidence and etiology. Clin Infect Dis, 68(3), 511-8.

Wu D, Wu C, Zhang S, Zhong Y. (2019). Risk factors of ventilator-associated pneumonia incritically III patients, Front Pharmacol.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-01