การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกคอสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม และมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพริ้ว : กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาล, ผู้ป่วยกระดูกคอสะโพกหัก, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมบทคัดย่อ
กระดูกสะโพกหัก เป็นภาวะที่พบบ่อยในวัยสูงอายุ และอุบัติการณ์การเกิดภาวะดังกล่าวมีแนวโน้ม เพิ่มมากขึ้นตามการเพิ่มของประชากรผู้สูงอายุทั่วโลก ก่อให้เกิดผลต่อการดำเนินชีวิต เนื่องจากถูกจำกัดการเคลื่อนไหว ไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและหน้าที่ตามบทบาทปกติได้ เป็นความเจ็บป่วยที่ต้องพึ่งพาเป็นภาระของผู้อื่น และผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพริ้ว จะมีอาการใจสั่น หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ และจะมีอาการรุนแรง ถ้าเวนตริเคิลบีบตัวเร็วมาก ถ้าจับชีพจรส่วนปลาย จะพบว่าช้ากว่าอัตราการเต้นของหัวใจ หากอัตราการบีบตัวของเวนตริเคิลยังคงเร็วมากเป็นเวลานาน ผู้ป่วยจะเกิดอาการของเวนตริเคิลซีกซ้ายล้มเหลวได้
กรณีศึกษานี้ เป็นหญิงสูงอายุ อายุ 75 ปี มีอาการปวดบริเวณสะโพกขวา ลุกเดินไม่ไหว เนื่องจากแมววิ่งชนขาจนล้มกระแทกพื้น ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลชุมชน จากนั้นจึงส่งตัวมาเพื่อรักษาต่อที่โรงพยาบาลอุทัยธานี แรกรับผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ปวดสะโพกข้างขวา ลุกเดินไม่ไหว สะโพกขวาบวมช้ำเล็กน้อย ขาขวาสั้นกว่าขาซ้าย แพทย์วินิจฉัยโรคเป็นคอกระดูกต้นขาหัก ผู้ป่วยมีประวัติเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูง และมีภาวะหัวใจ เต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพริ้ว หลังรับไว้ แพทย์สั่งการรักษาโดยให้ดึงถ่วงน้ำหนักขาขวาด้วยน้ำหนัก 3 กิโลกรัม ปรึกษาอายุรแพทย์ร่วมดูแลเรื่องภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพริ้ว ผู้ป่วยมีปัญหาปวดแผลผ่าตัดมากในวันแรกหลังผ่าตัด ไม่มีอาการใจสั่น อัตราการเต้นของหัวใจปกติ พยาบาลให้การดูแลผู้ป่วยเพื่อบรรเทาอาการปวด โดยวิธีให้ยาบรรเทาปวดตามแผนการรักษาของแพทย์ ร่วมกับการจัดท่านอนให้ผู้ป่วยรู้สึกสบาย และพักผ่อนได้ อาการผู้ป่วยดีขึ้นตามลำดับ สามารถลุกเดินด้วยเครื่องพยุงเดินได้ดีขึ้น ระยะเวลานอนโรงพยาบาลทั้งหมด 6 วัน
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความรู้เบื้องต้นของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกคอสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม และภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพริ้ว ซึ่งพยาบาลเป็นผู้มีบทบาทในการประเมิน และวินิจฉัยทางการพยาบาล ปฏิบัติการพยาบาลและประเมินผลลัพธ์ เฝ้าระวังและติดตามการพยาบาลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมได้รับการดูแลรักษาหลังผ่าตัดอย่างปลอดภัย และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
References
เกษราภรณ์ จันดี. (2563). การพยาบาลผู้ป่วยหัวใจสั่นพลิ้วที่รับประทานยาวาร์ฟารินในคลินิก : กรณีศึกษา.วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม, 4(8), 244-246.
ธวัช ประสาทฤทธา, พรทิพย์ ลยานันท์ และสุขใจ ศรีเพียรเอม. (2555). การพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์. สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง.
วรรณี สัตยวิวัฒน์. (2553). การพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์.กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วน จำกัด เอ็นพีเพรส.
วรรณี สัตยวิวัฒน์. (2561). การพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็นพีเพรส.
วิจิตรา กุสุมภ์. (2556). การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต : แบบองค์รวม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลสหประชาพาณิชย์.
สุภาพ อารีเอื้อ. (2564). การพยาบาลออร์โธปิดิกส์จากหลักฐานเชิงประจักษ์สู่การการปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก. กรุงเทพฯ : บริษัท ไอดี ออล ดิจิตอล พริ้นท์ จำกัด.
อรพรรณ โตสิงห์ และคณะ. (2559). การพยาบาลผู้ป่วยทางออร์โธปิดิกส์. ห้างหุ้นส่วน จำกัด เอ็นพีเพรส.
อรัญญา เชาวลิต. (2536). การพยาบาลผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.