การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัดคลอด โรงพยาบาลกมลาไสย
คำสำคัญ:
แนวปฏิบัติการพยาบาล, แผลผ่าตัดคลอด, การป้องกันการติดเชื้อบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัดคลอด โรงพยาบาลกมลาไสย และศึกษา ผลลัพธ์ การใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในโรงพยาบาลกมลาไสย มีวิธีดำเนินการวิจัย 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ระยะพัฒนา CNPG SSI ได้พัฒนาตาม ขั้นตอน ของ The Joanna Briggs Institute (JBI) ระยะที่ 2 ศึกษาผลลัพธ์ การใช้ CNPG SSI คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ 1) พยาบาลห้องผ่าตัดและวิสัญญีพยาบาล จำนวน 7 คน และหญิงตั้งครรภ์ที่เข้ารับการผ่าตัดคลอดจำนวน 20 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) CNPG SSI โดยประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญโดยใช้แบบประเมิน The AGREE II และแบบบันทึกการปฏิบัติการพยาบาล 2) แบบบันทึกข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ผ่าตัดคลอด และ 3) แบบประเมินผลการป้องกันการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยระยะที่ 1 พบว่า 1) CNPG SSI ประกอบด้วย แนวปฏิบัติการพยาบาล 3 ระยะ ได้แก่
(1) ระยะก่อนผ่าตัด ได้แก่การให้ข้อมูลและความรู้ (2) ระยะผ่าตัด ได้แก่ เทคนิคการป้องกันการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัด การเตรียมเครื่องมือ และ(3) หลังผ่าตัดได้แก่ เฝ้าระวังระบบทางเดินหายใจและระบบไหลเวียนเลือด ระยะที่ 2 ผลลัพธ์การใช้ CNPG SSI พบว่า (1) หญิงตั้งครรภ์ผ่าตัดคลอด 20 ราย ไม่พบภาวะติดเชื้อที่ตำแหน่งแผลผ่าตัด (Sternal wound) ใน 72 ชั่วโมง (2) พยาบาลห้องผ่าตัดและวิสัญญีพยาบาลสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง คิดเป็นร้อยละ 96.29
แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัดคลอด โรงพยาบาลกมลาไสยที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ในโรงพยาบาลได้จริง และควรมีการปรับปรุงแนวปฏิบัติ ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
References
กองบริการสาธารณสุข, กระทรวงสาธารณสุข.(2566). สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม2566 จาก.http://cmi.healtharea.net/isp/sp_obs/index?menu_id=6
งานเวชระเบียนห้องคลอด โรงพยาบาลกมลาไสย.(2565).ทะเบียนผู้คลอดกาฬสินธุ์ :งานเวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลกมลาไสย.
ธีรา พงษ์พานิช และคณะ.(2563). พัฒนารูปแบบระบบความปลอดภัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ในงานการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดโรงพยาบาลราชวิถี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 30(1),174-189.
นิตยา ศรีญาณลักษณ์.(2557).การบริหารการพยาบาล กรุงเทพฯ : ธนาเพรส
พิกุล นันทชัยพันธ์.(2550). การประเมิน คุณภาพด้านการนำไปใช้ของแนวปฏิบัติทางคลินิก.เชียงใหม่ :คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สูติแพทย์ล้านนา การผ่าตัด Cesarean section.2560.สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2566 จาก.https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/faculties/student-extern-intern/extern-intern-
corner/learning-manual-for-extern/4645/
อัมพร คําหล้า และคณะ.(2560). การพัฒนารูปแบบการดูแลเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์.
วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ ,35(2),34-44.
Institute of Medical Research and Technology Assessment. Appraisal of guideline for research & evaluation II; AGREE II. [document on the Internet] 2013. Available from https://www.agree trust.org /wp-content/uploads/2017/12/ AGREE - II-Users-Manual-and-23-item-Instrument-2009- Update-2017.pdf
Joanna Briggs Institute. Reviewers’ manual .Australia: The Institute; 2014 [cite 2019 May 1] Available from: http: www. joannabriggs.org/assets/docs/sumari/reviewersm anual 2014.pdf
Khamla A, Wongwattanareak W, Juraree S, Jearanai J, Keawta K. (2018). The development of care model to prevent surgical site infection for patients
undergoing coronary artery bypass graft using evidence-based practice. Journal of Nursing and Health Care, 35(2), 34-44. (in Thai).
World Health Organization. WHO guidelines for safe surgery 2018: safe surgery saves lives. [document on the Internet]. Available from: http://apps.who.int /iris/bitstrem/10665/44185/1/9789241598552_ eng.pd:
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.