ผลของการใช้กระบวนการสร้างแรงจูงใจในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี ในเขตตำบลเชียงยืน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่2, ภาวะน้ำตาลในเลืดสูง, การสร้างแรงจูงใจบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งเป็นการวิจัยวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง คือผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีระดับ HbA1c 7-9 mg/dl ในเขตตำบลเชียงยืนที่รักษาที่คลินิกโรคเรื้อรัง ระหว่างเดือนตุลาคม 2564 - เดือนกรกฎาคม 2565 จำนวน 261 ราย โดยการใช้ทักษะการเสริมสร้างแรงจูงใจ (Motivational Interviewing) การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เขตตำบลเชียงยืน ที่รักษาในคลินิกโรคเรื้อรังพยาบาลเชียงยืน ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดี ระยะที่ 2 วางแผนกิจกรรมแก้ไขปัญหาโดยมีการประชุมระดมความคิด และประชุมเชิงปฏิบัติเพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา ระยะที่ 3 ดำเนินการโดยกระบวนการสร้าง Health literacyระดับบุคคลในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ระยะที่ 4 ประเมินผลการดำเนินการ
ผลการวิจัย พบว่า จากการใช้กระบวนการเสริมสร้างแรงจูงใจ และการสัมภาษณ์ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 261 ราย โดยใช้กระบวนการสนทนาแบบสร้างแรงจูงใจ(Motivational Interviewing ) ผลการวิเคราะห์ตนเองและการวิเคราะห์กลุ่ม ทําให้ผู้ป่วยเบาหวานเกิดความตระหนักที่จะมีพฤติกรรมดูแลสุขภาพตนเอง มีเป้าหมายและกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน มีความเป็นไปได้ ผลจากการใช้ My I – SMART Record พบว่าผู้ป่วยมีความเข้าใจในตนเอง มีแรงบันดาลใจในการที่จะดูแลตนเอง มีการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน กับทีมผู้ดูแลในการดูแลตนเองของผู้ป่วยแต่ละราย มีการกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนในการที่จะปฏิบัติการดูแลตนเองเพื่อให้ไปสู่เป้าหมายได้ตามความต้องการ นอกจากนี้ยังพบว่าผลการทดสอบประเมินความรู้เกี่ยวกับเบาหวานและการปฏิบัติตัวก่อนและหลังของผู้ป่วยเบาหวานมีความแตกต่างกันที่ระดับน้อยกว่า 0.05 รวมถึงระดับของ HbA1c หลังการเข้าร่วมโปรแกรมสัมภาษณ์เพื่อสร้างแรงจูงใจยังลดลงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับน้อยกว่า 0.05 ด้วย
References
กระทรวงสาธารณสุข .(2564). รายงานอัตราการป่วยตายด้วยโรคเบาหวาน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2566. จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.Php&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=
f2516fbb85d4a4a5605c3ca1c4
เจษฎา จงไพบูลย์พัฒนะ. (2546). การประเมินประสิทธิผลของการใช้กระบวนการกลุ่ม ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลสตูล. วารสารวิชาการเขต 12, 14(3), 45-60.
เทอดศักดิ์ เดชคง. (2563). ผลของโปรแกรมการสนทนาแบบสร้างแรงจูงใจต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 14(3), 134-145.
บุญจันทร์ วงศ์สุนพรัตน์, ฉัตรประอร งามอุโฆษและ น้ำเพชร สายบัวทอง. (2564). ผลของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนากิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน: กรณ๊ศึกษาตำบลตลาดขวัญ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ, 27(1), 64-75.
พนิดา สารกอง. (2560). การศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการสนทนาสร้างแรงจูงใจเพื่อสนับสนุนการควบคุมระดับน้้าตาลใน พลาสมาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. ศรีสะเกษ: โรงพยาบาลนาคูณ.
ภัทรพล จึงสมเจตไพศาล. (2547). ประสิทธิผลของโปรแกรมการให้สุขศึกษาแบบกระบวนการกลุ่ม ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลบ่อพลอย อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารแพทย์เขต 6-7, 23 (1), 77-89.
ละอองกลิ่น กนกแสง. (2564). ผลการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดสะสม ของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้้าตาลไม่ได้. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม, 5 (10), 161-170.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย (2560). แนวทางเวชปฏิบัติ สำหรับโรคเบาหวาน 2560. ปทุมธานี: ร่มเย็นมีเดีย.
International Diabetes Federation (2023) Facts & figures. [online]. Retrieved October 2023, 10. From https://idf.org/about-diabetes/diabetes-facts-figures/
Miller, W.R. & Rollnick, S. What makes it Motivational Interviewing?. Presentationat the International Conference on Motivational Interviewing (ICMI). Stockholm: 2010.
P.L.S. Steffen, C.S. Mendonça, E. Meyer, D.D. Faustino-Silva (2021) Motivational interviewing in the Management of Type 2 diabetes mellitus and arterial hypertension in primary health care: an RCT. Am J Prev Med, 60, pp. E203-E212, 10.1016/j.amepre.2020.12.015
Prochaska, J. O., & DiClemente, C. C. (1984). The transtheoretical approach: Crossing traditional boundaries of therapy. Dow Joneslrwin.
WHO (April 2023, 5). Diabetes. [online]. Retrieved October 2023, 10. From https://www.who. int/news-room/fact-sheets/detail/diabetes
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.