การศึกษาผลของการจัดการรายกรณีต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและระดับน้ำตาลสะสม ในเลือดของ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มที่ระดับน้ำตาลสะสมในเลือดสูง โรงพยาบาลกันทรวิชัย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
การจัดการรายกรณี, พฤติกรรมการจัดการตนเอง, ระดับน้ำตาลสะสมในเม็ดเลือดแดงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการรายกรณี ต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและระดับน้ำตาลสะสมในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มที่มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดสูงระดับอันตราย ที่มารับบริการคลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ใช้รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi – experimental research) กลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างน้อยเป็นเวลา 2 ปี และมีระดับน้ำตาลสะสมในเม็ดเลือดแดงสูงมากกว่า 9 % ที่มารับการตรวจรักษาที่คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลกันทรวิชัย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 40 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบความแตกต่างของคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองผู้ป่วยของผู้ป่วยเบาหวาน ระดับน้ำตาลสะสมในเม็ดเลือดแดง ก่อนและหลังการทดลองโดยใช้การทดสอบ ที (Paired t - test) ผลการศึกษา
พฤติกรรมการจัดการตนเอง 6 ด้าน ของผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มตัวอย่าง เปรียบเทียบก่อนและหลังการใช้การจัดการรายกรณี พบว่า หลังการใช้การจัดการรายกรณีอยู่ในระดับดี ก่อนการใช้การจัดการรายกรณีอยู่ในระดับปานกลาง และพบว่ามีพฤติกรรมที่เหมาะสมโดยรวมดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ระดับน้ำตาลสะสมในเม็ดเลือดแดง ของผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มตัวอย่าง เปรียบเทียบก่อนและหลังการใช้การจัดการรายกรณี พบว่า หลังการใช้การจัดการรายกรณีอยู่ในระดับปกติ ก่อนการใช้การจัดการรายกรณีอยู่ในระดับสูง และพบว่าระดับน้ำตาลสะสมในเม็ดเลือดแดง ลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2562). คู่มือดูแลตนเองเบื้องต้นเรื่องเบาหวาน “รู้ทันเบาหวาน”. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข.
โรงพยาบาลกันทรวิชัย.(2566). รายงานประจำปีงบประมาณ 2565 โรงพยาบาลกันทรวิชัย. โรงพยาบาลกันทรวิชัย : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม.
รังสิมา รัตนศิลา และคณะ.(2558). ผลของโปรแกรมการจัดการผู้ป่วยรายกรณีผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้.วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 29(1), 67-79.
รัฐพล เวทสรณสุธี และคณะ. (2561). ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้. รายงานวิจัยโรงพยาบาลศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี. หน้า 1-21.
ศุภวดี ลิมปพานนท์.(2561).ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ณ โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาชาวิชาอกพยาบาลสาธารณสุข.กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
สิริพิมพ์ ชูปาน.(2559). ผลของการพยาบาลตามทฤษฎีความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายต่อพฤติกรรมควบคุมน้ำตาลในเลือดและระดับฮีโมโกลบินเอวันชี ของผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต.สาชาวิชาเอกพยาบาลสาธารณสุข.กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล.
อุบลรัตน์ รัตนอุไร, ประภาส สงบุตร.(2562). ผลของโปรแกรมจัดการผู้ป่วยรายกรณีในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้.วารสารวิชาการการสาธารณสุข, 29(ฉบับพิเศษ), 146-151.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.