การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน : กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน, การพยาบาล, กรณีศึกษาบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน กรณีศึกษา 2 ราย ที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
วิธีการศึกษา : การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ศึกษาผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันกรณีศึกษา 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาในห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลกันทรวิชัย แบบระบบช่องทางด่วน (STEMI FAST TRACK BY PASS) ดำเนินการศึกษาระหว่าง 1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบบันทึกข้อมูลเวชระเบียน แบบประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน การสัมภาษณ์ การสังเกต และนำข้อมูลมาใช้ในการประเมิน กำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล วางแผนการพยาบาล ให้การพยาบาลและประเมินผลการพยาบาลผู้ป่วยตามแนวทางของสมาคมวินิจฉัยการพยาบาลแห่งอเมริกา
ผลการศึกษา : กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย มีความแตกต่างของอาการแสดงนำ โดยกรณีศึกษาทั้งสองรายมีปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้ปัญหาสุขภาพแตกต่างกัน รายที่ 1 รับรู้ว่าอาการเจ็บป่วยครั้งนี้รุนแรง รายที่ 2 รับรู้ว่าการเจ็บป่วยไม่รุนแรง เนื่องจากมีโรคประจำตัว เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง ที่เป็นอยู่ และมีอาการรุนแรงระหว่างการรักษาแตกต่างกัน โดยรายที่ 1 มีภาวะ Ventricular Fibrillation ได้รับการ Defibrillations และปฏิบัติการช่วยชีวิต Cardio Pulmonary Resuscitation (CPR) หลังจากได้รับยา รายที่ 2 มีภาวะ Hypotension Bradycardia และเลือดออกตามไรฟัน หลังจากได้รับยา ผู้ป่วยทั้ง 2 ได้รับการส่งต่อไปที่ โรงพยาบาลศูนย์หัวใจสิริกิติ์ จังหวัดขอนแก่น ทั้งสองรายมีความปลอดภัย กลับมาดำเนินชีวิตตามปกติ
สรุป : สิ่งที่สำคัญของการพยาบาลการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน คือ พยาบาลต้องสามารถประเมินคัดกรองผู้ป่วยเหล่านั้นได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็ว เพื่อช่วยให้การวินิจฉัยได้ถูกต้อง นำไปสู่การรักษาที่รวดเร็ว พยาบาลต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในกระบวนการดูแลรักษาและเข้าใจกระบวนการและขั้นตอนการขอรับคำปรึกษาจากแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจ เข้าใจถึงระบบการส่งต่อในระบบช่องทางด่วนพิเศษ การประสานส่งต่อข้อมูล การพยาบาลและการเฝ้าสังเกตอาการและอาการแสดงขณะส่งต่อ เพื่อลดความรุนแรงของโรค และลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตรวมถึงสามารถให้การพยาบาลประคับประคองด้านจิตใจแก่ผู้ป่วยและญาติ
References
กรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อ. (2565). รายงานประจำปี 2565. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
เกรียงไกร เฮงรัศมี. (2555). มาตรฐานการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน. กรุงเทพฯ : สุขุมวิทการพิมพ์.
งานเวชระเบียนและสถิติ. (2565). สถิติผู้ป่วยโรงพยาบาลกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ประจำปี 2562-2565.งานเวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม.
ชุลีพร ด่านยุทธศิลป์. (2552). หลักการประเมินสุขภาพ. พิษณุโลก : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ผ่องพรรณ อรุณแสง. (2560). คู่มือการวางแผนการพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด.พิมพ์ครั้งที่11.ขอนแก่น : ขอนแก่นการพิมพ์.
วลัยพร ปานรัตน์. (2564). การพยาบาลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในห้องผู้ป่วยหนัก : กรณีศึกษา.วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร, 2(1), 36-46.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.