การพัฒนารูปแบบบริการงานผู้ป่วยนอกด้วยกระบวนการ Smart Hospital โรงพยาบาลบรบือ จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • สุภาพร แสนจันศรี โรงพยาบาลบรบือ

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบการบริการงานผู้ป่วยนอก, Smart Hospital, ระยะเวลารอคอย, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรค และบริบทการให้บริการ เพื่อพัฒนารูปแบบบริการงานผู้ป่วยนอก ลดความแออัด ลดระยะเวลารอคอย เพื่อประเมินผลการพัฒนารูปแบบบริการงานผู้ป่วยนอกด้วยกระบวนการ Smart Hospital ต่อการลดความแออัด ลดระยะเวลารอคอย ความพึงพอใจของผู้รับบริการและ เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคโดยใช้4 ขั้นตอนคือ ขั้นวางแผน (Planning) ขั้นปฏิบัติตามแผน (Action) ขั้นการตรวจสอบ (Observation) และขั้นการสะท้อนผลการปฏิบัติ (Reflection)  กลุ่มตัวอย่างคือผู้มารับบริการงานผู้ป่วยนอกทั่วไป ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2566 โดยการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย จำนวน 235 คน ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบฯ จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ส่วน ดังนี้ 1. เชิงคุณภาพ ได้แก่ 1) แบบสังเกตการณ์ 2) แบบสนทนากลุ่ม 3) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 2. เชิงปริมาณ ได้แก่ 1) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้มารับบริการ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบฯ 3. เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ รายงานการประชุม  ระยะเวลารอคอยของผู้รับบริการในระบบ HosXP ตั้งแต่ทำบัตรจนถึงรับยา รายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ำต่ำสุด-ค่าสูงสุด และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (content analysis)ผลการดำเนินงานพบว่าความพึงพอใจของผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบโดยรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( x̅ =4.22, SD.=0.68) ความพึงพอใจของผู้มารับบริการงานผู้ป่วยนอก โดยรวมมีระดับความคิดเห็นการให้บริการอยู่ในระดับมาก ( x̅= 4.65 , SD = 0.89) ขั้นตอนการบริการ จาก 7 ขั้นตอนในปี 2564 ลดลงเหลือ 6 ขั้นตอนในปี 2566 ระยะเวลารอคอยเฉลี่ยปี 2564-2566 ลดลงจาก 110.16 นาที 88 นาที และ 81.50 นาที การพัฒนารูปแบบบริการงานผู้ป่วยนอกด้วยกระบวนการ Smart Hospitalใช้เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ใบสั่งยาแบบไร้กระดาษ (Paperless)ทำให้ระบบงานมีความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น บันทึกข้อมูลในระบบHosXP งดการปริ้นใบสั่งยา ทำให้ลดปริมาณกระดาษลง มีตู้คิวอัตโนมัติที่สามารถลงทะเบียนที่รวดเร็ว ในส่วนของระบบQueue Display มีจอโทรทัศน์แสดงคิว พร้อมมีเสียงเรียกชื่อสกุลผู้มารับบริการที่ชัดเจน ลดความผิดพลาดในการระบุตัวบุคคลได้ ระบบบริการโดยใช้ One Vital Sign connect to HIS สามารถส่งข้อมูลสัญญาณชีพที่วัดได้เข้าระบบ Hos XP โดยอัตโนมัติทำให้ข้อมูลที่ได้มีความถูกต้องแม่นยำ และรวดเร็ว ลดระยะเวลารอคอยของผู้รับบริการและผู้รับบริการมีความพึงพอใจในระบบบริการ

References

กระทรวงสาธารณสุข(2562).นโยบายบาย Smart Hospital[อินเตอร์เน็ต].สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2565. จากเว็ปไซต์: https://healthserv.net/healtheconomy/10983

กิติศักดิ์ ด่านวิบูลย์ (2556). ประสิทธิผลการพัฒนาระบบบริการงานผู้ป่วยนอกและ หน่วยบริการปฐมภูมิเครือข่าย โรงพยาบาลหนองคาย.วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 30(1), 56-69

จักรกฤษณ์ สง่ากอง(2558).ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของพนักงาน เทศบาลนครรังสิต. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ณริศรา กุนนากุลและ ปิยธิดา เพียรลุประสิทธิ์(2566). ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัยรัฐแห่งหนึ่ง ในภาคเหนือ.วารสารครุศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย,8(1),83-203.

นิตยา คล่องขยัน(2560).การพัฒนารูปแบบบริการงานผู้ป่วยนอกด้วยกระบวนการ Smart Hospital โรงพยาบาลพรเจริญ จังหวัดบึงกาฬ.[อินเตอร์เน็ต].สืบค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2565.จากเว็ปไซต์: https://pcrh.moph.go.th/pcrh/uploads/media/2023052210354116

ประวัติ กิจธรรมกูลกิข .(2564). นิยาม Smart-Hospital].สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2565.จากเว็ปไซต์: https://bachohospital.org/wp-content/uploads/2021/12/1.2 Smart Hospital-65.pdf.

วรเชษฐ์ มงคลสิทธิกุล และคณะ (2558). การพัฒนารูปแบบคุณภาพบริการห้องตรวจศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม,12(3),129-134.

ศิราณี คำอู และคณะ(2566). การพัฒนา Smart Heart Care Application ในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด. วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ,3(2),143-154.

สุรศักดิ์ จินาเขียว.(2563).การพัฒนารูปแบบการบริการงานผู้ป่วยนอกตามแนวคิดโลจิสติกส์ โรงพยาบาลพบพระ จังหวัดตาก .วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ,13(1),442-451.

สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ กระทรวงสาธารณสุข(2562). Health Information System[อินเตอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2565.จากเว็ปไซต์: http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/e- research/sites/default/files/KittiyapornThongthai.pdf

โรงพยาบาลบรบือ.(2565). สถิติและตัวชี้วัดโรงพยาบาล.มหาสารคาม : โรงพยาบาลบรบือ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29

ฉบับ

บท

รายงานผลการวิจัย