การพัฒนาแนวทางการดูแลเพื่อบำบัดผู้ใช้สารเสพติดที่มีภาวะซึมเศร้า

ผู้แต่ง

  • กุญฤดี โง้วศิริ โรงพยาบาลโกสุมพิสัย
  • ดาวเรือง จัตุชัย โรงพยาบาลโกสุมพิสัย

คำสำคัญ:

ผู้ใช้สารเสพติด, ภาวะซึมเศร้า

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ของผู้ใช้สารเสพติดที่มีภาวะซึมเศร้า พัฒนาแนวทางการดูแลเพื่อบำบัดผู้ใช้สารเสพติดที่มีภาวะซึมเศร้า และประเมินผลแนวทางการดูแลเพื่อบำบัดผู้ใช้สารเสพติดที่มีภาวะซึมเศร้า ประชากร คือ ผู้ใช้สารเสพติดที่มีภาวะซึมเศร้าระดับเล็กน้อย-ระดับรุนแรง ทุกราย ที่อยู่ในพื้นที่ตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เครื่องมือที่ใช้คือ แนวทางการดูแลเพื่อบำบัดผู้ใช้สารเสพติดที่มีภาวะซึมเศร้า แบบคัดกรองโรคซึมเศร้าด้วย 2 คำถาม (2Q)  แบบคัดกรองโรคซึมเศร้าด้วย 9 คำถาม (9Q)  แบบประเมินการฆ่าตัวตาย 8 คำถาม (8Q) แบบประเมินความเครียด (ST-5) และแบบสอบถามการเห็นคุณค่าในตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) Chi-Square Test และ Paired t-test

ผลการวิจัย ได้รูปแบบการพัฒนาแนวทางการดูแลเพื่อบำบัดผู้ใช้สารเสพติดที่มีภาวะซึมเศร้า กิจกรรมทั้งหมด มี 8 กิจกรรม จัดลักษณะกิจกรรมกลุ่ม ใช้เวลาครั้งละ 90-120 นาที สัปดาห์ละ 1 ครั้ง รวม 8 สัปดาห์  จะมีการประเมินหลังการทำกิจกรรมและมีการบ้านทุกครั้งหลังการฝึก พบว่า การคัดกรองโรคซึมเศร้าด้วย 2 คำถาม (2Q) ของผู้ใช้สารเสพติดที่มีภาวะซึมเศร้าหลังเข้าร่วมโครงการพัฒนาแนวทางการดูแล ผู้มีผลบวกของการคัดกรองลดลงจาก 24 ราย ร้อยละ 100 เหลือ 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 45.8 ผลเปรียบเทียบการคัดกรองโรคซึมเศร้าด้วย 9 คำถาม (9Q) ของผู้ใช้สารเสพติดที่มีภาวะซึมเศร้าก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการพัฒนาแนวทางการดูแล พบว่ามีค่าเฉลี่ยคะแนนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean difference =6.92, 95%CI 5.77-8.06, p-value<0.05) การคัดกรองด้วยแบบประเมินความเครียด (ST-5) หลังเข้าร่วมโครงการ มีค่าเฉลี่ยคะแนนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean difference=4.46, 95%CI 3.69-5.23, p-value<0.05) การคัดกรองด้วยแบบสอบถามการเห็นคุณค่าในตนเองหลังเข้าร่วมโครงการ มีค่าเฉลี่ยคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean difference=-0.78, 95%CI -0.99 ถึง -0.56, p-value <0.05) แต่การคัดกรองด้วยแบบประเมินการฆ่าตัวตาย 8 คำถาม (8Q) ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ มีค่าเฉลี่ยคะแนนไม่แตกต่างกัน

 จากการศึกษาพบว่า หลังผู้ใช้สารเสพติดที่มีภาวะซึมเศร้าเข้าร่วมโครงการพัฒนาแนวทางการดูแล มีการเห็นคุณค่าในตนเองเพิ่มขึ้น ผลการคัดกรองซึมเศร้าและความเครียดดีขึ้น จึงควรใช้แนวทางการดูแลนี้อย่างต่อเนื่อง และเผยแพร่ไปใช้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือโรงพยาบาลอื่นต่อไป

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงสำหรับสถาบัน/โรงพยาบาล สังกัดกรมสุขภาพจิต. นนทบุรี : พรอสเพอรัสพลัส.

เพ็ญพักตร์ อุทิศ, สุนิศา สุขตระกูล, กงจักร สอนลา,และมะลิ แสวงผล. (2561). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับอาการของโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นที่เสพยาบ้า.วารสารวิชาการสาธารณสุข, 27(6), 965-977.

สุพรรษา พูลพิพัฒน์,อังศินันท์ อินทรกำแหง, และสุภาพร ธนะชานันท์. (2556). ผลของโปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาที่มีต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยยาเสพติด.วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อพัฒนา, 5(1), 241-254.

Bao YP, Qiu Y, Yan SY, Jia ZJ, Li SX, Lian Z, et al.Pattern of drug use and depressive symptoms amongamphetamine type stimulants users in Beijing and Guangdong province, China. PLOS ONE [Internet]. 2013[cited 2023 Aug 10];8:e60544. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3621819/pdf/pone.0060544.pdf

Conway KP, Compton W, Stinson FS, Grant BF. (2006). Life-time comorbidity of DSM-IV mood and anxiety disor-ders and specific drug use disorders: Results from the National Epidemiologic Survey on Alcohol and Related Conditions. J Clin Psychiatry, 67, 247–57.

Glasner-Edwards S, Marinelli-Casey P, Hillhouse M,Ang A, Mooney LJ, Rawson R.(2009). Depression among meth-amphetamine users: association with outcomes from the Methamphetamine Treatment Project at 3-year follow-up. J Nerv Ment Dis,197,225-31.

Hall W, Hando J, Darke S, Ross J. (1996). Psychological mor-bidity and route of administration among amphetamineusers in Sydney, Australia. Addiction,91, 81–7.

Khantzian M.(1997).The self-medication hypothesis of sub-stance use disorders: A reconsideration and recent applications. Harvard Review of Psychiatry, 4, 231-44.

London ED, Simon SL, Berman SM, Mandelkern MA,Lichtman AM, Bramen J, et al. (2004). Mood disturbances andregional cerebral metabolic abnormalities in recently ab-stinent methamphetamine abusers. Arch Gen Psychiatry,61, 73-84.

Markou A, Kenny PJ. (2002).Neuroadaptations to chronic ex-posure to drugs of abuse: relevance to depressive symptomatology seen across psychiatric diagnostic categories.Neurotox Res, 4, 297–313.

Sutcliffe CG, German D, Sirirojorn B, Latkin C,Aramrattana A, Sherman SG, et al.(2009). Patterns of metham-phetamine use and symptoms of depression among youngadults in northern Thailand. Drug Alcohol Depend,101,146–51.

United Nations Office on Drugs and Crime. (2017). 29.5 million people globally sufferfrom drug use disorders, opioids the most harmful. Retrieved January 19, 2023. From https:// www.unodc.org/unodc/en/data-and-analysis/wdr2021.htm

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29

ฉบับ

บท

รายงานผลการวิจัย