ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขาภิบาลอาหารของผู้ประกอบร้านอาหารตามสั่ง องค์การบริหารส่วนตำบลนาขุนไกร อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

วัลภา แสนสีแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ คะแนนการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหารก่อนและหลังทดลองโปรแกรมสุขศึกษาแบบมีส่วนร่วมโปรแกรมสุขศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อพฤติกรรมสุขาภิบาลอาหารของผู้ประกอบร้านอาหารตามสั่ง 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนน/เพื่อเปรียบเทียบสัดส่วนร้านอาหารที่ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานร้านอาหาร กลุ่มทดลองได้แก่ ผู้สัมผัสอาหาร จำนวน 22 คน เก็บรวบรวมข้อมูล การวิจัยโดยใช้ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ ร้อย ละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired sample t-test


              ผลการศึกษา พบว่า  หลังการทดลองผู้สัมผัสอาหาร มีคะแนนเฉลี่ยความรู้และพฤติกรรมสุขาภิบาลอาหาร สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value 0.05). และสัดส่วนร้านอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value 0.05)


              ดังนั้น ตั้งแต่การคิดวิเคราะห์ วางแผน สร้างและพัฒนาโปรแกรมจนถึงการนำไปปฏิบัติ ผู้ประกอบการแสดงความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีระดับความรู้เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขาภิบาลอาหารของผู้ประกอบร้านอาหารตามสั่งที่ดี ซึ่งส่งผลเชิงบวกและสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการปฏิบัติของกลุ่มผู้ประกอบการอื่นๆ ได้

Article Details

How to Cite
แสนสีแก้ว ว. (2025). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขาภิบาลอาหารของผู้ประกอบร้านอาหารตามสั่ง องค์การบริหารส่วนตำบลนาขุนไกร อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย. วารสารสุขภาพสตรอง แอนด์ เฮลที้, 1(1), 48–64. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/SAHJ/article/view/2611
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2557). ชุดทดสอบและผลิตภัณฑ์. (ออนไลน์) เข้าถึงได้ www.dmsc.moph.ac.th สืบค้น วันที่ 9 กรกฎาคม 2560

กลุ่มงานอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2559). สถิติเพื่องานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม และโรงงานอุตสาหกรรม. อำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

กอบทอง ธูปหอม. (2551). ชุดทอสอบยาฆ่าแมลง. (ออนไลน์) เข้าถึงได้ www.gtteskit.com สืบค้นวันที่ 9 กรกฎาคม 2560

ณัชชลิดา ยุคะลัง และสงครามชัย ลีทองดี. (2558). ได้ศึกษาการปรับปรุงคุณภาพสถานที่จำหน่ายเนื้อวัวเพื่อเข้าสู่มาตรฐานการสุขาภิบาลอาหาร กรณีศึกษา: แผงจำหน่ายเนื้อวัวในเขตตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ : 34 ฉบับที่ 1 : 86-94

เดือนฉาย โชคอนันต์. (2564). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมด้านสุขาภิบาลอาหารของผู้ประกอบการร้านจำหน่าย

อาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหาร ในเขตอำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา. วารสารวิจัย และ นวัตกรรมทางสุขภาพ, 4(2), 138-149

ธนชีพ พีระธรณิศร์ และคณะฯ. (2558). ศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อสภาวการณ์สุขาภิบาลอาหาร ในเขตเทศบาลนครเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ ; 45 (3) : 230-243

นภาพร โอณะวัตร มยุรี วงศ์นัทรี กุลวรรณ โสรัจจ์. (2558). ศึกษาการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในน้ำแข็ง และมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารจากร้านค้าแผงลอย ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี. ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราภัฎอุบลราชธานี

มนิสรา มุ่งดี (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อสภาวการณ์สุขาภิบาลอาหารของแผงลอยจําหน่ายอาหาร ใน

เขตองค์การบริหารส่วนตำบลลำลูกกา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการสุขภาพ ความปลอดภัย และอนามัยสิ่งแวดล้อมคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2562). คู่มือแนวทางการดำเนินงานของ

หน่วยงานจัดการอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร.

สํานักสุขาภิบาลอาหารและนํ้า กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2564). คู่มือหลักสูตรการสุขาภิบาล

อาหารสําหรับผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร.

สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ. (2556). คู่มือแนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวังสุขาภิบาลอาหาร สำหรับเจ้าหน้าที่. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. กรุงเทพฯ

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพกองแผนงาน ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข. (2559). รายงานสถานการณ์อนามัยสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย

ปี 2557.

อัครเดช เกตฉ่ำ และคณะ (2559). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้าน สมเด็จเจ้าพระยา

Bloom, B. S. (1979). Handbook on formative and summative of student learning. New York: mc

Graw-Hill Book Company.

Tuckman, Bruce W. Conducting Educational Research. 5th ed. Washington, D.C. : Harcourt Brace

& Company , 1999.