ความชุกของความถูกต้องในการพ่นยาสเตียรอยด์ทางจมูกในผู้ป่วยเด็กโรคจมูกอักเสบและผู้ดูแลในโรงพยาบาลชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ภัทรียา สิทธิบุตร์ หน่วยกุมารเวชกรรมโรคภูมิแพ้ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลชลบุรี
  • สุภารัตน์ จีวรตานนท์ หน่วยกุมารเวชกรรมโรคภูมิแพ้ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลชลบุรี

คำสำคัญ:

จมูกอักเสบ, ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก, เทคนิก, เด็ก

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: โรคจมูกอักเสบเป็นโรคเรื้อรังทางระบบทางเดินหายใจในเด็กที่พบได้มากถึงร้อยละ 10-25 ของจำนวนประชากรเด็กทั่วโลก โดยพบว่าการรักษาที่มีประสิทธิภาพที่สุดคือการใช้ยาสเตียรอยด์ทางจมูก ผู้วิจัยจึงคิดทำงานวิจัยเกี่ยวกับการประเมินความถูกต้องของขั้นตอนการพ่นยาสเตียรอยด์ทางจมูกในผู้ป่วยเด็กโรคจมูกอักเสบและผู้ดูแล เพื่อให้ทราบถึงขั้นตอนการพ่นยาที่ผู้ป่วยเด็กและผู้ดูแลมักทำผิด ทำให้เน้นย้ำได้อย่างถูกต้องตรงจุดและนำมาวิเคราะห์กับปัจจัยอื่น ๆ ที่มีความสัมพันธ์ต่อการพ่นยาสเตียรอยด์ทางจมูกอย่างถูกต้อง เพื่อให้ผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบสามารถพ่นยาได้อย่างถูกต้อง อันเป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมอาการของโรคได้อย่างดียิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาความชุกของความถูกต้องในการพ่นยาสเตียรอยด์ทางจมูกในผู้ป่วยเด็กโรคจมูกอักเสบและผู้ดูแลในโรงพยาบาลชลบุรีและเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการพ่นยาสเตียรอยด์ทางจมูกอย่างถูกต้องในผู้ป่วยเด็กโรคจมูกอักเสบ

รูปแบบการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบเก็บข้อมูลขณะปัจจุบันในผู้ป่วยเด็กโรคภูมิแพ้จมูกที่มีอายุตั้งแต่ 2 ถึง 15 ปี ที่ได้รับการรักษาด้วยยา สเตียรอยด์พ่นจมูก ยี่ห้อ avamys ซึ่งเข้ารับการรักษาที่คลินิกโรคภูมิแพ้โรงพยาบาลชลบุรี มาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 -เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 โดยผู้วิจัยเป็นผู้เก็บข้อมูลประเมินความถูกต้องของการพ่นยาตามขั้นตอนการพ่นยาทั้ง 10 ขั้นตอน

ผลการศึกษา: มีผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 144 คน อายุเฉลี่ยคือ 8 ปี 8 เดือน อัตราความถูกต้องในการพ่นยาทั้งหมด 10 ขั้นตอน คิดเป็นร้อยละ 29.9 และมีอัตราความถูกต้องของการพ่นยาในขั้นตอนสำคัญ (essential steps) ได้ถูกต้องทั้งหมดร้อยละ 29.9 ทั้งนี้พบว่า 2 ขั้นตอนที่มีการทำผิดมากที่สุด 8 คือในขณะสูดลมหายใจเข้าทางจมูก ให้กดแป้นกดยาหนึ่งครั้งจนสุดแรงพอควร และนำไปปลายหัวพ่นออกจากจมูก พร้อมกับหายใจออกทางปาก ทำถูกเพียงร้อยละ 31.9 โดยไม่พบว่าปัจจัยต่าง ๆ ที่ศึกษามีผลต่อความถูกต้องในการพ่นยาสเตียรอยด์ทางจมูก

สรุป: จากการการศึกษาพบว่ามีผู้ป่วยและผู้ดูแลที่ทำการพ่นยาได้ถูกต้องเพียงร้อยละ 29.9 โดยขั้นตอนในการพ่นยาผู้ป่วยและผู้ดูแลมักทำผิดมากที่สุดได้แก่ในขณะสูดลมหายใจเข้าทางจมูก ให้กดแป้นกดยาหนึ่งครั้งจนสุดด้วยแรงพอควร และนำปลายหัวพ่นออกจากจมูก พร้อมกับหายใจออกทางปาก ส่วนปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับความถูกต้องในการพ่นยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Downloads

Download data is not yet available.

References

Vichyanond P, Jirapongsananuruk O,Visitsuntom N, Tuchinda M. Prevalenceof asthma, rhinitis and eczema in children from the Bangkok area using the ISAAC (International study for asthma and allergy in children) questionnaires. J Med Assoc Thai 1998; 81: 175-184.

Tuchinda M. Prevalence of allergic diseases in students of Mahidol University. Siriraj Hosp Gaz 1978; 30: 1285- 1298.

Scadding GK, Durham SR, Mirakian R, et al. BSACI guidelines for the management of allergic and non-allergic rhinitis. Clin Exp

Allergy. 2008;38:19-42.

Bousquet J, Van Cauwenberge P, Khaltaev N, ARIA Workshop Group and World Health Organization. Allergic rhinitis and its impact

on asthma. J Allergy Clin Immunol 2001;108: S147-334.

Ganesh V, Banigo A, Mcmurran AEL, Shakeel M, Ram B. Does intranasal steroid spray technique affect side effects and compliance? Results of a patient survey. J Laryngol Otol.2017;131(11):991–996.

Benninger MS, Hadley JA, Osguthorpe JD, et al. Techniques of intra- nasal steroid use. Otolaryngol Head Neck Surg. 2004;130(1):5–24.

Rollema C, van Roon EN, de Vries TW. Inadequate quality of administration of intranasal corticosteroid sprays. J Asthma Allergy. 2019;12:91-94.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31