จริยธรรมการตีพิมพ์

หน้าที่และความรับผิดชอบของบรรณาธิการ
- ดำเนินการให้เวชสารกุมารเวชศาสตร์บรรลุตามวัตถุประสงค์ ในการเผยแพร่งานวิจัยและความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับสุขภาพเด็กทั้งทางกาย ใจ สังคม จิตวิญญาณและจริยธรรม
- สนับสนุนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในเชิงวิชาการของผู้นิพนธ์ภายใต้ขอบเขตของจริยธรรมและศีลธรรม โดยเปิดโอกาสให้มีการเสนอบทความประเภทต่าง ๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- จัดทำคำแนะนำผู้นิพนธ์ เพื่อให้ผู้นิพนธ์ทุกท่านสามารถจัดเตรียมต้นฉบับก่อนส่งได้อย่างถูกต้อง และสามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเอง รวมถึงทราบขั้นตอนและกำหนดเวลาสำหรับใช้ในการตรวจประเมินบทความ
-ดำเนินการตามขั้นตอนการรับพิจารณา ตรวจสอบจริยธรรมการวิจัย ตรวจสอบการตีพิมพ์ เผยแพร่ซ้ำ รูปแบบและความครบถ้วนของเนื้อหา ก่อนส่งประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบปิดทั้งสองทาง ทั้งผู้นิพนธ์และผู้ประเมิน (double blind peer review) โดยมีเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจน เพื่อให้บทความที่เผยแพร่มีคุณภาพและเหมาะสมกับเวชสาร และเผยแพร่ตามเวลาที่กำหนด
- ผู้ทำหน้าที่พิจารณาบทความต้องสามารถทำได้โดยอิสระ เป็นกลางปราศจากอคติโด ๆ และต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์หรือผู้ประเมิน
- ต้องรักษาความลับ ไม่เปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ ของบทความและข้อมูลส่วนบุคลของผู้นิพนธ์ที่อาจแสดงไว้ในบทความแก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง ระหว่างห้วงเวลาประเมินบทความ เว้นแต่จะได้รับการอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
- เปิดโอกาสให้ผู้นิพนธ์อุทธรณ์ได้ กรณีผู้นิพนธ์มีความคิดเห็นแตกต่างจากการตัดสินใจของบรรณาธิการโดยโทรศัพท์ ส่งข้อคำถามหรือคำอธิบายเพิ่มเติมมายังกองบรรณาธิการเพื่อพิจารณา
- ดำเนินการแก้ไข ชี้แจง ถอนบทความ หากพบว่ามีข้อผิดพลาด
- ปรับปรุงวารสารให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดและพัฒนาคุณภาพทางวิชาการของวารสารอย่างต่อเนื่อง
- บรรณาธิการจะไม่นำบทความจากผู้นิพนธ์ไปทำซ้ำ เพื่อเป็นผลงานของตนหรือกลุ่มวิจัยและจะไม่แสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจกับผู้นิพนธ์ ผู้อ่าน หรือผู้ประเมิน
- หากเกิดข้อพิพาท หรือมีปัญหาที่เกินกว่าอำนาจหน้าที่ของบรรณาธิการ บรรณาธิการจะนำเรื่องเข้าสู่กองบรรณาธิการ เพื่อตัดสินโดยอยู่บนพื้นฐานของความเห็นร่วมกันโดยฉันทามติ (consensus)

หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์
- รับผิดชอบต่อเนื้อหาข้อความและข้อคิดเห็นต่าง ๆ ในบทความ โดยข้อความในบทความถือเป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์และคณะ
- จัดเตรียมต้นฉบับเพื่อส่งให้พิจารณาโดยจะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่อื่นใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการรอตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น
- บทความต้องผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนของสถาบันก่อนเริ่มดำเนินการวิจัย และต้องระบุกรณีการวิจัยมีผลประโยชน์ทับซ้อน
- ผู้นิพนธ์ทุกคน (co-author) ต้องรับทราบและยินยอมในการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในเวชสารกุมารเวชศาสตร์
- เตรียมต้นฉบับให้ถูกต้องตามแบบของเวชสารกุมารเวชศาสตร์ โดยให้ผู้นิพนธ์ศึกษาได้จากคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์ หัวข้อ “คำชี้แจงการส่งบทความลงพิมพ์ในวารสารกุมารเวชศาสตร์” และตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง ได้จาก web site ของเวชสารกุมารเวชศาสตร์
- กรณีที่ต้องการตีพิมพ์บทความเป็นภาษาอังกฤษ ผู้นิพนธ์ควรตรวจสอบภาษาอังกฤษทั้งฉบับให้ถูกต้องก่อนส่งตีพิมพ์

หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ประเมินบทความ
- ประเมินบทความด้วยความเต็มใจ ตรงตามความสามารถทางวิชาการของตนเองที่มีความเชี่ยวชาญ ประเมินโดยอิสระ ไม่ลำเอียง และต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์
- ผู้ประเมินจะไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์และข้อมูลที่เกียวข้องกับผู้นิพนธ์จนกว่าบทความจะได้รับการตีพิมพ์
- ประเมินตามเกณฑ์การประเมินของเวชสารกุมารเวชศาสตร์ แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในเชิงสร้างสรรค์ พร้อมเหตุผลของการขอให้ผู้นิพนธ์แก้ไข
-ต้องรักษาความลับ ไม่เปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ ของบทความแก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องและไม่นำส่วนใดส่วนหนึ่งของบทความที่พิจรณาไปเขียนเป็นบทความเรื่องใหม่ของตนเอง
- แจ้งกองบรรณาธิการทราบทันที กรณีตรวจพบการทำผิดจริยธรรมการวิจัย ของบทความที่ส่งประเมิน
- ประเมินบทความให้เสร็จพร้อมส่งผลการประเมินภายในระยะเวลาที่เวชสารกุมารเวชศาสตร์กำหนด