ความสอดคล้องของคะแนนที่ได้จากกลุ่มผู้ประเมินที่แตกต่างกันในการประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพรูปแบบ 360 องศา ของแพทย์ประจำบ้าน สาขากุมารเวชศาสตร์

ผู้แต่ง

  • นงนุช สุภาสนันท์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุประพัฒน์ สนใจพาณิชย์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

การประเมิน 360 องศา, สมรรถนะทางวิชาชีพ, การปฏิบัติงานทางคลินิก

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: การประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพของแพทย์ประจำบ้านสาขาวิชากุมารเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในรูปแบบการประเมิน 360 องศา ตามแนวทางของหลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน โดยราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย กำหนดให้มีผู้ประเมินหลากหลายกลุ่มที่ร่วมทำงานกับแพทย์ประจำบ้านในทีมดูแลรักษาของแต่ละหอผู้ป่วย ผลการประเมินที่ได้จากการประเมินรูปแบบนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาเลื่อนชั้นปีและการจบการฝึกอบรม ผลการศึกษานี้จะแสดงถึงความสอดคล้องของคะแนนที่ได้จากกลุ่มผู้ประเมินดังกล่าว ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางการตัดสินอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความสอดคล้องของคะแนนที่ได้จากผู้ประเมินแต่ละกลุ่มในการประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพของแพทย์ประจำบ้านสาขากุมารเวชศาสตร์

วิธีการวิจัย: ทบทวนข้อมูลจากแบบประเมินการปฏิบัติงานของแพทย์ประจำบ้านสาขากุมารเวชศาสตร์ชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ซึ่งประกอบด้วยสมรรถนะทางวิชาชีพ 6 หัวข้อ แต่ละหัวข้อมีระดับคะแนน 0-9 ผู้ประเมินประกอบด้วย อาจารย์ประจำหอผู้ป่วย, แพทย์ประจำบ้านปีที่ 3, นักศึกษาแพทย์และพยาบาลที่ทำงานร่วมกับแพทย์ประจำบ้าน นำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์หาความสอคคล้องของคะแนนการประเมิน โดยใช้ค่าสถิติ Intraclass correlation coefficient (ICC) เพื่อเปรียบเทียบความเชื่อมั่นของคะแนนที่ได้จากผู้ประเมินแต่ละกลุ่ม (Inter-rater reliability) และค่าสถิติ Pearson's correlation (r)เพื่อหาความสัมพันธ์ของคะแนนการประเมินที่ได้จากผู้ประเมินทั้ง 4 กลุ่ม

ผลการศึกษา: ข้อมูลแพทย์ประจำบ้านในการศึกษาครั้งนี้มีจำนวน 3 คน (เพศหญิง 46 คน, เพศชาย 7 คน) เมื่อวิเคราะห์ผลการประเมินแบบ 360 องศา ในการประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพ 6 หัวข้อ ของแพทย์ประจำบ้านปีที่ 1 พบว่าค่า ICC มีค่าเป็นลบทั้งหมด บ่งชี้ว่าผู้ประเมินแต่ละกลุ่มมีความเห็นไม่สอดคล้องกันในทุกหัวข้อ นอกจากนี้เมื่อพิจารณาทิศทางของความสัมพันธ์ของคะแนนการประเมินในแต่ละหัวข้อพบว่าค่า r เกือบทั้งหมดน้อยกว่า 0.2 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันระหว่างผู้ประเมินทั้งอาจารย์แพทย์ประจำบ้านรุ่นพี่ พยาบาลและนักศึกษาแพทย์

สรุป: การประเมินรูปแบบประเมิน 360 องศา ที่ใช้ประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพของแพทย์ประจำบ้านปีที่ 1 สาขากุมารเวชศาสตร์ ไม่มีความสอดคล้องกันระหว่างคะแนนการประเมิน รวมถึงไม่มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันของคะแนนระหว่างกลุ่มผู้ประเมินที่แตกต่างกัน

Downloads

Download data is not yet available.

References

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย หลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขากุมารเวชศาสตร์

Car S. Assessing clinical competency in medical senior house officers: how and why should we do it? Postgrad Med J 2004; 80: 63–66.

Ogunyemi D, Gonzalez G, Fong A, Alexander C, Finke D, Donnon T, Azziz R. From the eye of the nurses: 360-degree evaluation of residents. J Cont Educ Health Prof. 2009,29(2):105–110.

Stark R, Korenstein D, Karani R. Impact of a 360-degree professionalism assessment on faculty comfort and skills in feedback delivery. J Gen Intern Med 2008; 23(7):969–972.

Lockyer J. Multisource Feedback in the Assessment of Physician Competencies. J Contin Educ Health Prof. 2003; 23: 4-12.

Davis MH, Ponnamperuma CG, Wall D. Workplace-based assessment. In A Practical Guide for Medical Teachers. Edited by Dent JA, Harden RM. Edinburgh, UK: Elsevier;2009.

Norcini J, Burch V Workplace-based assessment as an educational tool: AMEE guide no. 31. Med Teach 2007; 29:855–871.

Lockyer JM, Clyman SG. Multisource feedback 8. (360-degree evaluation). In Practical Guide to the Evaluation of Clinical Competence. Edited by Holmboe ES, Hawkins RE. Philadelphia, PA: Mosby, Inc; 2008.

Joshi R, Ling FW, Jaeger J. Assessment of a 360-degree instrument to evaluate residents’ competency in interpersonal and communication skills. Acad Med 2004;79:458-463.

Donnon T, Ansari AI A, Alawi Al S, Violato C. The Reliability, Validity, and Feasibility of Multisource Feedback Physician Assessment: A Systematic Review. Acad Med. 2014; 89:511–516.

Allerup P, Aspegren K, Ejlersen E, Jorgensen G et al. Use of 360-degree assessment of residents in internal medicine in a Danish setting: a feasibility study. Med Teach 2007;29: 166–170.

Qu B, Zhao Y, Sun B. Evaluation of residents in professionalism and communication skills in south china. Saudi Med J. 2010; 31(11)1260-1265.

Senol Y, Dicle O, Durak H. Evaluation of the Dermatology Residents Using the Multisource (360-Degree) Assessment Method. Kuwait Med J 2009; 41(3):205-209.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31