ผลการเปรียบเทียบอัตราความถูกต้องของการพ่นยาสเตียรอยด์ทางจมูกหลังการสอนด้วยแพทย์กับหลังการดูวิดีโอแก่ผู้ป่วยเด็กโรคจมูกอักเสบและผู้ดูแล
คำสำคัญ:
วิธีการพ่นยาสเตียรอยด์ทางจมูก, การให้ความรู้, โรคจมูกอักเสบ, ผู้ป่วยเด็กบทคัดย่อ
ความเป็นมา: โรคจมูกอักเสบเป็นโรคที่พบบ่อย และมีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นทั่วโลก ซึ่งยาพ่นสเตียรอยด์ ทางจมูกถือเป็นยาหลักในการรักษาโรคนี้ การพ่นยานสเตียรอยค์ทางจมูกอย่างถูกต้องจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาและช่วยลดผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้มากขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบอัตราความถูกต้องของการพ่นยาสเตียรอยด์พ่นจมูก โดยการสอนด้วยแพทย์และการดูวิดีโอ และเพื่อทราบถึงขั้นตอนการพ่นยาที่มีความผิดพลาด ในผู้ป่วยเด็กโรคจมูกอักเสบในโรงพยาบาลชลบุรี
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ Randomized controlled trial ในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบอายุ 2 ถึง 15 ปี ที่พ่นยาพ่นสเตียรอยด์ทางจมูกผิดวิธี ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2563 ถึงกรกฎาคม พ.ศ. 2564 โดยถูกสุ่มเป็นกลุ่มที่ได้รับการสอนวิธีการพ่นยาโดยแพทย์และกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยวิธีดูวิดีโอ จากนั้นจะมีการประเมินวิธีการพ่นยาหลังการสอนทันที โดยถ้ายังพ่นผิดวิธี จะได้รับการสอนโดยวิธีเดิมและประเมินซ้ำหลังการสอน
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยทั้งหมด 60 ราย ถูกสุ่มเป็นกลุ่มที่ได้รับการสอนพ่นยาโดยแพทย์และโดยวิธีการดูวิดีโอ กลุ่มละ 30 ราย เรื่องความถูกต้องในการพ่นยาสเตียรอยด์ทางจมูก พบว่าขั้นตอนที่ทำถูกต้องน้อยที่สุดคือ ขั้นตอนที่ 8 (นำปลายหัวพ่นออกจากจมูก พร้อมกับหายใจออกทางปาก) โดยทำถูกต้องร้อยละ 5 รองลงมาคือ ขั้นตอนที่ 7 (ในขณะสูดลมหายใจเข้าทางจมูก ให้กดแป้นกดยาหนึ่งครั้งจนสุดด้วยแรงพอควร) ทำถูกต้องร้อยละ 46.7 โดยทั้งสองกลุ่มมีขั้นตอนการพ่นยาที่ถูกต้องไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หลังจากผู้ป่วยและผู้ดูแลได้รับการสอนวิธีการพ่นยา พบว่าอัตราความถูกต้องในการพ่นขาทุกขั้นตอนหลังได้รับการสอนโดยแพทย์และโดยการดูวิดีโอ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 100 และ ร้อยละ 96.7, p=1) มีเพียงผู้ป่วย 1 รายที่ยังพ่นยาไม่ถูกต้องหลังได้รับการสอน โดยการคูวิดีโอครั้งแรก จึงได้รับการสอนโดยวิธีเดิม และประเมินช้ำครั้งที่สอง หลังจากนั้นพบว่าพ่นยาได้ถูกต้องทุกขั้นตอน จึงไม่มีผู้ป่วยรายใดที่ถือว่าเป็นความล้มเหลวในการสอนพ่นยา
สรุป: การให้ความรู้เรื่องการพ่นยาพนสเตียรอยด์ทางจมูก สามารถทำให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลพ่นยาได้ถูกต้องมากขึ้น โดยการให้ความรู้โดยการดูวิดีโอสามารถทดแทนกา สอนโดยแพทย์ได้ สำหรับการใช้สื่อวิดีโอนั้น เป็นวิธีที่มีประโยชน์ ใช้งานง่าย และสามารถดูช้ำเพื่อทบทวนได้ตลอดเวลารวมถึงช่วยลดภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ควรมีการตรวจสอบวิธีการพ่นยาของผู้ป่วยและผู้ดูแลโดยแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เมื่อมาตรวจติดตามอาการ เพื่อเน้นช้ำความสำคัญของการพ่นยาที่ถูกต้อง เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ยาและลดผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้
Downloads
References
Vichyanond P, Jirapongsananuruk O, Visitsuntom N, Tuchinda M. Prevalence of asthma, rhinitis and eczema in children from the Bangkok area using the ISAAC (International study for asthma and allergy in children) questionnaires. J Med Assoc Thai. 1998;81:175-184.
Tuchinda M. Prevalence of allergic diseases in students of Mahidol University. Siriraj Hosp Gaz 1978;30:1285- 1298.
Scadding GK, Durham SR, Mirakian R, et al. Nasser SM; British Society for Allergy and Clinical Immunology. BSACI guidelines for the management of allergic and non-allergic rhinitis. Clin Exp Allergy. 2008;38:19-42.
Bousquet J, Van Cauwenberge P, Khaltaev N, ARIA Workshop Group and World Health Organization. Allergic rhinitis and its impact on asthma. J Allergy Clin Immunol. 2001;108: S147-334.
Rollema C, van Roon EN, de Vries TW. Inadequate quality of administration of intranasal corticosteroid sprays. J Asthma Allergy. 2019;12:91-94.
Brozek JL, Bousquet J, Agache I, Agarwal A, Bachert C, Bosnic-Anticevich S, et al. AllergicRhinitis and Its ImpactonAsthma (ARIA) guidelines-2016 revision. J Allergy Clin Immunol. 2017;140(4):950-8.
Rattanawong S, Wongwattana P, Kantukiti S. Evaluation of the techniques and steps of intranasal corticosteroid sprays administration. Asia Pac Allergy. 2022;12(1):e7.
Ter Laak S, Lucas I, Oude Nijeweeme J, van Ravenstein L, de Jong K, Rollema C, de Vries T. An age-adjusted instruction video enhances the correct use of nasal corticosteroid sprays in children. Allergol Immunopathol (Madr). 2020;48(5):465-468.
Indradat S, Jirapongsananuruk O, Visitsunthorn N. Evaluation of animated cartoon-aided teaching of intranasal corticosteroid administration technique among Thai children with allergic rhinitis. Asian Pac J Allergy Immunol. 2013;32:166-70.
Park HJ, Byun MK, Kwon JW, et al. Video education versus face-to-face education on inhaler technique for patients with well
controlled or partly-controlled asthma: A phase IV, open-label, non-inferiority, multicenter, randomized, controlled trial. PLoS One.2018;13:e0197358.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.